สำรองห้องพักโรงแรมพร้อมส่วนลด

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

ข้อที่ 1 กฎหมายทรัพย์ ที่ดิน จะมีขอบเขตและเนื้อหาที่เราสามารถแบ่งออกได้เป็นชุดๆดังต่อไปนี้

1.1 ชุดส่วนควบ……มาตราที่สำคัญๆ ก็คือ ม.144 + ม.145 + ม.146……ส่วน ม.147 และ ม.148ดูให้พอเข้าใจว่าเป็นเรื่องอะไร เพื่อจะได้ไม่เกิดหลุม
1.2 ชุดการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์…….ม. ที่สำคัญๆ คือ ม.1299 + ม.1300….เป็นชุดที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง……จึงควรที่จะทำความเข้าใจให้จงดี
1.3 ชุดสาธารณสมบัติของแผ่นดิน……ม. ที่สำคัญ ก็คือ ม.1304 + ม.1305 + ม.1306 + ม.1307…….ในส่วนนี้จะโยงไปหาเรื่องการครอบครองปรปักษ์ได้ด้วย กล่าวคือ จะครอบครองทรัพย์อันเป็นสาธรารณสมบัติของแผ่นดินนานเท่าใดก็ตาม ก็ไม่อาจครอบครองปรปักษ์ได้ ดังนี้เป็นต้น……และข้อควรระวังก็คือ การอุทิศที่ดินให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น ไม่จำต้องจดทะเบียนโอน ……ดังนั้นทันทีที่ยกที่ดินให้เป็นทางสาธารณะ ที่ดินก็ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินในทันทีเช่นกัน……สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ถือเป็นทรัพย์นอกพาณิชย์ ตาม ม.143 ดังนั้นจึงไม่อาจที่จะซื้อขายกันได้
1.4 ชุดที่งอกริมตลิ่ง……ม. ที่สำคัญคือ ม.1308……ในส่วนนี้จะต้องเข้าใจความหมายของที่งอกริมตลิ่งให้ดี……และต่างไปจากที่ชายตลิ่ง ตาม ม. 1304 ( 2 ) อย่างไร……สิ่งที่ควรรู้ก็คือที่งอกริมตลิ่งนั้น เป็นการได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์โดยหลักส่วนควบ นั่นเอง
1.5 ชุดปลูกโรงเรือนในที่ดิน หรือรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่น……ม.ที่สำคัญ คือ ม.1310 + ม.1311 + ม.1312……ในส่วนนี้ จุดจะอยู่ตรงที่ว่า ได้กระทำการโดย “ สุจริต ” หรือไม่ ……ถ้าสุจริตแล้วผลจะเกิดอย่างไร…..และถ้าไม่สุจริต ผลจะเกิดขึ้นอย่างไร…..และในแต่ละกรณีเจ้าของที่ดินจะมีสิทธิอย่างไรบ้าง……ดูให้ดีนะครับ……ข้อที่ควรระวังในส่วนนี้ ก็คือ ตาม ม.1312 นั้น เฉพาะในส่วนตัวของโรงเรือนที่สร้างรุกล้ำโดยสุจริตเท่านั้น……ที่จะได้รับการคุ้มครอง ดังนั้นสิ่งอื่นๆที่มิใช่โรงเรือน หาได้รับการคุ้มครองจาก ม.1312 นี้ไม่
1.6 ชุดสังหาริมทรัพย์รวมเป็นส่วนควบ……ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.1316……ในส่วนนี้สามารถออกแซมในเรื่องของส่วนควบได้ด้วย……ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรงก็ควรทำความเข้าใจเอาไว้ก็ดีครับ……โดยหลักแล้วถ้ารวมกันแล้วรู้ว่าทรัพย์ใดเป็นทรัพย์ประธาน ท่านว่า เจ้าของทรัพย์ประธาน ได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนควบที่มารวมกันนั้น ตาม ม.1316 วรรค 2……แต่ถ้าไม่อาจชี้ได้ว่าทรัพย์ใดเป็นทรัพย์ประธาน ก็จะต้องนำเอา ม.1316 วรรค 1 มาใช้กับกรณีเช่นนี้
1.7 ชุดเก็บทรัพย์สินหาย……ม. ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.1323 + ม.1324 + ม.1325 + ม.1326…..ในส่วนนี้สามารถโยงไปหากฎหมายอาญา ม.352 วรรค 2 ได้ด้วย……ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจให้ดี เพราะจะทำให้เราสามารถแยกแยะ และเข้าใจยักยอกทรัพย์สินหาย ตาม ปอ..ม.352 วรรค 2 ไปด้วยในตัว……และทรัพย์สินหาย ตาม ปอ.ม.352 วรรค 2 จะหมายถึงทรัพย์สินหาย ตาม ปพพ. ม.1323 และทรัพย์สินตกน้ำ ตาม ปพพ.ม.1326 นั่นเอง…… ซึ่งเราอาจจะนิยามได้ว่า ” หมายถึง ทรัพย์สินที่หลุดพ้นไปจากความครอบครองยึดถือของผู้ครอบครอง โดยประการที่ผู้ครอบครองไม่อาจหาพบได้ หรือ โดยประการที่ผู้ครอบครองไม่ได้ติดตามเอาคืน ”
1.8 ชุดข้อยกเว้นหลัก ” ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน ” ( ซึ่งก็คือหลัก ” ผู้รับโอนมีสิทธิดีกว่าผู้โอน ” นั่นเอง ) ……ม.ที่สำคัญๆคือ ม.1330 + ม.1331 + ม.1332……ในส่วนนี้จะมีจุดที่เราควรที่จะทำความเข้าใจ คือ 1. ม.1330 เป็นการขายทอดตลาด ตามคำสั่งศาล หรือตามคำสั่งของจพท……ส่วน ม.1332 จะใช้สำหรับการขายทอดตลาด หรือขายในท้องตลาด ตามธรรมดา ……2. ตาม ม.1330 ถึงแม้ว่าเจ้าของที่แท้จริงจะชดใช้ราคาให้ ผู้ซื้อจากการขายทอดตลาด ก็ไม่จำต้องคืนทรัพย์สินนั้นแต่อย่างใด……ส่วน ม.1332 นั้น ถ้าเจ้าของที่แท้จริงยอมชดใช้ราคาแล้ว ท่านว่าผู้ซื้อจะต้องคืนทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่เจ้าของที่แท้จริง…..3. ควรที่จะต้องทราบว่า ซื้อในการขายทอดตลาด , ซื้อในท้องตลาด , ซื้อจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้น หมายความว่าอย่างไร…….4. และในส่วนนี้ควรที่ทำความเข้าใจ ม.1329 ประกอบด้วย ก็จะดีมิใช่น้อย โดยม.1329 จะเป็นเรื่อง นิติกรรมนั้นเป็นโฆษียะมาก่อนที่จะมีการโอนครั้งหลังแล้วต่อมาได้มีการบอกล้างนิติกรรมที่เป็นโฆษียะนั้น……ดังนั้น ม.1329 จึงกำหนดให้สิทธิของบุคคลในการโอนครั้งหลัง ถ้าสุจริตแล้วได้เสียค่าตอบแทน ท่านว่ามิให้เสียไป
1.9 ชุดทางจำเป็น……ม.ที่สำคัญ คือ ม.1349 + ม.1350 + ม.1351……ในส่วนนี้จะมีหลักที่สำคัญที่เราควรที่จะต้องรู้ ก็คือ ……1. อย่างไรและเพียงใดจึงจะเรียกว่า “ จำเป็น ”……2. และแค่ไหนอย่างไร จึงจะเรียกว่า “ พอควรแก่ความจำเป็น ”…..3. กรณีใดจะต้องใช้ตาม ม.1349 และ กรณีใดจะต้องใช้ ตาม ม.1350….4. ผู้ที่จะได้สิทธิใช้ทางจำเป็นนั้นจะต้องเป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกล้อมเท่านั้น ( ถ้าเป็นเพียงเจ้าของโรงเรือน แม้ว่าจะถูกที่ดินอื่นล้อมอยู่ ก็ไม่มีสิทธิเรียกร้องทางจำเป็น )……5. ทางจำเป็น จะต้องดูคู่กับ ภาระจำยอม และเปรียบเทียบกันเสมอ
1.10 ชุดภาระจำยอม……ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.1387 + ม.1388 + ม.1390 + ม.1391 + ม.1396 + ม.1399 + ม.1400 + ม.1401…….1. ในส่วนนี้จะมีหลักสำคัญ ก็คือ จะเป็นภาระจำยอมได้นั้น จะต้องมีที่ดินอย่างน้อย 2 แปลง และ หนึ่งในนั้นที่เรียกว่าภารยทรัพย์ จะต้องตกอยู่ในภาระที่จะต้องรับกรรมบางประการ ซึ่งก็ ” เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินอีกแปลงหนึ่ง ” ซึ่งเรียกว่าสามยทรัพย์…….( ดังนั้นถ้าหากว่า ไม่ได้เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่เรียกว่าสามยทรัพย์แล้ว…..ก็ไม่เป็นภาระจำยอม…..ต.ย.เช่น ถ้าเพื่อประโยชน์แก่ตัวบ้าน ก็ดี หรือ เพื่อประโยชน์ส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับตัวที่ดิน ก็ดี แม้จะใช้ทางนั้นนาน 10 ปี ทางนั้นก็ไม่ตกเป็นทางภาระจำยอม…..นี่คือข้อสอบสมัยที่ 59 ที่ผ่านมานี้เอง )……2. ทางที่จะตกเป็นภาระจำยอมนั้น จะต้องมิได้ใช้โดยอาศัยวิสาสะ…….3.ให้ดูข้อแตกต่างระหว่างทางจำเป็น กับ ภาระจำยอม ด้วย
1.11 ชุดกรรมสิทธิ์รวม……ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.1357 + ม.1358 + ม.1359 + ม.1361 + ม.1363…….ในส่วนนี้เราสามารถเอาหลักของความเป็นจริงมาจับหลักได้กล่าวคือ เมื่อไม่รู้ว่าแต่ละคนมีส่วนเท่าใด ก็ให้สันนิษฐานเอาไว้ก่อนว่าแต่ละคนมีส่วนเท่าๆกัน……หรือ ในการที่คนใดคนหนึ่งจะจำหน่ายจ่ายโอน ก็ยิอมต้องได้รับความยินยอมจากนอื่นๆก่อนแต่ก็จะไม่ห้ามในการที่จะจำหน่ายเฉพาะในส่วนของตน……หรือในเรื่องของการใช้สอยแต่ละคนต่างก็มีสิทธิใช้สอย และการใช้สอยนั้นจะใช้สอยโดยขัดต่อสิทธิของคนอื่นๆไม่ได้…….ดังนั้นในส่วนนี้จึงไม่มีการตีความมากมาย ขอเพียงแต่ท่องตัวบทให้ได้ ก็สามารถทำความเข้าใจได้แล้วครับ
1.12 ชุดครอบครอง……ม.ที่สำคัญ ก็คือ 1. การได้มาซึ่งสิทธิครอบครอง ม.1367 + ม.1368 + ม.1369 + ม.1373 ……2. การถูกรบกวน การแย่ง และการเปลี่ยนการยึดถือ ม.1374 + ม.1375 + ม.1381……3. การสิ้นสุดของสิทธิครอบครอง ม.1377 + ม.1378 + ม.1379……..ในส่วนนี้จะต้องทำความเข้าใจให้เป็นชุดๆที่แบ่งข้างต้นนี้
1.13 ชุดครอบครองปรปักษ์……ม.ที่สำคัญ คือ ม.1382……ในส่วนนี้นับว่าเป็นส่วนที่สำคัญอันหนึ่งของกฎหมายทรัพย์สิน……ดังนั้นควรที่จะทำความเข้าใจให้จงดี……ในส่วนนี้จึงควรที่จะต้องทำความเข้าใจดังต่อไปนี้……1.ทรัพย์สินที่เข้าไปครอบครองนั้นจะต้องเป็นทรัพย์สินของ ” ผู้อื่น ”ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์……2.จะต้องทำความเข้าใจคำว่า ” โดยความสงบ ” + ” โดยเปิดเผย ” + ” ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ”ให้จงดี เพราะถ้อยคำเหล่านี้จะแสดง’ให้เห็นถึงการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ อันเป็นสาระสำคัญที่จะทำให้ผู้แย่งการครอบครองได้กรรมสิทธิ์นั้นๆมาหรือไม่……3. ต่อมาให้ทำความเข้าใจ ถ้าได้ครอบครอง “ ติดต่อกัน ”นั้น ติดต่อกันอย่างไรจึงเข้าหลักเกณฑ์ครอบครองปรปักษ์……4.การครอบครองปรปักษ์จะใช้กับสาธารณสมบัติของแผ่นดินไม่ได้……นี้คือ 4 ส่วนที่สำคัญๆในเบื้องต้นที่จะต้องทำความเข้าใจ……และม.1382 สามารถโยงไปหา ม.1299 วรรค 2 ได้ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น: