สำรองห้องพักโรงแรมพร้อมส่วนลด

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

ข้อที่ 6 จะเป็นกฎหมาย ตัวแทน ประกันภัย ตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด ตัวแทน……ม.797 – ม.832 , ประกันภัย……ม.861 – ม.897 , ตั๋วเงิน……ม.898 – ม.1011 , บัญชีเดิน

.ในส่วนนี้นั้นผมจะเขียนเฉพาะวิชากฎหมายตั๋วเงินเท่านั้นนะครับ เพราะในช่วงหลังๆนี้มักจะออกวิชาตั๋วเงินเสียเป็นส่วนใหญ่…….ซึ่งในส่วนของวิชาตั๋วเงินนี้ เราจะต้องทำความเข้าใจในเบื้องต้นก่อนดังต่อไปนี้
1. ตั๋วเงินนั้นเป็นเรื่องของการชำระหนี้ที่มิใช่เป็นตัวเงิน แต่เป็นการชำระหนี้ด้วยการออกเช็ค ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือ ออกเป็นตั๋วแลกเงินนั่นเอง……ดังนั้นจึงต้องมีการเปลี่ยนมือไปมาอยู่ตลอดเวลา……ด้วยเหตุนี้เราจึงควรที่จะต้องรู้ให้ได้ว่า “ ใครเป็นผู้ทรง ”……” ใครเป็นผู้สั่งจ่าย ”……” ใครเป็นผู้สลักหลัง ”…….” ใครเป็นผู้อาวัล ”,,,,,,” ใครเป็นผู้รับรอง ”……เพื่อที่จะได้รู้ใครเป็นผู้ทรงในตั๋ว และจะไล่เบี้ยเอากับใครได้บ้าง……เพื่อที่จะได้รู้ว่ามีใครบ้างที่จะต้องรับผิดตามตั๋ว นั่นเอง……นั่นก็หมายความว่า ก่อนอื่นเราจะต้องหาในข้อสอบให้ได้ก่อนว่า ใครเป็นผู้ทรงและต้องเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายด้วย…..และมีใครบ้างที่จะต้องรับผิดตามตั๋ว นั่นเอง

2. หลังจากนั้นเราจึงค่อยมาทำความเข้าใจว่า……การเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายนั้นมีหลักการอย่างไรบ้าง……( คำตอบจะอยู่ที่ ม.904 ,.905 )……และจะเกิดสิทธิในการไล่เบี้ยเมื่อใด……( ซึ่งคำตอบ จะอยู่ที่ ม.959+ ม.960 )……แล้วมีกรณีใดบ้างที่ทำให้ผู้ทรงสิ้นสิทธิไล่เบี้ย……( ซึ่งคำตอบ ก็จะอยู่ที่ ม.973 และ ม.948 )

3. หลังจากนั้นเราค่อยมาเจาะในเรื่องของผู้ที่จะต้องรับผิด……( นี่เป็นเรื่องใหญ่ที่เราจะต้องตอบในข้อสอบเป็นคำตอบสุดท้าย )……ว่าจะต้องรับผิดตามตั๋วหรือไม่……ซึ่งโดยหลักแล้วบุคคลใดก็ตามที่ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงิน ท่านว่า บุคคลนั้นจะต้องรับผิดตามตั๋ว ตามผลของ ม.900……และ ม.967 ที่กำหนดให้บรรดาบุคคลเหล่านี้ คือ ผู้สั่งจ่าย….ผู้รับรอง….ผู้สลักหลัง….ผู้อาวัลต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง……และ ม.914 ที่กำหนดให้ ผู้สั่งจ่าย หรือ ผู้สลักหลัง จะต้องใช้เงินแก้ผู้ทรง ถ้าหากว่าตั๋วเงินเขาไม่เชื่อถือโดยไม่รับรอง ก็ดี หรือ ไม่ยอมจ่ายเงิน ก็ดี……( ม.900 , ม.967 , ม.914 นับเป็นมาตราที่สำคัญที่จะต้องจดจำให้ได้นะครับ )

4. หลังจากนั้น เราค่อยมาทำความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับ……4.1 ข้อความที่ต้องเขียนลงในตั๋วเงิน……ในส่วนนี้ต้องไปดูที่ ม.899……( ม.899 ก็นับว่าเป็นมาตราที่สำคัญมากมาตราหนึ่งที่จะต้องจดจำให้ได้ )……4.2 เกี่ยวกับ วันถึงกำหนดของตั๋วแลกเงิน….ซึ่งเราจะต้องไปดูที่ ม.913……และในส่วนนี้ เราจะต้องดูคู่กับ การใช้เงิน ตาม ม.943 กับ ม.944……โดยให้ดู ม.941 ประกอบด้วย เพราะจะเป็นมาตราที่จะบอกเราให้รู้ว่า 4.2.1 เมื่อตั๋วถึงกำหนดวันใด ( ซึ่ง ม. 913 จะเป็นตัวบอกเราว่าวันใด )…..ผู้ทรงจะต้องมีหน้าที่นำตั๋วเงินไปยื่นให้ใช้เงิน….4.2.2 บอกให้เรารู้ว่า ตั๋วเงินจะพึงใช้เงินในวันที่ตั๋วถึงกำหนด……..ความสำคัญในส่วนนี้ ก็คือ a ) จะโยงไปหา ม.959 ( ก ) กล่าวคือ เมื่อตั๋วเงินถึงกำหนดใช้เงิน แล้วผู้ทรงก็ได้นำตั๋วเงินไปยื่นให้ใช้เงิน….แต่ ผู้จ่ายไม่ได้ใช้เงิน…..กรณีเช่นนี้ท่านว่า ผู้ทรงตั๋วแลกเงิน ย่อมเกิดสิทธิที่จะไปไล่เบี้ยเอากับบรรดาผู้สลักหลัง…ผู้สั่งจ่าย…บุคคลอื่นๆ ซึ่งต้องรับผิดตามตั๋ว……b ) แล้วยังสามารถโยงไปหา ม.973 ได้อีกด้วย กล่าวคือ เมื่อถึงกำหนดใช้เงิน แล้วผู้ทรงไม่ได้นำตั๋วไปยื่นให้ใช้เงิน ซึ่งเมื่อกำหนดเวลาสำหรับยื่นตั๋วแลกเงิน ได้ล่วงพ้นไปแล้ว……ท่านว่า ผู้ทรงย่อมสิทธิสิ้นไล่เบี้ยเอากับ ผู้สลักหลัง และ คู่สัญญาอื่นๆ ผู้ต้องรับผิดชอบ……( ในส่วนนี้ จะมีอยู่คนเดียวที่ไม่พ้นจากความรับผิด นั่นก็คือ ผู้รับรอง นั่นเอง…..จึงต้องระวังเอาไว้ด้วยนะครับ )……4.3 เกี่ยวกับการโอนตั๋วแลกเงิน…….โดยจะมีหลักของการโอน อยู่ที่ ม.917 กับ ม.918……วิธีการโอน จะอยู่ที่ ม.919 กับ ม.920……………และในส่วนนี้ เราควรทำความเข้าใจเอาไว้ก่อนว่า ตั๋วแลกเงิน จะมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน คือ 4.3.1 ตั๋วระบุชื่อ……ซึ่งในส่วนนี้ บุคคลที่ได้สลักหลังตั๋วระบุชื่อ จะได้ชื่อว่า ” ผู้สลักหลัง ”……4.3.2 ตั๋วผู้ถือ……ซึ่งในส่วนนี้ บุคคลที่ได้สลักหลังตั๋วผู้ถือ จะได้ชื่อว่า ” ผู้อาวัล ” ทั้งนี้ตามที่ ม.921 บัญญัติเอาไว้……….หลังจากนั้นเราค่อยมาทำความเข้าใจว่า ตั๋วระบุชื่อจะโอนเปลี่ยนมือกันอย่างไร……ซึ่งตำตอบ ก็จะอยู่ที่ ม. 917 + ม.918 + ม.919 + ม.920 นั่นเอง……แล้วตั๋วผู้ถือ จะโอนเปลี่ยนมือกันได้อย่างไร……ซึ่งคำตอบก็จะอยู่ที่ ม.918 นั่นเอง……….ข้อสังเกต เราจะต้องทำความเข้าใจในส่วนนี้ให้ดีๆ นะครับ ….ถึงแม้ว่าจะไม่ออกสอบ ก็ตาม แต่ก็จะเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การโอนตั๋วนั้นขาดสาย หรือไม่ขาดสาย อย่างไร ……อันจะส่งผลไปถึงการเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย ตาม ม.905 หรือไม่ นั่นเอง

5. และเรื่องต่อไป ที่เราจะต้องทำความเข้าใจ ต่อไป ก็คือ ในเรื่องของการรับรอง……ซึ่งเราควรที่จะต้องรู้ว่า มีตั๋วใดบ่งที่จะต้องยื่นให้รับรอง และมีตั๋วใดบ้างที่ไม่จำต้องยื่นให้รับรอง……ซึ่งคำตอบ ก็จะอยู่ที่ ม.927 + ( ม.928 + ม.913(4) ) + ม.929……ความสำคัญในส่วนนี้จะส่งผลไปยัง ม.959(ข)(1) นั่นเอง กล่าวคือ ถ้าเป็นตั๋วประเภทตาม ม.913 (4) จะต้องยื่นให้รับรอง ตาม ม.928 + ม.927……ซึ่งเมื่อผู้ทรงได้ยื่นให้รับรอง และถ้าเขาไม่รับรอง ผู้ทรงจะต้องใช้สิทธิ ตาม ม.929 ทำการคัดค้าน…..แล้ว จะส่งผลตาม ม.959(ข)(1) ประกอบกับ ม.960……นั่นก็คือ ผู้ทรงมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บรรดาผู้สลักหลัง ผู้สั่งจ่าย หรือ บุคคลอื่นๆ ซึ่งจะต้องรับผิดตามตั๋ว นั่นเอง…….แต่ถ้าผู้ทรงไม่ได้ยื่นให้รับรองตั๋ว ภายในกำหนดเวลา ตาม ม.928 ก็ดี หรือ เมื่อเขาไม่รับรองแล้วผู้ทรงไม่ได้ทำการคัดค้าน ในกำหนดเวลา ตาม ม.929 + ม.960 ก็ดี ……ก็จะส่งผลโยงไปถึง ม.973 ( 2 ) กล่าวคือ เมื่อกำหนดเวลาสำหรับการรับรอง ก็ดี การคัดค้าน ก็ดี ได้ล่วงพ้นไปแล้ว…………ผู้ทรงย่อมสิทธิสิ้นไล่เบี้ยเอากับ ผู้สลักหลัง และ คู่สัญญาอื่นๆ ผู้ต้องรับผิดชอบ……( ในส่วนนี้ จะมีอยู่คนเดียวที่ไม่พ้นจากความรับผิด นั่นก็คือ ผู้รับรอง นั่นเอง…..จึงต้องระวังเอาไว้ด้วยนะครับ )

6. เรื่องต่อไปที่เราจะต้องทำความเข้าใจ ก็คือ การอาวัล ……ในส่วนนี้จะเริ่มมาจาก ม.921 นั่นเอง……( ดังนั้นเวลาทำข้อสอบ เราควรตรวจดูก่อนว่า ตั๋วเงินที่ข้อสอบถามนั้น เป็นตั๋วผู้ถือ หรือไม่ ก่อนเลย……ถ้าเป็น ก็ยิงไปที่ ม.921 ทันที…….ต่อจากนั้นก็โยงไปที่ ม.938 + ม.939 + ม.940 แล้วแต่กรณี )……เรื่องการอาวัลนี้ ถึงแม้ว่าจะมีมาตราที่เกี่ยวข้องกันเพียง 4 มาตราก็ตาม……แต่ก็นับว่าเป็นส่วนที่สำคัญมากส่วนหนึ่งที่เดียว…..ที่มักนำเอามาออกเป็นข้อสอบอยู่เสมอๆ……ดังนั้นจึงควรที่จะทำความเข้าใจในส่วนนี้ให้ดีๆนะครับ

7. เรื่องต่อมาที่เราควรต้องทำความเข้าใจ ก็คือ เรื่องการใช้เงิน……ซึ่งได้กล่าวเอาไว้ในหัวข้อที่ 4 แล้ว…..ก็ให้กลับไปดูตามนั้น

8. เรื่องต่อมาที่เราควรต้องทำความเข้าใจ ก็คือ สิทธิไล่เบี้ยเพราะเขาไม่รับรอง หรือ เขาไม่ใช้เงิน ของผู้ทรง ตาม ม.959……ซึ่งในส่วนนี้ผมได้เขียนกล่าวโยงไปให้เห็นแล้ว…..ตอนที่เขียนถึง เรื่องการรับรอง ในหัวข้อที่ 5…..ให้กลับไปดูได้เลยนะครับ……ในส่วนนี้สิ่งที่ควรดูประกอบไปด้วยเลย ก็คือ…8.1 ความรับผิดของบรรดาบุคคลผู้สั่งจ่าย ก็ดี ผู้รับรอง ก็ดี ผู้สลักหลัง ก็ดี ผู้อาวัล ก็ดี ตาม ม.967นั่น เอง…..ซึ่ง ม.967 จะเป็นตัวบอกว่า บรรดาผู้รับผิดดังกล่าว จะต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง…..และตัวผู้ทรงเอง ก็มีสิทธิที่จะเรียกให้ใครคนใดคนหนึ่งให้รับผิดตามตั๋วก็ได้……หรือ จะเรียกให้ทุกคนร่วมกันรับผิด ก็ได้…….8.2 การสิ้นสิทธิไล่เบี้ยของผู้ทรง ตาม ม.973……ซึ่งในส่วนนี้ผมได้เขียนอธิบายเอาไว้ในส่วนของการใช้เงิน ในหัวข้อที่ 7 ประกอบกับ หัวข้อที่ 4……และในหัวข้อที่ 6 ในเรื่องของการรับรอง แล้ว……ก็ให้กลับไปดูได้นะครับ……..8.3 การสิ้นสิทธิไล่เบี้ยของผู้ทรง ตาม ม.948 กล่าวคือ ถ้าหากว่า ตัวผู้ทรงยอมผ่อนเวลาให้แก่ผู้จ่ายแล้ว ท่านว่าตัวผู้ทรง ย่อมสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอากับตัวผู้เป็นคู่สัญญาคนก่อนๆ ที่มิได้ตกลงกับการผ่อนเวลานั้นด้วย……( แต่ยังคงมีสิทธิไล่เบี้ยเอากับคู่สัญญาที่ได้ตกลงในการผ่อนเวลานั้นด้วย นั่นเอง )……..8.4 การไม่มีสิทธิที่จะไล่เบี้ยของบรรดาผู้รับผิดทั้งหลาย……ซึ่งมาตราที่ให้คำตอบนี้ ก็คือ ม.971 นั่นเอง……...โดยหลักแล้ว ถ้าผู้รับผิดคนใดคนหนึ่งได้ชำระหนี้ให้แก่ผู้ทรงไปแล้ว……ผู้รับผิดคนนั้นย่อมที่จะไปไล่เบี้ยเอากับคนอื่นๆได้……แต่ถ้าเข้ากรณีตาม ม.971 แล้ว ท่านว่า ผู้รับผิดคนนั้น ก็หามีสิทธิที่จะไปไล่เบี้ยเอากับคนอื่นๆได้เลย……คนอื่นๆ ในที่นี้ ก็คือ คู่สัญญาฝ่ายที่ซึ่งผู้รับผิดคนนั้นจะต้องรับผิดต่อคู่สัญญาอยู่ก่อนแล้ว นั่นเอง……..8.5 การไม่อาจยกข้อต่อสู้ที่อาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลขึ้นมาต่อสู้ผู้ทรงได้ ของบรรดาผู้ถูกฟ้องตาม ม.916……ความเกี่ยวพันเฉพาะบุคลในที่นี้ ก็คือ ความเกี่ยวพันระหว่างผู้ถูกฟ้อง กับ ผู้สั่งจ่าย หรือ ระหว่างผู้ถูกฟ้อง กับ ผู้ทรงคนก่อนๆ นั่นเอง……โดยมีข้อยกเว้นอยู่ที่ว่า ถ้าการโอนตั๋วนั้นเกิดขึ้นมาด้วยการคบคิดกันฉ้อฉล……ผู้ถูกฟ้องก็ยังสามารถที่จะยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นมาต่อสู้กับผู้สั่งจ่าย หรือ ผู้ทรงคนก่อนๆได้……( ม.916นี้ออกสอบในสมัย 59 ที่ผ่านมานี้เอง……โดยออกโยงมาจากเรื่องผู้ทรง ตาม ม.904 + ม.904……แล้วโยงไปหาผู้อาวัล ตาม ม.921 + ม.940……หลังจากนั้นก็โยงมาหา ม.916 )

9. เรื่องท้ายสุด เราควรที่จะทำความเข้าใจถึงเรื่อง การจ่ายเงินนั้นเป็นการจ่ายเงินโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่……คำตอบก็จะอยู่ที่ ม. 949 กับ ม.1009……โดย ม.1009 จะอยู่ในส่วนของตั๋วหาย……( ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน ควรที่จะนำมารวมเอาไว้ในทีเดียวและดูคู่กันเสมอ )……เรื่องนี้จะเป็นเรื่องของผู้จ่ายเงินตามตั๋ว นั่นเอง…..โดยหลัก ตาม ม.949นี้ จะคุ้มครองผู้จ่ายเงินไม่ให้ต้องรับผิดตามตั๋ว…..ถ้าหากว่า ผู้จ่ายพิสูจน์ให้เห็นจริงได้ว่า ได้มีการสลักหลังติดต่อกันเรียบร้อยไม่ขาดสาย……( การที่จะดูว่าขาดสาย หรือไม่ขาดสาย….คำตอบจะอยู่ที่ ม.920 ประกอบกับ ม.905 )……ถ้าผู้จ่ายพิสูจน์ได้ว่า ตั๋วนั้นโอนมาโดยไม่ขาดสายได้แล้ว……ท่านว่า ผู้จ่ายย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดตามตั๋ว……( ในส่วนนี้ ผู้จ่ายเพียงแต่พิสูจน์ว่าตั๋วโอนมาไม่ขาดสายก็พอแล้ว…..ผู้จ่ายไม่จำต้องพิสูจน์ไปถึงลายมือชื่อของเหล่าผู้สลักหลัง แต่อย่างใดๆเลย )……แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าหากว่า……9.1 ผู้จ่ายทำการฉ้อฉล ก็ดี……9.2 ผู้จ่ายได้กระทำด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ก็ดี……ท่านว่า ผู้จ่ายก็ยังคงต้องรับผิดอยู่ไม่หลุดพ้น

จากที่ได้เขียนเกริ่นเอาไว้ข้างต้นนี้…..จะทำให้เราเห็นได้ว่าวิชาตั๋วเงินนั้น……จะเป็นเรื่องระหว่างตัวผู้สั่งจ่าย + ตัวผู้สลักหลัง + ตัวผู้อาวัล + ตัวผู้รับรอง + และตั๋วผู้จ่าย กับ ตัวผู้ทรงตั๋ว ……ว่าบุคคลเหล่านั้นจะต้องรับผิดตามตั๋ว หรือว่า ไม่ต้องรับผิดตามตั๋ว ต่อตัวผู้ทรง หรือไม่ เพียงใด อย่างไร นั่นเอง
ถ้าเราจะเจาะให้ลึกลงไปอีก เราก็สามารถเจาะได้ดังนี้
a ) ตัวผู้สั่งจ่าย……จะต้องรับผิด ซึ่งเราต้องอ้าง ม.914 + ม.967……และไม่ต้องรับผิดตาม ม.973……และไม่มีสิทธิไล่เบี้ย ตาม ม.971
b ) ตัวผู้สลักหลัง…… จะต้องรับผิด ซึ่งเราต้องอ้าง โดยเริ่มตั้งแต่ ม.900 + ม.914 + ม.967……และไม่ต้องรับผิด ตาม ม.973 ……แล้วก็ไม่มีสิทธิไล่เบี้ย ตาม ม.971…..และไม่อาจยกข้อต่อสู้ขึ้นต่อสู้กับผู้ทรง ตาม ม.916
c ) ตัวผู้อาวัล ……จะต้องรับผิด ซึ่งเราต้องอ้าง โดยเริ่มตั้งแต่ ม.900 + ม.921 + ม.938 + ม.939 + ม.940 + ม.967……และไม่ต้องรับผิด ตาม ม.973
d ) ตัวผู้รับรอง……จะต้องรับผิด ซึ่งเราต้องอ้าง โดยเริ่มตั้งแต่ ม. 900 + ม.967…….ส่วนในเรื่องไม่ต้องรับผิดนั้น ม.973 ไม่ได้ให้สิทธิเอาไว้ ผู้ทรงแม้ว่าจะสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอากับคนอื่นๆก็ตาม แต่ผู้ทรงก็ยังสามารถที่จะไล่เบี้ยเอากับผู้รับรองได้อยู่…….( ดังนั้น ถ้าหากว่าบุคคลนั้นเป็นผู้รับรองแล้ว……เราสามารถฟันธงได้เลยว่า จะต้องรับผิดเสมอ ไม่มีข้อยกเว้น )……และไม่มีสิทธิไล่เบี้ย ตาม ม.971
e ) ตัวผู้จ่าย……โดยหลักไม่ต้องรับผิดแต่อย่างใดเลย ตาม ม.949……ยกเว้น ผู้จ่ายไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นได้ว่า ได้มีการสลักหลังติดต่อกันเรียบร้อยโดยไม่ขาดสาย……หรือ ผู้จ่ายทำการฉ้อฉล หรือ ผู้จ่ายได้กระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง……ซึ่งถ้าเข้ากรณีเหล่านี้แล้ว ท่านว่า ผู้จ่ายจะต้องรับผิดชอบ…..หาหลุดพ้นจากความรับผิดนั้นไม่
f ) ส่วนตัวผู้ทรงนั้น……เราจะต้องไล่มาตั้งแต่การเป็นผู้ทรง ตาม ม.904 + ม.905……และการที่จะเกิดสิทธิไล่เบี้ย ตาม ม.959 ได้นั้น ต้นเหตุจะต้องเกิดมาจากผู้ทรงจะต้องนำตั๋วเงินนั้นไปให้ผู้จ่ายใช้เงินตามตั๋ว ตาม ม.941 + ม.943 + ม.944 แล้วแต่กรณีเสียก่อน แล้วผู้จ่ายไม่ใช้เงินตามตั๋ว หรือ ผู้ทรงจะต้องนำตั๋วเงิน ตาม ม.913(4)ไปให้ผู้จ่ายรับรอง ภายในกำหนดเวลาตาม ม.928 เสียก่อน แล้วผู้จ่ายไม่ได้รับรอง……( ซึ่งก็คือ กรณีใดกรณีหนึ่งที่ได้กำหนดเอาไว้ใน ม.959 นั่นเอง )…….ผู้ทรงจึงจะมีสิทธิไล่เบี้ย ตาม ม.959 + ม.967 ……และจะสิ้นสิทธิไล่เบี้ย ตาม ม.973……โดยตัวต้นเหตุก็จะเป็นกรณีใดกรณีหนึ่งตามที่ได้กำหนดเอาไว้ใน ม.973 นั่นเองและสิ้นสิทธิไล่เบี้ย ตาม ม.948

และถ้าเราจะสรุปขอบเขตและเนื้อหาที่สำคัญๆของวิชากฎหมายตั๋วแลกเงิน…..เราสามารถที่จะสรุปได้ดังนี้
1. ชุดหลักทั่วไป……ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.899 + ม.900
2. ชุดผู้ทรง……ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.904 + ม.905 + ม.927 + ม.928 + ม.929 + ม.941 + ม.943 + ม.944 + ม.948 + ม.959 + ม.967 + ม.973
3. ชุดผู้สลักหลัง……ม. ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.900 + ม.914 + ม.916 + ม.967 + ม.971 + ม.973
4. ชุดผู้อาวัล……ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.ม.900 + ม.916 + ม.921 + ม.938 + ม.939 + ม.940 + ม.967 + ม.973
5. ชุดผู้รับรอง……ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.900 + ม.927 + ม.928 + ม.929 + ม.967 + ม.971 + ม.973
6. ชุดผู้จ่าย……ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.949 + ม.1009
7. ชุดยกข้อต่อสู้ขึ้นสู้ผู้ทรง……ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.916
8. ชุดมาตราที่จะต้องดูเสริม……ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.913 + ม.917 + ม.918 + ม.919 + ม.920 + ม.925 + ม.926……( มาตราเหล่านี้ จะต้องดูเสริมเอาไว้เป็นพื้นฐาน เพื่อที่จะได้ปูพื้นไปทำความเข้าใจกับประเด็นอื่นๆได้ง่ายขึ้น )

ที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมดนั้น……จะเป็นในส่วนของตั๋วแลกเงิน……( ซึ่งในวิชาตั๋วเงินนั้น จะประกอบด้วย ตั๋วแลกเงิน + ตั๋วสัญญาใช้เงิน + เช็ค และ ตั๋วเงินปลอม + ตั๋วเงินถูกลัก + ตั๋วเงินหาย )

สำหรับในส่วนของ ตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น……เราควรที่จะทำความเข้าใจธรรมชาติของตั๋วสัญญาใช้เงินเอาไว้ให้ได้ก่อนว่า ตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นจะมีความแตกต่างไปจาก ตั๋วแลกเงิน อย่างไร……ซึ่งเราสามารถที่จะแยกความแตกต่างได้ดังนี้
1. ตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นไม่ต้องมีการรับรอง…….ดังนั้นจึงย่อมโยงไปถึงในส่วนที่ว่า ก็ย่อมไม่ต้องทำคำคัดค้าน ด้วยเช่นกัน……ว่า จะไม่มีการนำเอาส่วนของการรับรอง ตาม ม.927 – ม.937 ของตั๋วแลกเงิน……มาบังคับใช้ในตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่ผ่าน ม.985 แต่อย่างใดๆเลย เช่นกัน
2. ตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นจะไม่มีการสิ้นสิทธิไล่เบี้ย……ดังนั้นจึงไม่ต้องนำเอา ม.973 ของตั๋วแลกเงิน……มาบังคับใช้ในตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่ผ่าน ม.985 แต่อย่างใดๆเลย เช่นกัน……ยกเว้นแต่ว่า จะเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกมาแต่ต่างประเทศเท่านั้น……จึงจะต้องนำเอา ม.973ของตั๋วแลกเงิน……มาบังคับใช้ในตั๋วสัญญาใช้เงิน เพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้ โดยผ่าน ม.985
3. ตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น ถึงแม้ว่าผู้ทรงจะยอมผ่อนเวลาให้แก่ผู้จ่ายไปแล้วก็ตาม……แต่ผู้ทรงก็หาสิ้นสิทธิไล่เบี้ยแต่อย่างใดๆ……ดังนั้นจึงไม่ต้องนำเอา ม.948 ของตั๋วแลกเงิน……มาบังคับใช้ในตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่ผ่าน ม.985 แต่อย่างใดๆเลย เช่นกัน

เมื่อเรารู้เช่นนี้แล้ว…..นอกจากนั้นแล้วตั๋วสัญญาใช้เงินก็จะมีลักษณะและหลักการเช่นเดียวกับตั๋วแลกเงิน…..ดังนั้นถ้าออกในเรื่องของตั๋วสัญญาใช้เงินแล้ว……เราก็จะต้องนำเอาหลักกฎหมายบางมาตราของตั๋วแลกเงินมาใช้ด้วย……โดยผ่าน ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.985 นั่นเอง……ที่นี่เราก็มาดูว่าแล้วมีมาตราใดบ้างที่จะนำเอามาใช้…..ซึ่งถ้าเราจัดเป็นหมวดหมู่ก่อน ก็จะทำให้ง่ายต่อการจดจำ……1. ตั๋วถึงกำหนดเมื่อใด ตาม ม.913……2. การยกข้อต่อสู้ขึ้นสู้ผู้ทรง ตาม ม.916……3. การโอนตั๋ว ตาม ม.917 + ม.919 + ม.920……4. ในส่วนของการอาวัล ตาม ม.938 – ม.940……5.ในส่วนของการใช้เงิน ตาม ม.941 – ม.947……6. ในส่วนของการใช้เงินของผู้จ่าย ตาม ม.949……7. สิทธิในการไล่เบี้ยของผู้ทรง ตาม ม.959……8. ในส่วนของการรับผิด ตาม ม.967 – ม.971

ส่วนมาตราที่สำคัญอีกมาตราหนึ่ง ก็คือ ม.986……ซึ่งเป็นมาตราที่กำหนดให้ผู้ทรงตั๋วจะต้องยื่นตั๋วประเภทให้ใช้เงินในเวลาใดเวลาหนึ่งเมื่อได้เห็น……ภายในกำหนดเวลา 6 เดือนนับแต่วันที่ลงในตั๋ว……แต่มิได้กำหนดว่า ถ้าผู้ทรงตั๋วไม่นำไปยื่นภายในกำหนดผลจะเป็นอย่างไร…..ดังนั้นจึงไปเข้าข้อแตกต่างที่ 2 กล่าวคือ ผู้ทรงย่อมไม่สิ้นสิทธิไล่เบี้ย……( ไม่นำเอา ม.973 มาบังคับใช้ )……แต่ถ้าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกมาแต่ต่างประเทศนั้น……จะไม่ยื่นให้ใช้เงิน หรือ ไม่ยื่นเพื่อให้รับรอง……ย่อมจะตกอยู่ในบังคับของ ม.973 ( 1 ) โดยผ่าน ม.985……หรือ ถ้ายื่นให้ใช้เงินแล้ว แต่ถูกบอกปัดแล้งผู้ทรงไม่ได้ทำคำคัดค้าน……การไม่ทำคำคัดค้านนั้นย่อมเป็นการขัดต่อ ม.973 ( 2 ) โดยผ่าน ม.985……ผลท้ายสุด ก็คือ ผู้ทรงย่อมสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอากับบรรดาผู้รับผิดทั้งหลาย….ยกเว้นอยู่คนเดียวที่ไม่หลุดพ้น ซึ่งก็คือ ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน……( จำเอาไว้ว่า ในกรณีของตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น จะไม่มีการรับรองตั๋ว…..เมื่อไม่มีการรับรอง…..จึงย่อมไม่มีผู้รับรอง นั่นเอง )
ข้อควรระวังในส่วนนี้ ก็คือ เราจะต้องดูว่า ตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น เป็น 1. ตั๋วสัญญาใช้เงินในประเทศ หรือ 2. เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกแต่ต่างประเทศ……เพราะผลสุดท้ายของความรับผิดจะแตกต่างไปคนละทางเลยที่เดียว ……ดังที่ได้กล่าวเอาไว้ข้างต้นแล้วนะครับ

สำหรับในส่วนของ เช็ค นั้น……เราสามารถที่จะแยกพิจารณาออกเป็นชุดๆ ได้ดังนี้
1. ชุดแบบพิมพ์ของเช็ค……ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.987 + ม.988…….ในส่วนนี้มีข้อที่ควรระวังอยู่ตรงที่……ถ้าได้ออกเช็คโดยใช้แบบพิมพ์เช็ค ซึ่งมีรายการครบถ้วนสมบูรณ์ ตามลักษณะที่
ได้กำหนดเอาไว้ใน ม.987 + ม.988แล้ว……ย่อมต้องถือว่า เป็นเช็คโดยชอบ……ดังนั้นถึงแม้ว่าตัวผู้สั่งจ่ายจะไม่มีเงินในธนาคารก็ตาม……ผู้ทรงเช็ค ก็ยังฟ้องให้ผู้สั่งจ่าย และผู้สลักหลัง ให้รับผิดตามเช็คได้อยู่ นะครับ

2. ชุดให้นำบทบัญญัติในเรื่องตั๋วแลกเงินมาใช้ในเรื่องเช็คด้วย……..ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.989นับเป็นมาตราที่เป็นสะพานเชื่อมไปสู่ตั๋วแลกเงินที่สำคัญมาก……ที่ควรต้องสนใจนะครับ…..( เช่นเดียวกับ ม.985 )

3. ชุดการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงิน……ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.990……ในส่วนนี้ผู้ทรงเช็คจะต้องยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินภายในกำหนดเวลา 1 เดือนสำหรับเช็คที่ออกในเมืองเดียวกันกับธนาคารที่นำเช็คมาขึ้นเงิน……หรือ ภายใน 3 เดือน สำหรับเช็คที่ออกต่างเมืองกับธนาคารที่เป็นเจ้าของบัญชีซึ่งถ้าผู้ทรงไม่ได้ยื่นภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว……ผลก็คือ 1. ผู้ทรงสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอากับผู้สลักหลังทุกคน……ที่ควรระวัง ก็คือ ถ้าเป็นเช็คผู้ถือ…..บุคคลที่ได้สลักหลังเช็คผู้ถือ จะได้ชื่อว่า ” ผู้รับอาวัลผู้สั่งจ่าย ” นะครับ….( ไม่ได้ชื่อว่าเป็นผู้สลักหลัง )….ดังนั้นจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด ตาม ม.990 นี้นะครับ……( ที่จะหลุดพ้นตาม ม.990 นั้น ก็คือ ผู้สลักหลังในเช็คระบุชื่อเท่านั้น )……2. นอกจากนั้นแล้ว ผู้ทรงเช็ค ก็ยังสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอากับตัวผู้สั่งจ่ายอีกด้วยแต่จะหลุดพ้นเพียงเท่าที่เกิดความเสียหายจากการที่ละเลยไม่ยื่นเช็ค เท่านั้น นะครับ……และที่ควรระวังอีกจุดหนึ่ง ก็คือ ผู้สั่งจ่าย หรือ ผู้สลักหลังจะรับผิดตามเช็ค ก็ต่อเมื่อเช็คนั้นได้มายื่นให้ใช้เงินโดยชอบ……แล้วธนาคารไม่รับรอง หรือ ไม่ยอมใช้เงิน…..ทั้งนี้ตามที่ ม.914 และ ม.989 และ ม.990 ได้บัญญัติเอาไว้ด้วย……ดังนั้นถ้าหากว่า ธนาคารยังไม่ทันที่จะปฏิเสธการจ่ายเงิน……แล้วผู้ทรงได้นำคดีไปฟ้องผู้สั่งจ่าย ต่อศาล…..ดังนี้ ผู้สั่งจ่ายหายังต้องรับผิดชำระเงินตามเช็คนั้นไม่

4. ชุดอำนาจหน้าที่ของธนาคารในการจ่ายเงินตามเช็ค……ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.991 + ม.992…….ซึ่งในส่วนนี้ ม.991 จะเป็นกรณีของอำนาจหน้าที่ของธนาคารในการจ่ายเงินตามเช็คที่มีต่อผู้เคยค้า หรือ จะเป็นกรณีของอำนาจหน้าที่ของธนาคารในการจ่ายเงินตามเช็คที่มีต่อผู้สั่งจ่ายตามสัญญาฝากเงิน นั่นเอง……โดยที่ธนาคารจำต้องใช้เงินตามเช็คที่ผู้เคยค้า หรือ ที่ผู้สั่งจ่ายมีสัญญาฝากเงิน กับตน ได้ออกไปนั้น……แก่ผู้ที่นำเช็คมาขึ้นเงิน…….แต่ถ้าเข้ากรณีใดกรณีหนึ่งดังจ่อไปนี้ ท่านว่า ธนาคารสามารถที่จะงดการจ่ายเงินได้……ซึ่งได้แก่….1. ไม่มีเงินในบัญชีพอที่จะจ่ายตามเช็ค….2. เช็คนั้นยื่นมาเมื่อพ้น 6 เดือน นับแต่วันที่ออกเช็ค….3. ถ้าได้มีคำบอกกล่าวว่าเช็คนั้นหาย หรือ ถูกลักไป……ทั้ง 3 กรณีดังกล่าวถือว่าเป็นสิทธิตามกฎหมายที่ธนาคารมีอำนาจที่จะไม่จ่ายเงินตามเช็คนั้นก็ได้….แต่ถ้าจ่ายไปธนาคารก็ยังคงมีสิทธิที่จะไปไล่เบี้ยเอากับผู้สั่งจ่าย หรือ ผู้ฝากเงินได้อยู่……ข้อที่ควรระวัง ก็คือ ม.990 กับ ม.991 จะมีข้อที่แตกต่างกันอยู่นิดตรงที่ a ) การที่นำเช็คมายื่นให้ใช้เงิน เมื่อพ้น 6 เดือนไปแล้ว ตาม ม.991( 2 )นั้น……ธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้น ก็ได้……และการปฏิเสธดังกล่าว ก็ไม่ทำให้ผู้สั่งจ่ายพ้นจากความรับผิดไปได้……b ) เพราะการที่ผู้สั่งจ่ายจะหลุดพ้นจากความรับผิด หรือไม่นั้น…..เราจะต้องมาพิจารณาที่ ม.990 เท่านั้นนะครับ…..โดยเราจะมีหลักพิจารณาอยู่ 2 ขั้น ดังนี้….b 1 ) ขั้นนี้เป็นการพิจารณาว่า ผู้ทรงเช็ค ได้ยื่นเมื่อพ้นกำหนด 1 เดือน หรือ 3 เดือน หรือไม่……ถ้ายื่นเกินในขั้นนี้เราจะต้องก่อนว่า ผู้สั่งจ่ายเสียหาย หรือไม่ก่อน….ถ้าเสียหาย ผู้สั่งจ่ายจึงจะหลุดพ้นจากความรับผิด….แต่ก็หลุดพ้นเพียงเท่าที่ได้รับความเสียหายเท่านั้นนะครับ….แต่ถ้าไม่เสียหาย ผู้สั่งจ่ายก็ย่อมไม่หลุดพ้นจากความรับผิด นั่นเอง…… b 2 ) ในขั้นนี้เป็นการพิจารณาว่า ผู้ทรงเช็คได้นำมายื่นเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือนไปแล้ว และธนาคารก็ไม่จ่ายเงิน….ในขั้นนี้เราจะพิจารณาเพียงแต่ว่า ผู้ทรงสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอากับผู้สลักหลังทุกคน เท่านั้น ……….ส่วน ม.992 นั้น…..จะแตกต่างไปจาก ม.991 ตรงที่….ม.992 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดให้ธนาคารงดจ่ายเงินโดยเด็ดขาด……จะจ่ายเงินไม่ได้เลยถ้าเข้ากรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้…..1. มีคำบอกกล่าวห้ามการใช้เงิน….2. เมื่อรู้ว่า ผู้สั่งจ่ายตาย….3. เมื่อรู้ว่า ศาลได้มีคำสั่งรักษาทรัพย์ชั่วคราว หรือ ศาลสั่งให้ผู้สั่งจ่ายเป็นคนล้มละลาย…….และถ้าทางธนาคารฝ่าฝืน ม.992นี้ ผลก็คือ ทางธนาคารจะต้องรับผิดต่อลูกค้าเอาเอง……( ส่วน ม.991 นั้น ทางธนาคารมีดุลพินิจที่จะจ่ายให้ หรือ จะไม่จ่ายให้ ก็ได้ )

5. ชุดการรับรองเช็ค……ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.993……ซึ่งในส่วนนี้ความสำคัญจะอยู่ที่ผลที่มีต่อธนาคาร ตาม วรรค 1 และ ผลที่มีต่อผู้สั่งจ่ายกับผู้สลักหลังเมื่อมีการรับรองเช็ค ตาม วรรค 2 กับ วรรค 3.……โดยเราจะต้องแยกพิจารณาดังนี้….5.1 ถ้าธนาคารเป็นผู้รับรองเอง……ผลที่มีต่อธนาคาร ก็คือ ธนาคารจะต้องผูกพันในฐานะที่เป็นลูกหนี้ชั้นต้น……ในอันที่จะต้องใช้เงินแก่ผู้ทรง ตามเช็คนั้น……และเมื่อธนาคารอยู่ในฐานะของลูกหนี้ชั้นต้นแล้ว ท่านว่า ทางธนาคารจะยกเอาข้ออ้าง ตาม ม.991 กับ ม.992 ขึ้นมาอ้างเป็นข้อยกเว้นอีกไม่ได้แล้ว……5.2 ถ้าผู้ทรงเป็นผู้จัดการให้ธนาคารรับรอง…..ผลที่มีต่อผู้สั่งจ่าย กับผู้สลักหลัง ก็คือ ผู้สั่งจ่าย และผู้สลักหลังทั้งปวงต่างก็หลุดพ้นจากความรับผิดตามเช็คนั้น……5.3 และถ้าผู้สั่งจ่ายเป็นผู้จัดให้ธนาคารรับรอง……ผลก็คือ ผู้สั่งจ่าย กับ ผู้สลักหลัง ยังคงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด

6. ชุดเช็คขีดคร่อม……ม.ที่สำคัญๆ คือ ม.994 + ม.995 + ม.996 + ม.997 + ม.998 + ม.1000……โดยเราสามารถเรียงลำดับเนื้อเรื่องได้ดังนี้…..6.1 ชนิดของเช็ค……คำตอบจะอยู่ที่ ม.994…..ซึ่งผลของการขีดคร่อม ก็คือ จะต้องจ่ายเงินให้แก่ธนาคารเท่านั้น จะจ่ายเงินให้แก่ผู้ทรงเช็คไม่ได้เลย……6.2 ผู้มีอำนาจขีดคร่อม……คำตอบก็จะอยู่ที่ ม.995……6.3 การขีดคร่อมในส่วนสำคัญ……คำตอบจะอยู่ที่ ม.996……ในส่วนนี้คำว่า ” ลบล้าง ” นั้นจะหมายถึง การลบขีดคร่อมออกไป ก็ดี….การลบขีดคร่อมเฉพะให้กลายมาเป็นขีดคร่อมทั่วไป ก็ดี….การลบขีดคร่อมทั่วไปให้กลายเป็นไม่มีขีดคร่อม ก็ดี….ก็ล้วนแล้วแต่เรียกว่าเป็นการลบล้างทั้งสิ้น……ซึ่งผลของการลบล้างนั้นจะต้องเป็นไปตาม ที่ ม.1007 ได้กำหนดเอาไว้……กล่าวคือ การลบล้างนั้นย่อมเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญของตั๋วเงิน ( เช็ค )……ท่านว่า ตั๋วเงิน ( เช็ค )นั้นย่อมเสียไป……แต่จะยังคงใช้ได้เฉพาะกับตัวผู้ที่แก้ไขเปลี่ยนแปลง นั้น……หรือ จะใช้ได้เฉพาะกับผู้ที่ยินยอมในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น เท่านั้นเอง……ส่วนคนอื่นๆไม่ต้องผูกพันตามตั๋วเงิน ( เช็ค )นั้นแต่อย่างใดๆเลย……6.4 หน้าที่ของธนาคารในเช็คที่ขีดคร่อม……จะอยู่ที่ ม.997…..กล่าวคือธนาคารผู้จ่ายเงินมีหน้าที่ ที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามวิธีของเช็คขีดคร่อมด้วย……ถ้าหากว่าธนาคารผู้จ่ายปฏิบัติไม่ถูกต้องตามวิธีของเช็คขีดคร่อม….เช่น 6.4.1 จ่ายเงินในกรณีที่เป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะให้แก่ธนาคารหลายธนาคาร ก็ดี….6.4.2 ในกรณีที่เป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไป แล้วธนาคารผู้จ่ายได้ใช้เงินให้แก่บุคลอื่นที่ไม่ใช่ธนาคาร ก็ดี….6.4.3 ในกรณีที่เป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะ แล้วธนาคารผู้จ่ายได้จ่ายเงินไปให้แก่ธนาคารอื่นๆ ที่ไม่ใช่ธนาคารที่ระบุเอาไว้ในเช็คขีดคร่อม ก็ดี……ถ้าเข้ากรณีใดกรณีหนึ่งข้างต้น….ท่านว่า ธนาคารผู้จ่ายจะต้องรับผิดชอบต่อตัวเจ้าของที่แท้จริงแห่งเช็คนั้น…..ทั้งนี้ตามที่ ม.997 วรรค 2 บัญญัติเอาไว้………ข้อสังเกต….แต่อย่างไรก็ตาม ม. 997 วรรค 3 ก็ได้บัญญัติทางออกให้กับธนาคารผู้จ่ายเอาไว้ด้วยว่า ถ้าการลบล้างแก้ไขเปลี่ยนแปลงเช็คขีดคร่อมนั้นได้กระทำการอย่างแนบเนียน……จนทำให้ไม่ปรากฏร่องรอยว่าเป็นเช็คขีดคร่อม ก็ดี หรือ ไม่ปรากฏว่า มีรอยขีดคร่อมอันได้ลบล้างไปก็ดี……แล้วทางธนาคารก็ได้จ่ายเงินไป โดยสุจริตและไม่ได้ประมาทเลินเล่อ……กรณีเช่นนี้ท่านว่า ทางธนาคารพ้นจากความรับผิด หรือไม่ต้องมีหน้าที่รับใช้เงินที่จ่ายไปนั้นแต่อย่างใดๆเลย……..6.5 และในขณะเดียวกัน ถ้าหากว่า ธนาคารผู้จ่ายได้ปฏิบัติถูกต้องตามวิธีของเช็คขีดคร่อม….ผลก็คือ ธนาคารย่อมได้รับการคุ้มครอง…..ตำตอบจะอยู่ที่ ม.998……กล่าวคือ 6.5.1 ถ้าเป็นเช็คขีดคร่อมทั่วไป ทางธนาคารผู้จ่าย ก็ได้ใช้เงินให้แก่ธนาคารอันใดอันหนึ่ง ก็ดี……6.5.2 ถ้าเป็นเช็คขีดคร่อมเฉพาะ ทางธนาคารผู้จ่าย ก็ได้ใช้เงินให้แก่ธนาคารที่เขาเจาะจงขีดคร่อมให้จ่ายโดยเฉพาะ ก็ดี……6.5.3 ธนาคารผู้จ่ายได้ใช้เงินให้แก่ธนาคารตัวแทนเรียกเก็บของธนาคารนั้น ก็ดี……ท่านว่า ธนาคารที่จ่ายถูกต้องตามวิธีของเช็คขีดคร่อมดังกล่าว เป็นอันหลุดพ้น……และนอกจากนั้นก็ยังคุ้มครองไปถึงตัวผู้สั่งจ่ายอีกด้วย กล่าวคือ ผู้สั่งจ่าย ก็เป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิดไปด้วย……ผู้ทรงเช็คจะมาฟ้องรียกให้รับผิดอีกไม่ได้แล้ว…….6.6 ท้ายสุดนี้ ก็จะเป็นเรื่องของการคุ้มครองธนาคารที่เรียกเก็บ……คำตอบจะอยู่ที่ ม.1000 นั่นเอง….ซึ่งธนาคารเรียกเก็บในที่นี้ ก็คือ ธนาคารที่มีผู้เอาเช็คขีดคร่อมมายื่นเพื่อให้เรียกเก็บเงินมาเข้าบัญชีของผู้เรียกเก็บ นั่นเอง…..และถ้าธนาคารเรียกเก็บนั้น ได้กระทำโดยสุจริต แล้วก็ไม่ได้ประมาทเลินเล่อ กล่าวคือ ไม่รู้ว่า ผู้ทรงที่นำเช็คนั้นมายื่นมิใช่เจ้าของเช็คที่แท้จริง……ท่านว่า ธนาคารเรียกเก็บนั้นไม่ต้องรับผิดต่อเจ้าของเช็คที่แท้จริงนั้นแต่อย่างใดๆ……ข้อสังเกต ม. 998เป็นบทบัญญัติที่มุ่งคุ้มครองธนาคารผู้จ่าย ที่ได้จ่ายเงินให้แก่ธนาคารด้วยกัน……ส่วน ม.1000นั้นจะเป็นบทบัญญัตที่มุ่งคุ้มครองธนาคารผู้เรียกเก็บ นั่นเอง

7. ชุดอายุความ……ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.1001 + ม.1002 + ม.1003 + ม.1004 + ม.1005
ข้อสังเกต……7.1 ม.1001 นั้นจะเป็นเรื่องฟ้องผู้รับรองตั๋วแลกเงิน หรือ ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน….ซึ่งจะใช้อายุความ 3 ปี…..โดยอายุความจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ตั๋วถึงกำหนดใช้เงิน…..( และตั๋วจะถึงกำหนดใช้เงินเมื่อใด เราจะต้องไปพิจารณาจาก ม.913 นั่นเอง )……7.2 ม.1002นั้นจะเป็นกรณีที่ผู้ทรงฟ้องผู้สลักหลัง กับผู้สั่งจ่าย…..ซึ่งจะใช้อายุความ 1 ปี……โดยอายุความจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ลงในคำคัดค้าน ในกรณีที่เป็นตั๋วชนิดที่ต้องมีคำคัดค้าน หรือ เริ่มนับตั้งแต่วันที่ตั๋วเงินถึงกำหนด ในกรณีที่มีข้อกำหนดเอาไว้ว่า “ไม่จะต้องมีคำคัดค้าน ”……และผู้ทรง ตาม มาตรานี้ จะต้องเป็นผู้ทรงในขณะที่ฟ้องด้วย นะครับ……7.3 ม.1003 นั้น จะเป็นกรณีที่ผู้สลักหลังฟ้องไล่เบี้ยกันเอง และฟ้องไล่เบี้ยเอากับผู้สั่งจ่ายด้วย……ซึ่งจะใช้อายุความ 6 เดือน….โดยอายุความจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้สลักหลังเข้าถือเอาตั๋วเงินและได้ใช้เงินตามตั๋ว หรือ จะนับตั้งแต่วันที่ผู้สลักหลังนั้นเองถูกฟ้อง …….ข้อที่ควรระวัง ในกรณีของผู้รับอาวัลที่ถูกฟ้องนั้น….จะใช้อายุความอย่างไรนั้น ก็ต้องดูว่า ได้เข้าไปรับอาวัลใคร กล่าวคือ a ) ถ้าเข้าไปรับอาวัลผู้สั่งจ่าย….ก็จะใช้อายุความ 1 ปี ตาม ม.1002…..b ) แต่ถ้าเข้าไปรับอาวัลผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน…..ก็จะใช้อายุความ 3 ปี ตาม ม.1001………..7.4 ม.1004 นั้น จะเป็นเรื่องอายุความสะดุดหยุดลง……ซึ่งจะมีหลักอยู่ว่า จะสะดุดหยุดลงเฉพาะแต่คู่สัญญาฝ่ายนั้นเท่านั้น….จะไม่รวมไปถึงคู่สัญญาคนอื่นๆด้วย…..ต.ย.เช่น ถ้าตัวของผู้สั่งจ่ายเป็นผู้ทำให้อายุความสะดุดหยุดลง…..ก็จะมีผลสะดุดหยุดลงก็แต่เฉพาะแค่ตัวผู้สั่งจ่ายเท่านั้น…..จะไม่รวมไปถึงผู้รับอาวัล ด้วย……ในทำนองเดียวกัน ถ้าผู้รับอาวัล เป็นคนทำให้สะดุดหยุดลง…….ก็จะมีผลเฉพาะตัวผู้อาวัล….จะไม่มีผลไปถึงตัวผู้สั่งจ่าย ……ส่วนเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงมีอะไรบ้างนั้น เราจะต้องกลับไปดูที่ ม.193 / 14 นั่นเอง……และผลของอายุความสะดุดหยุดลง ก็คือ ระยะเวลาที่ล่วงไปแล้วไม่นับเข้ามาในอายุความ……และเมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงหมดไปแล้ว ท่านว่า จะต้องเริ่มอายุความใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้เดิม….โดยจะเริ่มนับใหม่ตั้งแต่เวลาที่เหตุนั้นหมดลง……ในกรณีที่มีการผ่อนชำระหนี้หลายครั้ง ท่านว่าจะถือเอาการชำระหนี้ครั้งสุดท้าย….เป็นตัวเริ่มต้นนับอายุความ………7.5 ส่วน ม. 1005 นั้น เป็นเรื่องที่ว่า ถึงแม้ว่าสิทธิตามตั๋วเงินจะสิ้นไปเพราะอายุความ….แต่ท่านว่า หนี้เดิมก็จะยังคงมีอยู่….( นั่นก็หมายความว่า สิทธิที่จะฟ้องตามมูลหนี้เดิม ยังคงมีอยู่เช่นเดิม นั่นเอง )

8. ชุดตั๋วปลอม……ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.1006 + ม.1007 + ม.1008…….ในส่วนนี้จะมีข้อสังเกตดังต่อไปนี้……8.1 ตั๋วเงินปลอมนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท กล่าวคือ ……… 8.1.1 ตั๋วปลอมข้อความ ตาม ม.1007………และ 8.1.2 ตั๋วปลอมลายมือชื่อ ตาม ม.1106 + ม.1008……..8.1.1 ตั๋วปลอมข้อความ ตาม ม.1007 นั้น เราสามารถทำสายไล่ได้ดังต่อไปนี้8.1.1.1 เราจะต้องดูก่อนว่า ตั๋วเงินนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลงข้อความโดยผู้ที่ไม่มีอำนาจ…..และ การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อความที่เป็นสาระสำคัญ โดยที่คู่สัญญาไม่ยินยอม หรือไม่……ถ้าคำตอบคือ “ ไม่ ” ผลก็คือ ตั๋วเงินนั้นเป็นอันใช้ได้….( กรณีไม่เข้า ตาม ม.1007 )…แต่ถ้าคำตอบออกมาว่า ” ใช่ ”….ก็ให้ดูที่ข้อ 8.1.1.2 ต่อไป…….8.1.1.2 เมื่อคำตอบออกมาว่า ” ใช่ ”……เราก็จะต้องดูต่อไปว่า การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความที่เป็นสาระสำคัญดังกล่าวนั้น เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบประจักษ์….( คือ เป็นการเห็นได้ชัดเจนว่ามีการแก้ไข )….. หรือ….เป็นแบบไม่ประจักษ์….( คือ เป็นการแก้ไขที่แนบเนียน ไม่สามารถรู้ได้ว่ามีการแก้ไข ) ……ถ้าเป็นกรณีแก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบประจักษ์……ท่านว่า ตั๋วเงินนั้นย่อมเสียไปใช้ไม่ได้…..( เสียไปใช้ไม่ได้กับคู่สัญญาที่มีอยู่ก่อนการแก้ไขเปลี่ยนแปลง )……แต่ยกเว้นจะใช้ได้กับบุคคล 3 ประเภท ดังต่อไปนี้อยู่เสมอ กล่าวคือ a ) ยังใช้ได้กับ ตัวผู้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น….( โดยใช้ได้ตามข้อความที่ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น )……b ) ยังใช้ได้กับคู่สัญญาที่ยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น….( โดยต้องผูกพันตามข้อความที่ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นด้วย )……c ) ยังใช้ได้กับ ผู้ที่ได้สลักหลังภายหลังจากที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงแล้ว….( โดยจะต้องรับผิดตามข้อความที่ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น )……..แต่ถ้าเป็นการแก้ไขแบบไม่ประจักษ์ ก็ให้ไปดูที่ข้อ 8.1.1.3 ต่อไป…….8.1.1.3 ถ้าเป็นการแก้ไขแบบไม่ประจักษ์แล้วล่ะก็……ท่านว่า นอกจากที่ผู้ทรงจะเรียกได้จากบุคล 3 ประเภทดังกล่าว…..ซึ่งเรียกได้ตามข้อความที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงแล้ว……ผู้ทรงยังสามารถที่จะเรียกได้จากบุคคลที่เป็นคู่สัญญาก่อนที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้อยู่…….แต่เราต้องระวังในจุดนี้อยู่นิดหนึ่งว่า ผู้ทรงสามารถที่จะบังคับเรียกได้แค่ตามเนื้อความเดิมแห่งตั๋วครั้งแรกที่ยังมิได้มีการแก้ไข เท่านั้นนะครับ……( ในส่วนนี้ไม่ได้ออกมานานมากแล้วดังนั้นจึงควรให้ความสนใจเอาไว้บ้างก็ดีนะครับ )…..( และพยายามไล่สายตามที่ผมวางเอาไว้ให้ได้นะครับ …..เพราะจะทำให้ง่ายต่อแยกประเด็น ง่ายต่อการทำความเข้าใจ )………8.1.2 ตั๋วปลอมลายมือชื่อ ตาม ม.1006 + ม.1008 นั้น……จะมีหลักในการพิจารณาดังต่อไปนี้………..8.1.2.1 เราจะต้องวางหลักของตั๋วปลอมลายมือชื่อเอาไว้ก่อน กล่าวคือ “ ตั๋วปลอมลายมือชื่อนั้น จะเสียไปเฉพาะลายมือชื่อที่ปลอมเท่านั้น….ส่วยลายมือชื่ออื่นๆไม่เสียไปด้วย ”……ซึ่งในส่วนนี้ส่วนที่เสียไป ก็คือ ลายมือชื่อปลอม กับ ลายมือชื่อที่ลงไว้โดยที่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของลายมือชื่อนั้นมิได้มอบอำนาจให้ลง นั่นเอง…..ทั้งนี้ตามที่ ม.1006 ได้บัญญัติเอาไว้ว่า ลายมือชื่อปลอม ย่อมไม่กระทบกระทั่งไปถึงความสมบูรณ์แห่งลายมือชื่ออื่นๆในตั๋วเงินนั้น……..8.1.1.2 หลังจากนั้นเราจะต้องไปดูว่า และในเมื่อลายมือชื่อที่ไม่ปลอมนั้นยังใช้ได้อยู่แล้วจะมีใครต้องรับผิด และจะต้องรับผิดต่อใคร…….ซึ่งคำตอบจะอยู่ที่ ม.1008 นั่นเอง……โดย ม.1008 จะวางหลักเอาไว้ว่า ตั๋วเงินที่มีลายมือชื่อปลอม หรือ ได้ลงเอาไว้โดยไม่มีอำนาจนั้น……ท่านว่า ใครจะแสวงสิทธิจากลายมือชื่อปลอมนั้นไม่ได้……8.1.1.3 ซึ่งสิทธิที่ห้ามมิให้แสวงนั้น ตะมีอยู่ 3 ประการด้วยกัน กล่าวคือ a ) ห้ามแสวงสิทธิเพื่อยึดหน่วงตั๋วเงินเอาไว้…….ในกรณีนี้ถ้าเจ้าของตั๋วที่แท้จริงมาเรียกตั๋วเงินคืน ท่านว่าผู้ทรงจะต้องคืนตั๋วเงินนั้นให้แก่เจ้าของที่แท้จริง……จะยึดหน่วงเอาไว้ไม่ได้ เพราะว่าจะเป็นการแสวงสิทธิเพื่อยึดหน่วงตั๋วเงิน นั่นเอง……b ) ห้ามมิให้แสวงสิทธิเพื่อทำให้ตั๋วหลุดพ้น ( คือ หลุดพ้นจากความรับผิด นั่นเอง )……ในกรณีนี้ จะมีข้อควรระวังตรงที่……การที่ธนาคารได้ใช้เงินตามเช็คไปแล้ว ให้ถือว่า เป็นการแสวงสิทธิเพื่อทำให้ตั๋วหลุดพ้น ต้องห้าม ตาม ม.1008……แต่อย่างไรก็ตาม ในกรณีนี้ทางธนาคารสามารถนำเอา ม.1009 มาอ้างเพื่อให้ตนพ้นจากความรับผิดนี้ได้…..( แต่จะอ้าง ม.1008 เพื่อให้ตนพ้นผิด ไม่ได้ )……c ) ห้ามมิให้แสวงสิทธิจากลายมือชื่อปลอม เพื่อบังคับการใช้เงิน……ในกรณีนี้เป็นการห้ามไม่ให้ผู้ทรงไปเรียกให้บุคคลที่อยู่ก่อนลายมือชื่อปลอมมาใช้เงินเพราะจะเป็นการแสวงสิทธิจากลายมือชื่อปลอม ไปเพื่อบังคับการใช้เงิน นั่นเอง……แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นการเรียกให้บุคคลที่อยู่หลังลายมือชื่อปลอม มาใช้เงิน…..ดังนี้ ผู้ทรงสามารถทำได้ไม่ต้องห้าม……….8.1.1.4 แต่อย่างไรก็ตาม กฎหมายก็ได้บัญญัติข้อยกเว้นเอาไว้ 3 ประการด้วยกัน……ที่สามารถที่จะแสวงสิทธิจากลายมือชื่อปลอมนั้นได้ กล่าวคือ d ) ถ้าเข้าบทบัญญัติ ม.949 กับ ม.1009…..โดย ม.949 จะเป็นเรื่องที่ลูกหนี้ในตั๋วเงิน ได้ใช้เงินให้แก่ผู้ทรงไปเมื่อตั๋วถึงกำหนดใช้เงินแล้ว โดยปราศจากการฉ้อฉล หรือ ปราศจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง…..แม้ว่า ลายมือชื่อของผู้สลักหลังคนใดคนหนึ่งจะเป็นลายมือชื่อปลอม ก็ตาม…..แต่ถ้าการสลักหลังนั้นไม่ขาดสาย ท่านว่า ก็จะทำให้ธนาคารผู้ใช้เงิน นั้นหลุดพ้นจากความรับผิด…..( ซึ่งก็หมายความว่า ให้ธนาคารแสวงสิทธิจากลายมือชื่อปลอมนั้นได้ นั่นเอง )……แต่ข้อควรระวังในกรณีนี้ ก็คือ จะต้องเป็นกรณีที่ตั๋วเงินนั้นไม่ขาดสายด้วย……ดังนั้นถ้าตั๋วนั้นขาดสาย อย่างนี้ ก็จะแสวงสิทธิจากลายมือชื่อปลอมไม่ได้นะครับ……ส่วน ม.1009 นั้นจะเป็นกรณีทางธนาคารได้ใช้เงินไปตามทางการค้าโดยสุจริต โดยไม่ประมาทเลินเล่อ……แม้ว่าสลายมือชื่อนั้นจะเป็นลายมือชื่อปลอม ก็ตาม…..ท่านว่าทางธนาคารก็ยังสามารถที่จะเอาเงอนในบัญชีของผู้สั่งจ่ายได้อยู่…..( ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ให้ทางธนาคารแสวงสิทธิจากลายมือชื่อปลอมได้ นั่นเอง )…….e ) ถ้าคู่สัญญาที่ถูกบังคับให้ใช้เงินนั้น อยู่ในฐานะของผู้ตัดบท…………ซึ่งผู้ตัดนทในที่นี้ก็คือ ผู้ที่ปลอมลายมือชื่อ……ผู้ที่ยินยอมกับการปลอมลายมือชื่อ…..ผู้ที่สลักหลังภายหลังจากที่มีการปลอมลายมือชื่อแล้ว นั่นเอง…..โดยบุคคลเหล่านี้จะยกเอาลายมือชื่อปลอม มาอ้างเพื่อให้ตนพ้นจากความรับผิด ไม่ได้……ท่านว่าผู้ทรงยังคงเรียกให้บุคคลเหล่านี้รับผิดตามตั๋วได้อยู่…… f ) ถ้าเจ้าของลายมือชื่อให้สัตยาบันแก่ลายมือชื่อ ที่ได้ลงโดยปราศจากอำนาจ……ดังนี้จึงเท่ากับว่า ลายมือชื่อนั้นกลายเป็นลายมือชื่อที่แท้จริงของเจ้าของไป โดยการให้สัตยาบัน นั่นเอง…..ดังนี้ จึงแสวงสิทธิจากลายมือชื่อนั้นๆได้

9. ชุดการใช้เงินของธนาคารผู้จ่าย……ม. ที่สำคัญ ก็คือ ม.1009…..ในส่วนนี้ควรที่จะต้องดูคู่กับ ม.949 ในตั๋วแลกเงิน……นอกจากนี้ ก็ยังเป็นบทยกเว้นของการห้ามแสวงสิทธิจากลายมือชื่อปลอม หรือ ลงโดยปราศจากอำนาจ ตาม ม.1008 ด้วย…..( ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ในหัวข้อย่อย (d ) )

10. ชุดตั๋วถูกลัก และตั๋วหาย……ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.1010 + ม.1011…….ในส่วนนี้ก็ไม่ได้ออกมานานแล้วเช่นกัน……( ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจเอาไว้ด้วยนะครับ ) ……..ในส่วนนี้ เราควรที่จะพิจารณา เป็นลำดับดังต่อไปนี้ 10.1 ) เราจะต้องดูก่อนว่า เมื่อตั๋วเงินหาย หรือ ถูกลักไปแล้ว ผู้ทรงตั๋วมีหน้าที่อย่างไรบ้าง……ซึ่งในส่วนนี้ คำตอบจะอยู่ที่ ม.1010 กล่าวคือ ผู้ทรงตั๋วเงิน จะต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้ออกตั๋ว….ผู้จ่าย….และผู้สมอ้างยามประสงค์….ผู้รับรอง….และผู้รับอาวัล…..( กฎหมายกำหนดให้ผู้ทรงต้องแจ้งให้ทราบทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ในตั๋วเงิน )…..ทั้งนี้ก็เพื่อให้บุคคลเหล่านั้นบอกปัดไม่ให้ใช้เงินตามตั๋วเงินที่หาย หรือ ถูกลักนั้น……10.2 ) หลังจากนั้นเราจึงค่อยมาดูต่อไปว่า ผลของการที่ผู้ทรงได้แจ้ง หรือ ไม่ได้แจ้ง เรื่องตั๋วเงินหาย หรือ ถูกลัก นั้นเป็นอย่างไร……ซึ่งคำตอบก็คือ a ) ถ้าผู้ทรงได้แจ้งแล้ว…..ลูกหนี้ที่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินนั้น ชอบที่จะงดการจ่ายเงิน…..ถ้าหากฝืนจ่ายเงินไป ก็ต้องรับผิดต่อผู้ทรง…..ในกรณีของเช็ค นั้น ….จะมีข้อควรระวังก็คือ ธนาคารมีสิทธิ ตาม ม.991 (3) ในการจ่ายเงินไปก็ได้ นะครับ….ดังนั้นเราจึงต้องดูต่อไปอีกว่า ทางธนาคารได้ใช้สิทธิตาม ม.991(3) นั้น ไปโดยสุจริต หรือ ประมาทเลินเล่อ หรือ ไม่ด้วย …..ซึ่งถ้าใช้ไปโดยไม่สุจริต หรือ ใช้สิทธินั้นโดยประมาทเลินเล่อ…..ท่านว่า ทางธนาคารก็จะต้องรับผิดต่อผู้สั่งจ่าย ….และจะต้องรับผิดต่อเจ้าของเช็คที่แท้จริงด้วย……( แต่ถ้าใช้โดยสุจริต และก็ไม่ประมาท….ผลก็คือ พ้นจากความรับผิดทั้งปวง นั่นเอง )…… b ) แต่ถ้าผู้ทรงตั๋ว ไม่ได้แจ้งให้ทราบ…..ผลก็คือ ถ้าผู้จ่ายคือธนาคารได้ใช้เงินไปแล้ว จะถือว่า ธนาคารผู้จ่ายประมาทเลินเล่อไม่ได้…..ยกเว้นแต่ว่า ผู้ทรงจะพิสูจน์ได้ว่า ธนาคารผู้จ่ายรู้อยู่แล้วว่าตั๋วนั้นหาน หรือ ถูกลัก แล้วยังฝืนจ่ายเงินให้ไป…..ดังนี้ ธนาคารผู้จ่ายจะต้องรับผิดต่อเจ้าของตั๋วที่แท้จริงอยู่…..10.3 ) ท้ายสุดเราจึงมาดูว่า สิทธิของผู้ทรงตั๋วเมื่อตั๋วเงินหาย หรือ ถูกลัก นั้นเป็นอย่างไร……ซึ่งคำตอบจะอยู่ที่ ม.1011 นั่นเอง……โดยม.1011จะให้สิทธิแก่ผู้ทรงตั๋วเงินหาย หรือ ถูกลัก ดังต่อไปนี้……c ) ผู้ทรงมีสิทธิที่จะร้องขอให้ผู้สั่งจ่ายตั๋วเงิน…ให้ออกตั๋วเงินเป็นเนื้อความอย่างเดียวกับตั๋วหาย หรือ ถูกลัก นั้น….ให้แก่ตนใหม่……d ) และถ้าผู้สั่งจ่ายไม่ยอมออกตั๋วใหม่ให้…..ผู้ทรงมีสิทธิที่จะไปฟ้องต่อศาล เพื่อขอให้ศาลบังคับได้……e ) และถ้าผู้สั่งจ่ายมีความประสงค์ที่จะให้ผู้ทรงวางประกันไว้ เพื่อทดแทนในการที่เขาจะต้องเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดในกรณีที่ตั๋วหาย หรือถูกลักไปนั้นกลับหาได้ในภายหลัง…..ท่านว่าผู้ทรงก็จะต้องให้หลักประกันแก่เขาด้วย

ไม่มีความคิดเห็น: