สำรองห้องพักโรงแรมพร้อมส่วนลด

วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ภาษี มูลค่าเพิ่ม

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือนิติบุคคลใด ๆ หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1।8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ


ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
1. ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
2. ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย
3. ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
4. ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราว ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ( ฉบับที่ 43) ฯ ลงวันที่ 29 มกราคม พ . ศ . 2536
5। ผู้ประกอบการอื่นตามที่อธิบดีจะประกาศกำหนดเมื่อมีเหตุอันสมควร


ผู้ประกอบการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่สามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้
1. ผู้ประกอบกิจการ ขายพืชผลทางการเกษตร สัตว์ ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่น อาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน ฯลฯ
2. ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายและมีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
3. การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร โดยอากาศยาน
4. การส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
5। การให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร


กำหนดเวลาจดทะเบียน
1. ผู้ประกอบการต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ เว้นแต่กรณีที่ผู้ประกอบการมีแผนงานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าได้เตรียมการเพื่อประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและมีการดำเนินการเพื่อเตรียมประกอบกิจการอันเป็นเหตุให้ต้องมีการซื้อสินค้าหรือรับบริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การก่อสร้างโรงงาน การสร้างอาคารสำนักงานหรือการติดตั้งเครื่องจักร ให้ผู้ประกอบการมีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ภายในกำหนด 6 เดือนก่อนวันเริ่มประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ
2। ผู้ประกอบการที่มีรายรับเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษี-มูลค่าเพิ่มภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีมูลค่าของฐานภาษี (รายรับ) เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี


หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
1. เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และออกใบกำกับภาษีเพื่อเป็นหลักฐานในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. จัดทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งได้แก่
(1) รายงานภาษีซื้อ
(2) รายงานภาษีขาย
(3) รายงานสินค้าและวัตถุดิบ
3. ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีตามแบบ ภ.พ.३०


การเปลี่ยนแปลงการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
กรณีมีการเปลี่ยนแปลงรายการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งได้แก่ การเลิกกิจการ การโอนหรือควบกิจการ การเปลี่ยนแปลงประเภทของการประกอบการ การเปลี่ยนแปลงประเภทสินค้าหรือบริการ การเปลี่ยนแปลงการคำนวณภาษี รวมถึงการเปลี่ยนแปลงรายการอื่น ๆ เช่น การเปลี่ยนชื่อสถานประกอบการ การเปลี่ยนแปลงกรรมการหรือผู้ถือหุ้น (ผู้มีอำนาจลงนาม) หรือการหยุดกิจการชั่วคราว (มีกำหนดระยะเวลาภายใน 1 ปี) ผู้ประกอบการจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงนั้น ภายใน 15 วัน นับจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น สำหรับกรณีการย้ายสถานประกอบการ, การรับโอนกิจการ, การเพิ่มสาขา จะต้องแจ้งก่อนมีการเปลี่ยนแปลงไม่น้อยกว่า 15 วัน โดยกรอกแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบภ.พ.09 พร้อมเอกสารประกอบการพิจารณา ณ สถานที่ที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้

เอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณา
(1) แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.09) จำนวน 4 ฉบับ
(2) ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ฉบับจริงพร้อมภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว
(3) สำเนาแบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเดิม (ภ.พ.01) หรือสำเนาแบบคำขอแจ้งการเปลี่ยนแปลงรายการ(ภ.พ.09) ครั้งสุดท้าย
(4) บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรพร้อมภาพถ่ายบัตรดังกล่าว
(5) หนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท (กรณีเป็นนิติบุคคล) พร้อมภาพถ่ายหนังสือดังกล่าว
(6) หนังสือแสดงการเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล (กรณีเป็นบุคคลธรรมดา) พร้อมภาพถ่ายหนังสือดังกล่าว
(7) บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้านของผู้ประกอบการ หรือกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว
(8) กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำการแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ 10 บาท บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ พร้อมภาพถ่ายบัตรดังกล่าว โดยผู้รับมอบอำนาจอำนาจต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป
(9) กรณีหยุดกิจการชั่วคราว ต้องมีหนังสือจากผู้ประกอบการชี้แจงเหตุผลในการหยุดกิจการ พร้อมประทับตรานิติบุคคลและลงนามโดยกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม

กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย
การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

1. การขายสินค้าหรือให้บริการของผู้ประกอบการที่มีรายรับไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ี
2. การขายพืชผลทางการเกษตรภายในราชอาณาจักร เช่น ข้าว ข้าวโพด ปอ มันสำปะหลัง ผักและผลไม้ เป็นต้น ( คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป .28/2535 ฯ )
3. การขายสัตว์ทั้งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตภายในราชอาณาจักร เช่น โค กระบือ ไก่หรือเนื้อสัตว์ กุ้ง ปลา เป็นต้น (คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.29/2535ฯ)
4. การขายปุ๋ย
5. การขายปลาป่น อาหารสัตว์
6. การขายยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ เพื่อบำรุงรักษาป้องกัน ทำลายหรือกำจัดศัตรูหรือโรคของพืชและสัตว์
7. การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน

** ผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการตาม 1. ถึง 7. ดังกล่าว จะเลือกเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้

8. การนำเข้าสินค้าตาม 2. ถึง 7.
9. การให้บริการการศึกษาของสถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
10. การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางน้ำหรือทางอากาศ อย่างไรก็ดี หากเป็นการให้บริการขนส่งโดยอากาศยาน และการให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ ผู้ประกอบการมีสิทธิเลือกเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้
11. การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศทางบกและทางเรือซึ่งมิใช่เรือเดินทะเล
12. การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลทางราชการและเอกชน
13. การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์
14. การให้บริการจัดแข่งขันกีฬาสมัครเล่น
15. การให้บริการประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การว่าความ
16. การให้บริการของนักแสดงสาธารณะ
17. การให้บริการที่เป็นงานทางศิลปะและวัฒนธรรม ในสาขาและลักษณะการประกอบกิจการที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
18. การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการ ซึ่งต้องมีลักษณะการประกอบกิจการตามที่กรมสรรพากรกำหนด คือ ต้องเป็นการวิจัยหรือบริการทางวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์และสาขาสังคมศาสตร์ แต่ต้องมิใช่เป็นการกระทำในทางธุรกิจ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือเป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือมูลนิธิ
19. การให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน
20. การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์
21. การให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ไม่รวมถึงบริการที่เป็นการพาณิชย์ของราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นการหารายได้ หรือผลประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นกิจการสาธารณูปโภคหรือไม่ก็ตาม
22. การขายสินค้าหรือการให้บริการของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งส่งรายรับทั้งสิ้นให้แก่รัฐโดยไม่หักรายจ่าย
23. การขายสินค้าหรือการให้บริการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนา หรือการสาธารณกุศลภายในประเทศ ซึ่งไม่นำผลกำไรไปจ่ายในทางอื่น
24. การบริจาคสินค้าให้แก่สถานพยาบาล และสถานศึกษาของทางราชการ หรือให้แก่องค์การหรือสถานสาธารณกุศล หรือสถานพยาบาลและสถานศึกษาอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
25. การขายบุหรี่ซิกาแรต ที่ผลิตโดยโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง ซึ่งผู้ขายเป็นบุคคลอื่นที่มิใช่โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง
26. การขายสลากกินแบ่งของรัฐบาล สลากออมสินของรัฐบาล และสลากบำรุงสภา-กาชาดไทย
27. การขายแสตมป์ไปรษณีย์ แสตมป์อากร หรือแสตมป์อื่นของรัฐบาล องค์การของรัฐบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เฉพาะที่ยังไม่ได้ใช้ในราคาที่ไม่เกินมูลค่าที่ตราไว้
28। การให้บริการสีข้าว

อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.rd.go.th/

วันศุกร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

กฎหมายปกครอง



กฏหมายปกครอง
วิธีการตอบข้อสอบ
๑. ดูคำบรรยายของเนติบัณฑิตของปีก่อน ๆ
๒. ดูตัวบท พ.ร.บ.วิธีปฎิบัติราชการปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ และความรับผิดทางละเมิดของเจ้า
หน้าที่ พ.ศ.๒๕๓๙
๓. ดูข้อสอบเก่า
๔. การฝึกตอบข้อสอบจากธงคำตอบของเนติบัณฑิตฯ
ขอบเขตกฎหมายปกครอง
- ความหมายคำสั่งทางปกครอง ( ม.๕ ) คือ
(๑). การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่าง
บุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของ
บุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่นการสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การ
รับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ
(๒). การอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง
- ความหมายกฎหมายปกครอง
(๑). หน่วยงานของรัฐ
(๒). องค์กรอิสระ
(๓). หน่วยงานอิสระของรัฐ
(๔). หน่วยงานสังกัดหน่วยงานอิสระของรัฐ
เนื้อหาสาระของกฎหมายปกครอง
(๑). การจัดองค์กร
- หลักการ = รวมอำนาจและกระจายอำนาจ เช่น พ.ร.บ.ระเบียบริหารราชการแผ่นดิน
พ.ศ. ๒๕๓๔
(๒). การดำเนินงาน - เพื่อให้ประชาชนปลอดภัยอยู่ดี กินดี เช่น การออกคำสั่งทางการปก
ครอง , ความรับผิดในการละเมิดของเจ้าหน้าที่ การดำเนินการนั้นมี ๓ อย่าง
๒.๑. นิติกรรมการปกครอง
๒.๒. สัญญาการปกครอง
๒.๓. ละเมิดการปกครอง
(๓). การควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจ
- พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
อำนาจหน้าที่ของฝ่ายปกครอง
๑. อำนาจบริหาร
๒. การใช้อำนาจการปกครอง
นิติกรรมการปกครอง มี ๒ ประเภท
๑. คำสั่งทางปกครอง ( กฎ , คำสั่ง )
- คำสั่งใช้เฉพาะตัวบุคคล
๒. กฎทางการปกครอง
- กฎใช้กับบุคคลทั่วไป
องค์ประกอบนิติกรรมทางการปกครอง
๑. การกระทำโดยเจตนา
๒. นิติกรรมฝ่ายเดียว
๓. นิติกรรมนั้นกระทบสิทธิหน้าที่สถานภาพของบุคคล
๔. การแสดงเจตนาต้องออกสู่ภายนอกองค์กร
หมายเหตุ
- คำสั่งพักราชการ เป็นคำสั่งทางการปกครอง
- ความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ไม่เป็นคำสั่งทางการปกครอง
เงื่อนไขความสมบูรณ์ของพฤติกรรมทางปกครอง
กฎหมาย
คำสั่งทางการปกครอง
๑. นิติกรรมทางแพ่ง - ตกลง
๑. กฏหมายให้อำนาจไว้

๒. แบบของนิติกรรม - โมฆะ
๒. ถูกต้องหรือไม่

๓. วัตถุประสงค์ต้องไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและ
๓. เพื่อประโยชน์สาธารณะ

ศีลธรรมอันดีของประชาชน


๔. การแสดงเจตนาต้องไม่ถูกข่มขู่ ฉ้อฉล





















หลักความชอบด้วยกฎหมาย
- นิติกรรมทางการปกครอง กฎหมายให้อำนาจไว้ดังนี้.-
๑. จะต้องมีกฎหมายให้อำนาจไว้ชัดแจ้ง และชัดเจน
๒. ต้องกระทำในขอบเขตอำนาจที่กฎหมายกำหนด
๓. ต้องดำเนินการที่ถูกต้อง
ดุลยพินิจของกฎหมายปกครอง
- การวินิจฉัยต้องอาศัยพยานหลักฐาน
วิธีพิจารณาการปกครอง มี ๓ อย่าง
๑. ดำเนินการวินิจฉัยการปกครอง - ต้องขึ้นอยู่กับหลักการได้สัดส่วน ( ชั่งน้ำหนักให้สมดุล )
๒. การออกกฎ - ทำประชาพิจารณ์
๓. การตรวจสอบโดยศาล
๓.๑. ศาลปกครองตรวจสอบชั้นต้น ( ทบทวน )
๓.๒. การใช้สิทธิทางศาล
๓.๓. ทบทวนข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายว่าถูกต้องหรือไม่
๓.๔. ศาลจะไม่ทำหน้าที่เป็นฝ่ายปกครองเสียเอง - ศาลเพิกถอนคำสั่งทางการปกครอง
เท่านั้น
หลักความชอบด้วยกฎหมาย
มีหลักดังนี้
๑. กฎหมายให้อำนาจทำได้
- ฎีกาที่ ๒๓๘๓ / ๒๕๓๖
๒. ขอบเขตของการใช้อำนาจ
๓. วางกระบวนการใช้อำนาจ
- พ.ร.บ.วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙
ข้อยกเว้นหลักความชอบด้วยกฎหมาย
๑. กระทำในฐานะรัฐ
๑.๑. นิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร ( ฟ้องศาลปกครองไม่ได้ )
๑.๒. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ( สนธิสัญญาให้รัฐบาลทำ เพิกถอนไม่ได้ )
๒. ภาวะฉุกเฉิน , สงคราม ( ออกคำสั่ง กฎอัยการศึกในขณะนั้น )
นิติกรรมทางการปกครอง
- ฎีกาที่ ๒๒๕๒ / ๒๕๑๘ ( ข้าราชการเล่นแชร์ มติ ครม.ห้าม )
- ฎีกาที่ ๒๕๘๐ / ๒๕๒๗ ( ห้ามจดทะเบียนสมรสกับหญิงชาวเวียดนาม โดยทำเป็นหนังสือเวียน )
เงื่อนไขความสมบูรณ์ของนิติกรรมทางการปกครอง
- ฎีกาที่ ๑๖๗๗ / ๒๔๙๘ ( ห้ามจอดรถขวางหน้าบ้าน )
- ฎีกาที่ ๑๑๑๐ / ๒๕๑๐ ( ห้ามสุกรมีชีวิตเข้าเขตเทศบาล )
การตรวจสอบดุลยพินิจโดยศาลปกครอง
มี ๓ ประการ
๑. การตรวจสอบโดยใช้ดุลยพินิจจากพยานหลักฐาน
๒. เหตุผล
๓. โดยสุจริต
- ฎีกาที่ ๖๔๖ - ๖๔๗ / ๒๕๔๐
พ.ร.บ.วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙
มาตรา ๕
( ชอบออกข้อสอบด้วยเสมอ )
- กฎกระทรวงที่ ๑๒ / ๒๕๔๓ (ความหมายคำสั่งทางการปกครอง )
มี ๒ ประการ
๑. การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ
๒. ให้
สาระสำคัญของ พ.ร.บ.วิธีปฎิบัติราชการทางปกครอง
มีดังนี้.-
๑. ตัวการพิจารณาทางการปกครอง ( ม. ๑๒ - ๒๕ , ๗๕ - ๘๔ )
๒. กระบวนการ ขั้นตอน การออกคำสั่งปกครอง ( ม. ๒๖ - ๓๓ )
๓. รูปแบบ ผลของคำสั่งทางการปกครอง ( ม. ๓๔ , ๔๓ )
๔. การอุทธรณ์คำสั่งทางการปกครอง ( ม. ๔๔ - ๔๗ )
๕. การเพิกถอนคำสั่งทางการปกครอง ( ม. ๔๙ - ๕๓ )
๖. การขอให้พิจารณาใหม่ ( ขาดอายุความแล้ว )
๗. การบังคับทางการปกครอง ( ม. ๕๕ - ๖๓ )
๘. ระยะเวลาอายุความ ( ม. ๖๔ - ๖๗ )
๙. การแจ้ง ( ม. ๖๘ - ๗๔ )
การมอบอำนาจทางฝ่ายปกครอง
๑. กฎหมายให้อำนาจไว้ว่ามอบอำนาจได้
๒. ระบุตัวเจ้าหน้าที่ผู้รับมอบอำนาจ
๓. การมอบอำนาจต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด
หมายเหตุ
- เมื่อมอบอำนาจแล้ว ( ต้องกระทำโดยผู้ที่รับมอบอำนาจ )
- มอบอำนาจช่วง ( กระทำไม่ได้ )
สิทธิของคู่กรณีที่มาติดต่อราชการ
๑. สิทธิที่ได้รับการพิจารณาปราศจากอคติ( เป็นกลาง )จากองค์กรของรัฐ ( ม.๑๓ , ๑๔ , ๑๗ )
๒. การแจ้งเรื่องและเหตุให้คู่กรณีทราบ ( ม. ๒๗ , ๓๐ )
- ได้รับคำแนะนำและปรึกษาจากเจ้าหน้าที่
๓. สิทธิที่จะโต้แย้งคัดค้าน ( ม. ๓๐ )
- พิจารณาโดยเปิดเผยต่อหน้าสาธารณะชน
๔. สิทธิในการเสนอพยานหลักฐาน ( ม. ๓๐ )
( ข้อยกเว้น ม. ๓๐ วรรค ๒ )
๔.๑. กฎหมายกำหนดระยะเวลาไว้ ( ต้องกระทำภายในเวลาที่กำหนด )
๔.๒. ข้อเท็จจริงที่ได้ให้ไว้ในคำขอ
๔.๓. โดยสภาพเห็นได้ชัดว่าไม่อาจจะกระทำได้
๔.๔. มาตรการบังคับทางการปกครอง
๔.๕. กรณีอื่นที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๓๙ มีดังนี้.-
๑. บรรจุ แต่งตั้ง พักงาน ให้ออก เลื่อนขั้น
๒. แจ้งผลการสอบ
๓. การวัดผลความรู้ความสามารถ
๔. การไม่ตรวจหนังสือของคนต่างด้าว
๕. การไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในประเทศไทยบางอย่าง
๖. การสั่งเนรเทศให้คนต่างด้าวออกไปจากประเทศไทย
๔.๕. สิทธิในการรับรู้พยานหลักฐาน ( ม. ๓๑ )
โดยเปิดเผย
- พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร ฯ ม. ๑๔ , ๑๕
๔.๖. สิทธิได้รับการวินิจฉัยตามพยานหลักฐาน ( ม. ๒๘ , ๒๙ )
๔.๗. สิทธิในการมีทนายความ ( ม. ๒๓ )
๔.๘. สิทธิในการได้รับคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร ( ม. ๓๔ , ๓๕ , ๓๖ , ๓๗ )
( ว.๓ ออกสอบ )
- ประกาศสำนักนากรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๔๓ มีดังนี้.-
๑. ปฎิเสธคำสั่งการก่อตั้งสิทธิของคู่กรณี
๒. เพิกถอนสิทธิ
๓. ให้กระทำ ละเว้น และรื้อถอนอาคาร
๔. คำวินิจฉัยอุทธรณ์
๕. การยกเลิกการสอบราคา การประเมินราคา และการประมูลราคา
- ข้อยกเว้น ม. ๓๗ วรรค ๓
๑. ผลตรงตามคำขอ ( ไม่กระทบสิทธิและหน้าที่ )
๒. เป็นเหตุผลที่รู้กันอยู่ทั่วไปแล้ว
๓. รักษาไว้เป็นความลับตาม ม. ๓๒ ประกอบ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสาร ม. ๑๔
, ๑๕
ขอบเขตของการพิจารณาทบทวน
มี ๔ อย่าง
๑. พิจารณาทบทวนข้อเท็จจริงเฉพาะพยานหลักฐานที่สำคัญ
- ไม่รับฟังข้อเท็จจริงใหม่
๒. พิจารณาทบทวนปัญหาของกฎหมาย
- ศาลปกครองมีอิสระในการนำข้อกฎหมายมาปรับใช้ได้
๓. พิจารณาทบทวนดุลยพินิจ
- อยู่ภายใต้หลักที่ชอบด้วยกฎหมาย
๔. พิจารณาทบทวนข้อวินิจฉัย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
มี ๓ ส่วน
๑. องค์กร
- ศาลปกครอง
๒. บุคคลากร
- ตุลาการ , ธุรการ
๓. วิธีพิจารณา
คู่ความคู่กรณี ตาม ม. ๔๒
มี ๒ อย่าง คือ
๑. ผู้ฟ้อง
๒. ผู้ถูกฟ้อง
อำนาจของศาลปกครอง ตาม ม. ๙
มีดังนี้.-
๑. นิติกรรมปกครอง ( ม. ๕ พ.ร.บ.วิธีปฎิบัติราชการปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙ ) มี ๔ อย่าง
๑.๑. ไม่มีอำนาจออกคำสั่ง
๑.๒. นอกเหนืออำนาจ
๑.๓. สั่งไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
๑.๔. ทำไม่ถูกขั้นตอนในทางวิธีการปกครอง
๒. งดเว้นนิติกรรมที่ต้องกระทำ มีดังนี้
๒.๑. มีหน้าที่กระทำการนั้น
๒.๒. งดเว้นกระทำการหรือละเลย
๓. ละเมิดทางการปกครอง
- ตัวอย่าง นายตำรวยจจับผู้ต้องหาหญิงได้ในข้อหาจำหน่ายยาบ้า แล้วเอาผู้ต้อง
ขังหญิงขังอยู่ปนกับผู้ต้องขังชาย และผู้ต้องขังหญิงถูกข่มขืนในห้องขัง ผู้ต้องขังหญิงสามารถเรียกร้อง
เอาค่าสินไหมทดแทนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และเรียกจากนายตำรวจได้หรือไม่ อย่างไร
ตอบ ให้ใช้พ.ร.บ.ความรับผิดในการละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ส.๒๕๓๙ มาใช้บัง
คับซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐ ซึ่งผู้ต้องขังหญิงสามารถเรียกค่าเสียหายจากนาย
ตำรวจได้ตาม ม.๘ วรรค ๑ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องรับผิดเช่นเดียวกันกับนายตำรวจเพราะว่า
สำนักงานตำรวจแห่งชาติไม่จัดให้มีห้องขังหญิงให้ครบถ้วน จึงต้องเฉลี่ยความรับผิดร่วมกับนายตำรวจ
ตาม ม. ๘ วรรค ๓ แลพ ม. ๑๒ , ๕๗ วรรค ๑
๔. สัญญาทางการปกครอง ( ม. ๓ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งซาลปกครองฯ )
๕. คดีที่กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานของรัฐฟ้องเอกชน
๖. กฎหมายเฉพาะให้ชั้นศาลปกครอง
- มีข้อยกเว้นดังนี้.-
๖.๑. คดีวินัยทหาร
๖.๒. การดำเนินการของคณะตุลาการศาลยุติธรรม
๖.๓. คดีชำนาญพิเศษ เช่นศาลเด็ก , ศาลภาษีอากร , ศาลคดีล้มละลาย ฯลฯ
เขตอำนาจศาลปกครอง
( ม. ๔๗ วรรคแรก พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครอง )
๑. ให้ฟ้องต่อศาลที่ผู้ฟ้องมีภูมิลำเนา ( คล้ายกับศาลยุติธรรม )
๒. การฟ้องตรงศาลปกครองสูงสุด ( ม. ๑๑ )
๒.๑. คดีที่พิจารณาคำวินิจฉัยที่กำหนดไว้
๒.๒. คดีพิพาทเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายที่ รมต.ออกไว้ เช่น กฎ ( ม.๑๑)
๒.๓. คดีที่กฎหมายกำหนดให้อยู่ในอำนาจศาลปกครองสูงสุด
๓. ค่าธรรมเนียมศาลทางละเมิดทางการปกครอง
- เสียร้อยละ ๒๕ ของทุนทรัพย์
ระยะเวลาการฟ้องคดี หรือ อายุความ
๑. นิติกรรมปกครอง
- มีอายุความ ๙๐ วัน ( ม. ๙ (๑) , (๒) )
๒. ละเมิดทางการปกครอง
- มีอายุความ ๑ ปี - ๑๐ ปี นับแต่วันที่รู้เรื่องละเมิดหรือตั้งแต่วันกระทำละเมิด
( ม. ๙ (๓) )
ขั้นตอนการพิจารณาของศาลปกครอง
๑. ศาลปกครองชั้นต้น
- มีองค์คณะ จำนวน ๓ คน
๒. ศาลปกครองสูงสุด
- มีองค์คณะ จำนวน ๕ คน
๓. ตุลาการเจ้าของสำนวน รวบรวม เตรียม เสนอ ชี้แจง ตรวจหลักฐาน
- เจ้าของสำนวนทำความเห็น โดยอาศัยข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย ข้อพิพาท
( ร่างคำพิพากษา )
๔. เสนอพยานและความเห็น องค์คณะ อธิบดีศาลปกครองชั้นต้น ผู้แถลงคดีทำความ
เห็นพิพากษาคดีอีก ๑ ครั้ง ( เป็นระบบไต่สวน )
ข้อสอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีการปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
๑. ม. ๓ หน่วยงานของรัฐ
๑.๑. กระทำการโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ม. ๙ (๑)
๑.๒. ละเลยปฎิบัติหน้าที่ ม. ๙ (๒)
๑.๓. การกระทำละเมิด ม. ๙ (๑) , (๓)
๑.๔. สัญญาการปกครอง ม. ๙ (๔) ประกอบ ม. ๓
๒. ม. ๔๒ วรรคแรก ผู้เสียหาย
๓. ม. ๔๒ วรรค ๒
๔. ม. ๔๕ ประกอบ ม.๓ คำฟ้อง
๕. ม.๔๙ , ๕๑ ระยะเวลาฟ้องคดี ( อายุความ )
๖. ม. ๕๒ ข้อยกเว้นการฟ้องคดี
๗. ม. ๗๒ คำบังคับ
ข้อสอบ พ.ร.บ.วิธีปฎิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙
๑. อะไรคือฝ่ายปกครอง
๒. อะไรคือนิติกรรมทางการปกครอง
๒.๑. คำสั่ง
๒.๒. กฎ
๓. องค์ประกอบนิติกรรมทางการปกครอง มี ๔ ประการ
๓.๑. เจตนา
๓.๒. นิติกรรมฝ่ายเดียว
๓.๓. กระทบสิทธิและหน้าที่ของบุคคล
๓.๔. ออกสู่ภายนอกองค์กร เช่น ขั้นตระเตรียม ( ไม่ครบองค์ประกอบ )
๔. เงื่อนไขความสมบูรณ์ของนิติกรรมทางการปกครอง
๔.๑. ความสามารถของเจ้าหน้าที่
๔.๒. แบบของนิติกรรม
๔.๓. วัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะ
๔.๔. การแสดงเจตนาต้องไม่ถูกข่มขู่ หลอกลวง หรือสำคัญผิด
๕. หลักความชอบด้วยกฎหมาย ( ออกข้อสอบอยู่เสมอ )
๕.๑. มีกฎหมายให้อำนาจไว้ชัดแจ้ง ชัดเจน และแน่นอน
๕.๒. ต้องกระทำภายในขอบอำนาจที่กฎหมายกำหนด
๕.๓. ต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดทางการปกครอง
- ข้อยกเว้นของหลักความชอบด้วยกฎหมาย
๑. กระทำในฐานะรัฐ
๑.๑. นิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร
๑.๒. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
๑.๓. ภาวะชดเชยของสงคราม
- หนังสือเวียน ไม่ใช่กฎหมาย

วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

เจตนา

มาตรา 59

บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทำความโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา
กระทำโดยเจตนา ได้แก่กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
ถ้าผู้กระทำมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิดจะถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นมิได้
กระทำโดยประมาท ได้แก่กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัย และพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
การกระทำ ให้หมายความรวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้นโดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย





ต้องโทษผู้อ่านทุกๆท่านนะครับ

ต้องกราบขออภัยอย่างสูงที่ไม่ได้อัพเดทเลยเพราะว่าจำรหัสเข้าไม่ได้อะครับ

หลังจากนี้จะพยายามมาอัพเนื้อหาเรื่อยๆนะครับ

มีอะไรสงสัยโพสตืถามไว้ได้เลยนะครับพี่ๆน้องๆ