สำรองห้องพักโรงแรมพร้อมส่วนลด

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

เขตของกฎหมายอาญานั้นสามารถแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้

ข้อที่ 1 จะเป็นวิชากฎหมายอาญา ม. 1 – ม.58 และ ม. 107 – ม.208
ข้อที่ 2 กับข้อที่ 3 จะเป็นวิชากฎหมายอาญา ม.59 – ม. 106
ข้อที่ 4 จะเป็นวิชากฎหมายอาญา ม. 209 – ม.287
ข้อที่ 5 กับ ข้อที่ 6 จะเป็นวิชากฎหมายอาญา ม. 288 – ม.333 และ ม.334 – ม. 366
ข้อที่ 7 จะเป็นวิชากฎหมายภาษีอากร
ข้อที่ 8 จะเป็นวิชากฎหมายแรงงาน
ข้อที่ 9 จะเป็นวิชากฎหมาย รัฐธรรมนูญ
ข้อที่ 10 จะเป็นวิชากฎหมายปกครอง


ในข้อที่ 1 นั้นเรายังสามารถแบ่งขอบเขตและเนื้อหาออกได้เป็นชุดย่อยๆ ได้ดังต่อไปนี้
1.1 ชุดดูหมิ่นเจ้าพนักงาน …….ม.ที่สำคัญก็คือ ม.136
1.2 ชุดต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน…….ม.ที่สำคัญคือ ม.138 + ม.139 + ม.140……ในส่วนนี้ควรที่จะดู ..ม. 165 ประกอบด้วยก็จะดีมิใช่น้อยนะครับ ( ม.165 เป็นเรื่องเจ้าพนักงานที่มีหน้าที่ปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายขัดขวางมิให้การเป็นไปตามกฎหมาย )
1.3 ชุดแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน……ม.ที่สำคัญ คือ ม.137 + ม.172 + ม.173 + ม.174 + ม.181
1.4 ชุดทำลาย……ม.ที่สำคัญคือ ม.141 + ม.142 + ม.158 + ม.184 + ม.188 + ม.199
1.5 ชุดเรียกรับสินบน……ม.ที่สำคัญ คือ ม.143 + ม.149 + ม.201……ในส่วนนี้ให้ดู ม.149 คู่กับ ม.148 ด้วยก็จะดีมิใช่น้อย
1.6 ชุดให้สินบน……ม.ที่สำคัญคือ ม.144 + ม.167
1.7 ชุดแสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน……ม.ที่สำคัญก็คือ ม.145 + ม.146
1.8 ชุดมักออกแซมกับประเด็นหลัก…….ม.ที่สำคัญก็คือ ม.147 + ม.157 + ม.188 + ม.199 + ม.200……มาตราเหล่านี้มักจะนำมาออกแซมกับประเด็นหลักอยู่เสมอๆ…..ดังนั้นจึงควรที่จะทำความเข้าใจเอาไว้ด้วยก็จะดีมิใช่น้อย
1.9 ชุดทำการปลอมเอกสารโดยอาศัยที่ตนมีหน้าที่…….ม.ที่สำคัญก็คือ ม.161…..ในส่วนนี้ควรดู ม.162 ประกอบด้วยก็จะดีนะครับ
1.10 ชุดเท็จทั่วไป…….ม.ที่สำคัญก็คือ ม.179 + ม.175 + ม.177 + ม.180……..ในชุดนี้มีข้อที่อยากแนะนำดังนี้……1. มีการทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ ตาม ม.179 ในชั้นสอบสวนขึ้นมาก่อน……2. แล้วจึงค่อยเอาความอันเป็นเท็จนั้น มาฟ้องผู้อื่นต่อศาล ตาม ม. 175……3. แล้วจึงค่อยมาเบิกความอันเป็นเท็จนั้นในการพิจารณาคดี ในกรณีที่เป็นพยานบุคคล ตาม ม .177…….4. และมานำสืบ หรือแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ ตาม ม.180 ในกรณีที่เป็นพยานเอกสาร หรือเป็นพยานวัตถุ …….ถ้าเรียงลำดับดังกล่าวนี้จะทำให้ง่ายต่อการจดจำและง่ายต่อการทำความเข้าใจ
1.11 ชุดหลบหนี……ม.ที่สำคัญในชุดนี้ก็คือ ม.189 + ม.190 + ม.191 + ม.192 + ม.204 + ม.205
1.12 ชุดให้ถือว่ากระทำผิดในราชอาณาจักร……..ม. ที่สำคัญ ก็คือ ม. 4 + ม.5 + ม.6 = ม.11
1.13 ชุดให้รับโทษในราชอาณาจักร……ม. ที่สำคัญ คือ ม.7 + ม.8 + ม.9 = ม.10
ชุดริบทรัพย์สิน…… ม.ที่สำคัญ คือ ม.32 + ม.33 + ม.34
1.14 เพิ่มโทษ ลดโทษ และรอการลงโทษ……ม. ที่สำคัญคือ ม.56 + ม.57 + ม.58

ในข้อที่ 2 และข้อที่ 3 นั้น เราสามารถที่จะแยกเนื้อหาและมาตราที่สำคัญๆได้ดังต่อไปนี้
2.1 ชุดหลักทั่วไป……ม.ที่สำคัญ คือ ม.59 เป็นมาตราที่เราควรที่จะต้องทำความเข้าใจเป็นอย่างยิ่ง……เพราะเป็นมาตราที่ออกแทบทุกปี ไม่ว่าจะเป็นวรรคใดวรรคหนึ่งใน ห้าวรรค ของ ม.59
2.2 ชุดเจตนาตามกฎหมาย……ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม. 60 และ ม.61
2.3 ชุเดสำคัญผิด……ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.59 วรรค 3 + ม.61 + ม.62 วรรค 1
2.4 ชุดรับโทษหนักขึ้น……ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.62 วรรค ท้าย + ม.63
2.5 ชุดยกเว้นความรับผิด……ม.ที่สำคัญคือ ม.68
2.6 ชุดยกเว้นโทษ…..ม.ที่สำคัญคือ ม.67……( ส่วน ม.65 + ม.66 + ม.70 + ม.71 + ม.73 + ม.74 นั้น ดูให้เข้าใจก็พอแล้ว )
2.7 ชุดลดโทษ……ม.ที่สำคัญก็คือ ม.72 และ ม.69……( ส่วน ม.64 + ม.65 วรรค 2 + ม.66 ส่วนท้าย + ม.71 วรรค 2 นั้นให้ดูพอเข้าใจก็ใช้ได้แล้ว )
2.8 ชุดพยายามกระทำความผิด……ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.80 + ม.81 + ม.82
2.9 ชุดตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน……ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.83 + ม.84 + ม.86 + ม.87 + ม.88

ส่วนที่ควรที่จะต้อง’ทำความเข้าใจเพิ่มเติมอีก ก็คือ
1. ในเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล
2. หลักในเรื่อง “ รู้ ”
3. ข้อเปรียบเทียบระหว่างผู้กระทำความผิดโดยตรง กับ ผู้กระทำผิดโดยทางอ้อม กับผู้ใช้
4. ข้อแตกต่าง และข้อเหมือน ระหว่างป้องกัน กับ บันดาลโทสะ และข้อแตกต่างระหว่าง ป้องกัน กับ จำเป็น

ในข้อที่ 4 นั้น เราก็สามารถแยกออกได้เป็นชุดๆ ได้ดังต่อไปนี้เช่นกัน กล่าวคือ
4.1 ชุดอั้งยี่ ซ่องโจร……ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.209 + ม.210 + ม.213….( ม.211+.ม.212 ดูให้พอเข้าใจว่าเป็นเรื่องอะไรด้วยก็จะดีมิใช่น้อย )……ในส่วนนี้จะมีชุดมั่วสุม ตาม ม.215 และ ม.216 อีก ที่ควรจะดูเอาไว้ด้วย
4.2 ชุดวางเพลิงเผาทรัพย์…….ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.217 + ม.218 + ม.219 + ม.220 + ม.223 + ม.224 + ม.225…….ในส่วนนี้ควรจะดู ม. 233 เอาไว้ด้วยก็จะดีมิใช่น้อย
4.3 ชุดปลอมแปลงเงินตรา……ม.ที่สำคัญคือ ม.240 + ม.242 + ม.243 + ม.244 + ม.245 + ม.247
4.4 ชุดปลอมเอกสาร……ม.ที่สำคัญ คือ ม.264 + ม.265 + ม.266 + ม.267 + ม.268
4.5 ชุดปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์……ม.ที่สำคัญคือ ม.269 / 1 – ม.269 / 7…..ในส่วนนี้ยังไม่เคยออกเป็นข้อสอบ ดังนั้นจึงควรที่จะทำความเข้าใจทุกมาตราและก็มีโอกาสออกสอบได้เช่นกัน
4.6 ชุดความผิดเกี่ยวกับเพศ……ม.ที่สำคัญคือ ม.276 + ม.277 + ม.278 + ม.279 + ม.282 + ม.284

ในข้อที่ 5 และ ข้อที่ 6 นั้น จะมีเนื้อหาและมาตราที่สำคัญๆแยกออกเป็น 2 ส่วนดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1 เป็นส่วนของ ม.228 – ม.333 ซึ่งเราสามารถแยกเป็นชุดๆ ได้ดังนี้
5.1 ชุดความผิดต่อชีวิต……ม.ที่สำคัญๆก็คือ ม.288 + ม.289 + ม.290 + ม.291…….โดยเฉพาะ ม. 289 จะต้องจดจำให้ได้ทุกอนุมาตรา เพราะมักจะออกแซมในประเด็นหลักๆอยู่เสมอ……( เป็นการวัดความรอบคอบ และวัดความจำของผู้สอบ )…….ส่วน ม.292 + ม.293 + ม.294 นั้น ดูให้รู้ว่าเป็นเรื่องอะไรก็พอแล้ว ( เพื่อไม่ให้เกิดหลุมเวลาไล่สาย )
5.2 ชุดความผิดต่อร่างกาย……ม.สำคัญก็คือ ม.295 + ม.296 + ม.297 + ม.298 + ม.300……ส่วน ม..299 ดูให้รู้ว่าเป็นเรื่องอะไรก็พอแล้ว
5.3 ชุดทำให้แท้งลูก…….ในชุดนี้สำคัญทุกมาตรา ม.301 – ม.305……ข้อที่ควรระวังก็คือถ้าไม่เข้าข้อยกเว้นตาม ม.305แล้วล่ะก็ ท่านว่า นายแพทย์จะต้องรับผิด ตาม ม.302และฝ่ายหญิง ก็จะต้องรับผิด ตาม ม.301…….และถ้าเป็นการพยายามทำให้แท้งลูกแล้วเป็นเหตุให้หญิงได้รับอันตรายสาหัส ท่านว่า ผู้กระทำ ก็ยังคงต้องรับโทษอยู่ ( ไม่เข้าข้อยกเว้น ตาม ม.304 )……และกรณีการทำให้แท้งลูกจนเป็นเหตุให้หญิงรับอันตรายสาหัส ตาม ม.302 วรรค 2 กับ ม.303 วรรค 2 นั้น จะใกล้เคียงกับกรณีตาม ม.297 ( 5 ) เป็นอย่างยิ่ง
5.4 ชุดทำให้เสื่อมสียเสรีภาพ…….ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.309……ในส่วนนี้จะต้องดูคู่กับ ม.337 และดูคู่กับ ม.339……เพราะความผิดทั้ง 2 ฐานดังกล่าวจะรวมความผิดตาม ม.309 อยู่ในตัวด้วย……กล่าวคือ ถ้าหากไม่ผิดตาม ม.337 หรือ ม.339 ก็ย่อมจะต้องผิดตาม ม.309 เสมอ……( และเวลาที่จะออกข้อสอบในส่วนนี้ จึงมักจะนำเอามาออกคู่กันอยู่เสมอ ถ้าไม่ออก ม.309 คู่กับ ม.337 ก็จะออก ม.309 คู่กับ ม.339 นั่นเอง )……จึงควรทำความเข้าใจให้จงดี……และ ม.309 นี้จะต้องทำความเข้าใจทั้ง 3 วรรค
5.5 ชุดหน่วงเหนี่ยวกักขัง……ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.310……ส่วน ม.310 ทวิ + ม.311 + ม.312 ทวิ ดูให้เข้าใจว่าเป็นเรื่องอะไร ก็พอ
5.6 ชุดเรียกค่าไถ่…..ม. ที่สำคัญ ก็คือ ม.313 + ม.314 + ม.315 + ม.316……สำคัญทุกมาตรา…….ในชุดนี้มักจะโยงไปหา ม.1 ( 13 )ด้วยเสมอ ดังนี้จึงควรรู้ถึงคำนิยามของคำว่า ” ค่าไถ่ ” เอาไว้ด้วย
5.7 ชุดพรากผู้เยาว์……ม. ที่สำคัญ ก็คือ ม.317 + ม.318 + ม.319
5.8 ชุดหมิ่นประมาท……ม. ที่สำคัญ ก็คือ ม.326 + ม.329 + ม.330 + ม.331……ส่วน ม.327 + ม.328 + ม.332 + ม.333 ดูให้รู้ว่าเป็นเรื่องอะไร ก็พอแล้ว
ส่วนที่ 2 เป็นส่วนของ ม.334 – ม.366 ซึ่งเราสามารถแยกออกเป็นชุดๆ ได้ดังต่อไปนี้
6.1 ชุดลักทรัพย์ + ชิงทรัพย์ + ปล้นทรัพย์…….ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม. 334 + ม.335 + ม.336 ทวิ + ม.339 + ม340 + ม.340 ตรี……..ในส่วนนี้ ม.335 กับ ม.340 ตรีมักจะออกสอบแซมกับหลักอยู่เสมอ……( จะออกทดสอบทั้งหลักและทดสอบทั้งเหตุฉกรรจ์ ประกอบกันไปเสมอ…….จึงควรระวังเอาไว้ด้วย ก็จะดีมิใช่น้อย )…….ดังนั้นนอกจากจะต้องทำความเข้าใจกับหลักกฎหมายของ ม.334 + ม.339 + ม.340 ให้ดีๆ แล้ว…….เราก็ควรที่จะท่อง และทำความเข้าใจ ม.335 กับ ม.340ตรี ให้ดีๆ ด้วย
6.2 ชุดลักทรัพย์ + วิ่งราวทรัพย์……ม. ที่สำคัญ คือ ม. 334 + ม.336 + ม.336 ทวิ
6.3 ชุดลักทรัพย์ + ยักยอก……ม. ที่สำคัญ ก็คือ ม.334 + ม.352…….ในส่วนนี้นอกจากจะต้องดูว่าเป็นลักทรัพย์ หรือเป็นยักยอกแล้ว ก็ควรที่จะต้องดูเด้วยว่าถ้าเป็นยักยอกแล้วจะเป็นยักยอก ตาม ม.352 วรรค 2 หรือ เป็นยักยอก ตาม ม.353 หรือ เป็น ยักยอก ตาม ม.354 ด้วย…….ดังนั้นจึงควรที่จะต้องทำความเข้าใจให้ดีๆ
6.4 ชุดลักทรัพย์ + ฉ้อโกง……ม. ที่สำคัญ ก็คือ ม.334 + ม.341……ในส่วนนี้นอกจากจะต้องดูว่าเป็นลักทรัพย์โดยใช้กลอุบาย หรือ เป็นฉ้อโกง แล้ว ก็ควรที่จะต้องดูหลักกฎหมายต่างๆของฉ้อโกง เอาไว้ด้วย……เพราะในเรื่องของฉ้อโกงนี้สามารถนำเอามาออกเป็นข้อใหญ่โดดๆ ได้
6.5 ชุดโกงเจ้าหนี้…….ม. ที่สำคัญ คือ ม.349 + ม.350……..ในส่วนนี้จะเป็นเอกเทศไม่สมารถที่จะออกคู่กับความผิดฐานอื่นๆได้เลย……( และในส่วนนี้ก็มิได้ออกเป็นข้อสอบมานานมากแล้ว )……จึงควรที่จะสนใจและทำความเข้าใจเอาไว้ด้วย ก็จะดีมิใช่น้อย
6.6 ชุดมักออกแซมกับประเด็นหลัก……ม. ที่สำคัญ ก็คือ ม.357 รับของโจร……ม.358ทำให้เสียทรัพย์……ม.364ม. + ม.365 บุกรุก…….( ในส่วนนี้มักจะนำมาออกแซมกับประเด็นหลักๆ อยู่เสมอ เพื่อที่จะทดสอบความรอบคอบและ ความจำ )
6.7 ชุดกรรโชก……ม. ที่สำคัญ ก็คือ ม.337……ในส่วนนี้ ควรที่จะดูคู่กับ ม.309 ทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพ…….หรือดูคู่กับ ม.339 ชิงทรัพย์ หรือ ดูคู่กับ ม.338 รีดเอาทรัพย์ดังที่ได้กล่าวเอาไว้ข้างต้นแล้ว นั่นเอง
6.8 ชุดคำนิยาม……ม. ที่สำคัญ คือ ม.1……และอนุมาตราสำคัญที่มักจะนำมาออกแซมกับประเด็นหลัก ก็คือ อนุมาตรา 1 โดยทุจริต……( 4 ) เคหสถาน……( 5 ) อาวุธ…..( 6 ) ใช้กำลังประทุษร้าย……( 13 ) ค่าไถ่…….และถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรงจนเกินไปก็ให้ดูอนุมาตรา 7 + ( 8 ) + ( 9 ) ด้วยก็จะดีมิใช่น้อย

ข้อสังเกต ในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ตั้งแต่ ม.334 – ม.366
1. ในความผิดที่เกี่ยวกับทรัพย์นี้ ความผิดฐานลักทรัพย์ จะเป็นความผิดแกนหลักที่สามารถนำเอาไปออกเชื่อมโยงกับความผิดฐานอื่นๆ หรือ เชื่อมโยงกับประเด็นอื่นๆ ได้อยู่เสมอ……ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเป็นลักทรัพย์สำเร็จ หรือ เป็นเพียงแค่พยายามลักทรัพย์……หรือ เป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่……. ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ผิดฐานลักทรัพย์ หรือ ว่าผิดฐานยักยอก……ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ผิดฐานลักทรัพย์ หรือว่า ผิดฐานชิงทรัพย์ ( ถ้าชิงทรัพย์ตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ก็จะผิดฐานปล้นทรัพย์ )……ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ผิดฐานลักทรัพย์ หรือว่า ผิดฐานฉ้อโกง ดังนี้เป็นต้น ……ดังนั้นจึงควรที่จะต้องทำความเข้าใจให้จงดี
2. ในการออกข้อสอบอาจมีการนำเอาประเด็นในส่วนที่ 2 คือ ม.334 – ม.366 ไปออกผสมกับ ประเด็นในส่วนที่ 1 คือ ม. 288 – ม.333 ได้……หรือ อาจนำเอาประเด็นในส่วนที่ 2 มาออกผสมกับประเด็นในส่วนที่ 1 ได้เช่นกัน
3. ความผิดฐานรับของโจร ก็ดี หรือ ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ก็ดี หรือ ความผิดฐานบุกรุก ก็ดี…….มักจะนำมาออกแซมกับประเด็นหลัก อยู่บ่อยๆ
4. ลักษณะของข้อสอบจะเป็นการออกข้อสอบในลักษณะที่ต้องการวัดทั้งหลักกฎหมาย…..วัดทั้งความรอบคอบ…..วัดทั้งความจำ รวมอยู่ในข้อเดียวกัน……ดังนี้จึงควรที่จะต้องระมัดระวังเอาไว้ด้วย
5. เหตุฉกรรจ์ทั้งหลายมักจะถูกนำเอามาออกเป็นข้อสอบเพื่อวัดความจำและความรอบคอบอยู่เสมอๆ

ในข้อที่ 7 นั้น จะเป็นกฎหมายภาษีอากร……ในส่วนนี้จะมีเรื่องที่นำมาออกข้อสอบอยู่ 4 เรื่องด้วยกัน กล่าวคือ 1. ภาษีบุคคลธรรมดา…..2. ภาษีนิติบุคคล…….3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม……4.ภาษีธุรกิจเฉพาะ………..โดยลักษณะในการออกข้อสอบนั้น จะเป็นการนำเอาภาษีทั้ง 4 เรื่องนั้นมารวมกันออกเป็นข้อเดียว……( จะไม่ออกเฉพาะภาษีประเภทใดประเภทหนึ่งเพียงประเภทเดียว )……ต.ย.เช่น อาจจะออกภาษีนิติบุคคลผสมกับภาษีบุคคลธรรมดา ก็ได้ หรือ อาจจะออกภาษีนิติบุคคล + ภาษีมูลค่าเพิ่ม + ภาษีธุรกิจเฉพาะ ก็ได้. หรือ อาจจะออกภาษีบุคคลธรรมดา + ภาษีมูลค่าเพิ่ม + ภาษีธุรกิจเฉพาะ ก็ได้ ดังนี้เป็นต้น
และในการตอบข้อสอบกฎหมายภาษีนั้น อย่าตอบแบบฟันธงอย่างเด็ดขาด……จะต้องยกหลักกฎหมายขึ้นมาวางก่อนเสมอ แล้วจึงปรับข้อเท็จจริงที่ให้มาเข้ากับหลักกฎหมายที่วางเอาไว้
ตอนชั่วโมงท้ายๆนั้น อาจารย์ จะบอกเองว่า ในปีนี้อาจารย์จะออกกฎหมายภาษีประเภทใดบ้าง……ดังนั้นให้ติดตามคำบรรยายเล่มท้ายๆเอาไว้ให้ดี……และส่วนมากอาจารย์มักจะออกแต่หลักใหญ่ๆเท่านั้น หลักย่อยๆจะไม่ออก

ภาษีบุคคลธรรมดา…….จะมี ม. ที่สำคัญๆ คือ ม.39 + ม.40 + ม.41 + ม.42 + ม.42 ทวิ + ม.42 ตรี + ม.47 + ม.48 + ม.50 + ม.50 ทวิ + ม.54 + ม.56 + ม.57 + ม.57 ทวิ + ม.57 ตรี + ม.57 เบญจ
ภาษีนิติบุคคล……จะมี ม.ที่สำคัญๆ คือ ม.65 + ม.65 ทวิ + ม.65 ตรี + ม.69 ทวิ + ม.69 ตรี + ม.70 + ม.70 ทวิ

ภาษีมูลค่าเพิ่ม……จะมี ม.ที่สำคัญๆ คือ ม.77 / 1 ( 8 ) , ( 10 ) , ( 11 ) , ( 12 ) , ( 13 ) , ( 15 ) , ( 20 ) + ม.77 / 2 + ม.77 / 3 + ม.78 + ม.78 / 1 + ม.78 / 2 + ม.78 / 3 + ม.81 + ม.81 / 1 + ม.82
ภาษีธุรกิจเฉพาะ……จะมี ม.ที่สำคัญ คือ ม.77 / 3 + ม.91 / 1 + ม.91 / 2 + ม.91 / 3 + ม.91 / 4 + ม.91 / 5 + ม.91 / 7 + พรฎ.ฉบับ 342 + พรฎ.ฉบับ 246

ในข้อที่ 8 นั้น จะเป็นกฎหมายแรงงาน……ในส่วนนี้ จะมีกฎหมายอยู่ 4 ฉบับ ที่จะนำมาออกเป็นข้อสอบ และก็จะออกแบบผสมตั้งแต่กฎหมาย 2 ฉบับขึ้นไปเช่นเดียวกันกับกฎหมายภาษีไม่ว่าจะนำเอากฎหมายคุ้มครองแรงงาน ออกคู่กับกฎหมายเงินทดแทน หรือ กฎหมายจัดตั้งศาลแรงงานฯ……ไม่ว่าจะนำเอากฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ออกคู่กับ กฎหมายเงินทดแทน หรือกฎหมายจัดตั้งศาลแรงงานฯ ดังนี้เป็นต้น…….และก็เช่นเดียวกัน ตอนท้ายๆชั่วโมงการสอนอาจารย์จะบอกว่าในปีนี้จะออกกฎหมายอะไร……ดังนั้นจึงควรติดตามหนังสือคำบรรยายเล่มท้ายๆให้ดี
ก.ม.คุ้มครองแรงงาน……จะมี ม.ที่สำคัญๆ คือ ม.5 + ม.10 + ม.12 + ( ม.15 + ม.16 + ม.17 ) + ( ม.30 + ม.64 + ม.67 ) + ม.43 + ม.61 + ( ม.75 + ม.76 ) + ( ม.118 + ม.119 + ม.120 ) +( ม.123 + ม.124 + ม.125 )……ข้อควรระวัง ก.ม.คุ้มครองแรงงาน เป็น ก.ม.ที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้นข้อตกลงใดๆของนายจ้างที่ขัด หรือแย้งกับบทบัญญัติของก.ม.คุ้มครองนี้…ท่านว่าข้อตกลงเช่นว่านั้น ย่อมตกเป็นโมฆะ ใช้บังคับไม่ได้
ก.ม.แรงงานสัมพันธ์……จะมี ม.ที่สำคัญๆ คือ ม.5 + ม.10 + ( ม.12 + ม.13 + ม.16 + ม.18 +ม.19 + ม.20 ) + ( ม.16 + ม.21 + ม.22 + ม.31 + ม.34 ) + ม.41(4) + ม.52 + ( ม.121 + ม.123 + ม.124 + ม.125 ) + ม.127
ก.ม.เงินทดแทน……จะมีมาตราที่สำคัญๆ คือ ม.5 + ( ม.13 + ม.16 + ม.18 ) + ( ม.20 + ม.21 ) + ( ม.22 + ม.23 )
ก.ม.จัดตั้งศาลแรงงานฯ……จะมี ม.ที่สำคัญๆ คือ ม.8 + ( ม.37 + ม.38 + ม.39 + ม.40 + ม.41 ) + ม.49 + ม.52 + ม.54

ในข้อที่ 9 นั้น จะเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญ……ในส่วนนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ ปี 2540 ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว……และฉบับใหม่ก็ยังไม่มี…..ดังนั้นจึงต้องไปดูตอนที่เปิดเรียนกันว่าทางเนติฯจะเอาส่วนไหนมาสอน

ส่วนในข้อที่ 10 นั้น ก็จะเป็น ก.ม.ปกครอง……ในส่วนนี้ก็จะมี ก.ม.อยู่ 2 ฉบับ ที่จะนำเอามาออกเป็นข้อสอบ ซึ่งก็คือ ก.ม.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กับ ก.ม.จัดตั้งศาลปกครอง ฯ

ก.ม.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง……จะมี ม.ที่สำคัญๆ คือ ม.3 + ม.5 + ม.13 + ม.16 + ม.17 + ม.18 + ม.19 + ม.30 + ม.32 + ม.35 + ม.36 + ม.37 + ม.40 + ม.41 + ม.42 + ม.44ม.49 + ม.50 + ม.51 + ม.52 +ม.54
ก.ม.จัดตั้งศาลปกครอง ฯ……จะมี ม.ที่สำคัญๆ คือ ม.3 คำนิยามของสัญญาทางปกครอง + ม.9 + ม.42 + ม.49 + ม.52 + ม.72

ข้อที่อยากจะแนะนำบางประการ……1. ก.ม.พิเศษที่ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง จึงควรที่จะทำความเข้าใจให้ดีๆ…..และจะเป็นข้อที่เป็นคะแนนช่วยได้เป็นอย่างดีเช่นกัน…..ดังนั้นจึงไม่ควรมองข้าม ก.ม.พิเศษ ทั้งสี่ นี้เป็นอันขาด
2. กฎหมายอาญานั้น ควรที่จะแม่นทั้งตัวบทและแม่นทั้งหลักกฎหมาย
3. ควรที่จะรวมรวมหลักกฎหมายที่เป็นประเภทเดียวกันเข้ามาไว้ในที่เดียวกัน……ต.ย.เช่น ม.205 + ม.225 + ม.239 + ม.291 + ม.300 + ม.311 + ม.390 ล้วนแล้วแต่เป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติว่าแม้กระทำโดยประมาทก็เป็นความผิด……เราก็นำมารวมไว้ในที่เดียวกันเสีย หรือความผิดใดที่ไม่มีการพยายามกระทำความผิด เราก็นำมาสรุปรวมอยู่ในที่เดียวกัน ซึ่งก็คือ ความผิด ตาม ม.154 + ม.156 + ม.157 + ม.162(3) + ม.168 + ม.169 + ม.170 + ม.171 + ม.216 + ม.374 ความผิดเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นความผิดที่ไม่ต้องการผล ดังนั้นจึงไม่มีการพยายามกระทำความผิด……ม.290 + ม.291 + ม.294 + ม.297 + ม.299 ความผิดเหล่านี้ ก็ไม่มีพยายาม…..การกระทำโดยประมาท ก็ไม่มีพยายาม …..และก็ไม่มีการพยายามเป็นตัวการไม่มีการพยายามเป็นผู้ใช้ ไม่มีการพยายามเป็นผู้สนับสนุน ด้วยเช่นกัน ดังนี้เป็นต้น
4. ควรที่จะฝึกหัดทำข้อสอบและฝึกการเขียนตอบข้อสอบเอาไว้ด้วย ก็จะดีมิใช่น้อย
5. สถิติในการออกข้อสอบของมาตราต่างๆ 4 ปีที่ผ่านมา มีดังนี้
สมัยที่ 59
ข้อที่ 1 ม.145 , ม.157 , ม.184 , ม.199 , ม.200
ข้อที่ 2 ม.82 , ม.84วรรค1 , ขั้นตอนของการกระทำ , ม.86
ข้อที่ 3 ม.81 วรรค 1 , ม.60
ข้อที่ 4 ม.264 วรรค 1 , ม.265 , ม.268 วรรค 1
ข้อที่ 5 ม.335 วรรค 2 , ม.339 , ม.340 , ม.364 , ม.365 ( 2 ) , ( 3 ) , ม.358
ข้อที่ 6 ลักทรัพย์ไม่ขาดตอน , ม.335 ( 7 ) , ม.339 วรรค 2 , ม.340 ตรี , ม.357 , ม.341
ข้อที่ 7 ออกภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ม.56 วรรค 2 , ม.42 ( 14 )……และภาษีธุรกิจเฉพาะ ม.91 / 2 ( 6 ) , พรฎ. ฉบับ 342 ม. 4 ( 6 )
ข้อที่ 8 ออกคุ้มครองแรงงาน ม.119 ( 4 ) , ม.118…….และจัดตั้งศาลฯ ม.8 วรรค 2
ข้อที่ 9 ถูกยกเลิก
ข้อที่ 10 ออกวิ . ปกครอง ม.3 , ม. 5 ( คำสั่งทางปกครอง )…….และจัดตั้งศาลฯ ม.9 วรรค 1 ( 1 ) กับ ( 3 )

สมัยที่ 58
1. ม.151 , ม.152
2. ม.59 วรรค 3 , ม.84 , การกระทำผิดทางอ้อม
3. ม.67 ( 2 ) , ม.59 วรรค 2 เจตนาเล็งเห็นผล
4. ม.264 วรรค 2 , ม.268 วรรค 1 , ม.268 วรรค 2
5. ม. 352 วรรค 1 , ม.341
6. ม.319 วรรค 1 , ม.297 ( 3 ) , ม.358 , ม.326
7. เงินได้นิติ ฯ ม.65……มูลค่าเพิ่ม ม.81 ( 1 ) ( ก ) , ( ต )……ธุรกิจเฉพาะ ม.91 / 2
8. แรงงานสัมพันธ์ ม.34 ( 1 ) , ม.13 , ม.21 , ม.23
9. --------
10. วิ.ปกครอง ม.5 , ม.30……จัดตั้งศาล ฯ ม. 9 วรรค 1 ( 4 ) , ม.3

สมัย 57
1. ม.143 , ม.34 ( 1 )
2. ม.84 , ม.87
3. ม.80 , ม.68 , ม.72
4. ม.264 , ม.265 , ม.266 ( 4 )
5. ม.334 , ม.349 , ม.364 กับ ม.365 ( 3 ) , ม.289 ( 4 ) , ม.289 ( 7 ป
6. ม.364 กับ ม.365 ( 1 ) ( 3 ) , ม.309 , ม.339 , ม.335 วรรค 2
7. เงินได้บุคคลธรรมดา ม.42 ( 9 )…..มูลค่าเพิ่ม ม.72 / 1 ( 5 ) , ม.72 / 2 ( 1 )
8. คุ้มครองแรงงาน ม.119 ( 5 )
9. -----
10. วิ.ปกครอง ม.3……จัดตั้งศาลฯ ม.3 , ม.9 วรรค 1 ( 3 )

สมัยที่ 56
1. ม.167 , ม.200 วรรค 2
2. ม. 81 , ม.86
3. 3ม. 80 , ม.84
4. ม.264 , ม.267 , ม.137
5. ม.334 , ม.357 , ม.339 , ม.295
6. ม. 1 ( 13 ) , ม.313 วรรค 1 , ม.317 วรรค 3 , ม.364 กับ ม. 1 ( 4 )
7. เงินได้นิติบุคคล ม.70
8. คุ้มครองแรงงาน ม. 5 ลูกจ้าง……เงินทดแทน ม. 5 ประสบอันตราย , ม.20
9. -----
10. วิ.ปกครอง ม. 5 , ม.43 ( 1 )……จัดตั้งศาลฯ ม.9

ไม่มีความคิดเห็น: