สำรองห้องพักโรงแรมพร้อมส่วนลด

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

ข้อที่ 5 จะเป็นกฎหมาย ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ ยืม……ม.640 – ม.656 , ค้ำประกัน……ม.680 – ม.701 , จำนอง……ม.702 – ม.746 , จำนำ……ม.747 – ม.769

ในส่วน กฎหมาย ยืมนั้น.....จะมีขอบเขตและเนื้อหาที่เราสามารถแบ่งเป็นชุดๆ ได้ดังต่อไปนี้
5.1.1 ชุดยืมใช้คงรูป……ม. ที่สำคัญๆ ก็คือ ( ม.640 + ม.641 ) + ( ม.643 + ม.644 + ม.645 ) + ม.646……โดยมีข้อสังเกตดังนี้ 1. สัญญายืมใช้คงรูป จะสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อได้มีการส่งมอบทรัพย์ที่ให้ยืม……2. สัญญายืมใช้คงรูป เป็นสัญญาที่มิได้มุ่งโอนกรรมสิทธิ์ ดังนั้นถ้าทรัพย์ที่ให้ยืมนั้นสูญหาย หรือบุบสลายไป จนทำให้การชำระหนี้คือ การส่งมอบทรัพย์สินคืนให้แก่ผู้ให้เช่า เป็นพ้นวิสัย……จะต้องนำเอา ม.372 มาปรับใช้โดยอนุโลม……3. ผู้ยืมจะต้องมีหน้าที่ ที่จะใช้ทรัพย์สินที่ยืมไปนั้น ตามปกติแห่งการใช้ ผู้ยืม จะนำไปใช้อย่างอื่นนอกจากการอันเป็นปกตินั้น ไม่ได้……ซึ่งถ้าผู้ยืมฝ่าฝืน ไม่ได้ปฏิบัติตาม ……ผลก็คือ นอกจากผู้ยืมจะต้องรับผิดชอบในการสูญหาย หรือ บุบสลาย ที่เกิดขึ้นนั้น แม้ว่า จะเกิดขึ้นเพราะเหตุสุดวิสัย ก็ตาม ตาม ม.643 แล้ว…..ผู้ให้ยืมก็ยังสามารถที่จะบอกเลิกสัญญา จากการที่ผู้ยืมฝ่าฝืน ม.643 นั้นได้ด้วย โดยผลของ ม.645……4. ผู้ยืม จะต้องมีหน้าที่สงวนทรัพย์สินที่ยืมไปดังเช่นวิญญูชน ตาม ม.644……ถ้าผู้ยืมฝ่าฝืน ท่านว่า ผู้ให้ยืมมีสิทธิบอกเลิกสัญญายืมนั้นได้ โดยผลของ ม.645……5. ในการคืนทรัพย์สินที่ยืมนั้น ถ้ามิได้กำหนดเวลากันไว้ และก็ไม่ได้ปรากฏในสัญญาว่ายืมไปใช้เพื่อการใด…..ท่านว่า ผู้ให้ยืม จะเรียกทรัพย์สินที่ให้ยืมไปเมื่อใดก็ได้…..( ถ้าผู้ยืมไม่คืน จะถือว่าผู้ยืมผิดนัดชำระหนี้ นั่นเอง ซึ่งถ้าการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย จะต้องนำเอา ม.372 มาปรับใช้ กับกรณีนี้ )……6. และถ้ามิได้กำหนดเวลาเอาไว้ แต่ได้ปรากฏในสัญญาว่ายืมไปใช้เพื่อการใด……ท่านว่า ผู้ยืมจะต้องคืนทรัพย์สินที่ยืมนั้น เมื่อผู้ยืมได้ใช้สอยทรัพย์สินนั้นเสร็จแล้ว ตามการที่ปรากฏในสัญญา…..และถ้าผู้ยืมไม่ได้คืน ก็จะถือว่าผู้ยืมผิดนัดชำระหนี้ และถ้าการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย ก็จะนำเอา ม.372 มาปรับใช้เช่นกัน
5.1.2 ชุดยืมใช้สิ้นเปลือง……ม. ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.650 + ม.653 + ม.654 + ม.655 + ม.656…….ในส่วนนี้ให้เน้นที่ ม.653…..ส่วน มาตราที่เหลือ ก็ดูให้พอรู้ว่าเป็นเรื่องอะไร เพื่อไม่ให้เกิดหลุม ก็พอแล้ว…….ในส่วนของการกู้ยืมเงินนั้น จะมีข้อสังเกตดังนี้ 1. สัญญากู้ยืมเงินนั้น จะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้มีการส่งมอบเงินที่กู้ยืม……2. การกู้ยืมเงิน ตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไปนั้น อย่างน้อย จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ที่ลงลายมือชื่อผู้กู้ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้……( ดังนั้นในกรณีนี้ ข้อสอบมักจะออกในทำนองที่ว่า เป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน หรือไม่ …..ถ้าเป็น ก็มีหลักฐานเป็นหนังสือ…..ถ้าไม่เป็น ก็ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ นั่นเอง……ด้วยเหตุนี้ จึงต้องทำความเข้าใจตรงจุดนี้ให้จงดี นะครับ )……..3. ม.653 จะนำเอามาใช้เฉพาะที่เป็นการฟ้องขอให้บังคับชำระหนี้ ตาม สัญญากู้ยืมเงินเท่านั้น……ดังนั้นถ้าเป็นการฟ้องให้ชำระหนี้ ตามมูลหนี้อื่นๆ เช่น ฟ้องให้ชำระหนี้ตั๋วเงินที่ออกมาเพื่อชำระหนี้ตามสัญญากู้……กรณีเช่นนี้ ไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ก็ฟ้องร้องบังคับคดีได้……4. หลักฐานเป็นหนังสือนั่นจะมีขึ้นภายหลังการทำสัญญากู้ยืม ก็ได้…..แต่จะต้องมีก่อนที่จะฟ้องร้องบังคับคดี……5. การกู้ยืมเงินที่ไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ……นอกจากจะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้แล้ว ก็ยังจะยก หรือ ใช้เป็นข้อต่อสู้ในคดี ไม่ได้อีกด้วย……6. ในกรณีที่คิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด……ให้ดอกเบี้ยที่คิดเกินอัตรานั้น ตกเป็นโมฆะทั้งหมด……ส่วนต้นเงินไม่ตกเป็นโมฆะ

ในส่วน กฎหมาย ค้ำประกัน นั้น.....จะมีขอบเขตและเนื้อหาที่เราสามารถแบ่งเป็นชุดๆ ได้ดังต่อไปนี้
5.2.1 ชุดหลักทั่วไป……ม. ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.680 + ม.681 + ม.682 + ม.683 + ม.685…….ในส่วนนี้ จะมีข้อสังเกตดังนี้ 1. ม.682 กับ ม.685 เพิ่งออกเป็นข้อสอบในสมัยที่ 59 นี้เอง……2. สัญญาค้ำประกัน นั้นจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ อย่างใดอย่างหนึ่งที่ลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันด้วย…….จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้……2. สัญญาค้ำประกัน เป็นสัญญาอุปกรณ์ ดังนั้นสัญญาประธานจะต้องสมบูรณ์ สัญญาค้ำประกันจึงจะสมบูรณ์ด้วย……3. ผู้ค้ำประกันจะต้องเป็นบุคคลภายนอก……และการที่บุคคลภายนอกผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ อันจะเป็นสัญญาค้ำประกันนั้น……ท่านว่า บุคคลภายนอกจะต้องระบุว่า “ ผูกพันตนเพื่อการชำระหนี้ ”ลงในสัญญาด้วย…..ดังนั้นถ้าไม่ได้ระบุว่า จะชำระหนี้เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ท่านว่า สัญญาดังกล่าว ย่อมไม่ใช่สัญญาค้ำประกัน…….3. และถ้าไม่จำกัดความรับผิดเอาไว้ ท่านว่า ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดนอกจากหนี้หลักแล้ว + ยังต้องรับผิดในดอกเบี้ย + ค่าสินไหมทดแทนที่ค้างชำระ + และค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ด้วย…….ทั้งนี้เป็นไปตามที่ ม.683ได้บัญญัติเอาไว้ นั่นเอง……4. เมื่อบังคับตามสัญญาค้ำฯแล้วไปแล้ว ถ้าผู้ค้ำฯชำระหนี้ไม่ครบ ท่านว่าลูกหนี้ยังคงต้องรับผิดในส่วนที่เหลือนั้นอยู่เช่นเดิม……ทั้งนี้เป็นไปตาม ที่ ม.685 บัญญัติเอาไว้
5.2.2 ชุดผลก่อนที่ผู้ค้ำประกันจะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้……ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.686 + ม.687 + ม.688 + ม.689 + ม.690 + ม.691…….ในส่วนนี้ผู้ค้ำประกันจะมีสิทธิที่จะเกี่ยงให้ไปเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ดังกล่าวก่อนที่จะให้ตนชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน …….จุดที่ควรทำความเข้าใจ ก็คือ 1.ผู้ค้ำประกันจะรับผิดตามสัญญาก็ต่อเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ ตาม ม.686……2. ผู้ค้ำประกันมีสิทธิที่จะเกี่ยงดังนี้ 2.1 เกี่ยงให้ไปเรียกลูกหนี้ชำระหนี้ดังกล่าวก่อน ตาม ม.688….2.2 เกี่ยงให้ไปบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อน ตาม ม.689….2.3 เกี่ยงให้ไปบังคับชำระหนี้จากทรัพย์ ที่เป็นหลักประกันก่อน ตาม ม.690……3. และถ้าผู้ค้ำประกันได้ระบุเอาไว้ในสัญญาค้ำประกันว่า ตนยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม……ท่านว่าผู้ค้ำประกันย่อมจะหมดสิทธิที่จะเกี่ยง ตาม ม.688 + ม.689 + ม.690 อีกต่อไป โดยผลของ ม.691……แต่ข้อที่ควรระวังก็คือ การที่ผูกพันตนอย่างลูกหนี้ร่วมดังกล่าวนั้น……จะมีผลเป็นเพียงแต่ทำให้ผู้ค้ำประกันสละสิทธิเกี่ยงที่ตนมีอยู่เท่านั้น…..หน้าที่ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน และของลูกหนี้ ก็ยังคงมีอยู่ตามเดิม ( ไม่หมดไป ด้วย ) นะครับ
5.2.3 ชุดผลภายหลังจากที่ผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แล้ว……ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.693 + ม.694 + ม.695 + ม.696 + ม.697……ในส่วนนี้จะมีจุดที่ควรสนใจดังนี้ 1. เนื่องจากเป็นกรณีที่ผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ไปแล้ว……ดังนั้นผู้ค้ำประกันจึงเกิดสิทธิขึ้นมาอยู่ 3 สิทธิ นั่นก็คือ 1.1 สิทธิในการไล่เบี้ย……1.2 สิทธิในการรับช่วงสิทธิ…….ทั้งนี้ตามที่ ม.693 ได้บัญญัติเอาไว้ นั่นเอง……1.3. นอกจากนี้แล้ว ผู้ค้ำประกันยังมีสิทธิในการที่จะยกข้อต่อสู้ทั้งของคนเอง และทั้งของลูกหนี้ที่มีต่อเจ้าหนี้……ขึ้นมาต่อสู้กับเจ้าหนี้ได้ด้วย……ทั้งนี้เป็นไปตามที่ ม. 694 ได้บัญญัติเอาไว้……2. ทั้งนี้และทั้งนั้นเมื่อผู้ค้ำประกันเกิดสิทธิไล่เบี้ยขึ้นมาได้ แต่สิทธินั้นก็สามารถหมดสิ้นไปก็ได้เช่นกัน……ถ้าหากเป็นไปตามกรณีดังต่อไปนี้ 2.1 ถ้าหากว่าผู้ค้ำประกันนั้นละเลยไม่ยกข้อต่อสู้ของลูกหนี้ขึ้นมาต่อสู้กับเจ้าหนี้ ท่านว่าผู้ค้ำฯย่อมสิ้นสิทธิไล่เบี้ย……แต่จะสิ้นสิทธิเพียงเท่าที่ไม่ได้ยกขึ้นมาต่อสู้เท่านั้น……แต่อย่างไรก็ตามถ้าผู้ค้ำฯสามารถพิสูจน์ว่าตนมิได้รู้ถึงข้อต่อสู้นั้นและไม่ได้เป็นความผิดของตน…..ท่านว่าผู้ค้ำฯก็ยังหาได้สิ้นสิทธิไล่เบี้ยลงไปไม่……ทั้งนี้เป็นไปตามที่ ม.695บัญญัติเอาไว้……2.2และถ้าผู้ค้ำฯได้ชำระหนี้ไป โดยที่มิได้บอกลูกหนี้…..แล้วลูกหนี้ได้มาชำระหนี้นั้นซ้ำอีก……ดังนี้ ม.696 ได้กำหนดเอาไว้ว่า ผู้ค้ำฯย่อมหมดสิทธิที่จะไปไล่เบี้ยเอากับลูกหนี้……3. และในกรณีที่เจ้าหนี้ทำให้ผู้ค้ำฯไม่สามารถรับช่วงสิทธิได้…..ม.697 ( เป็น ม.ที่สำคัญ ) ได้กำหนดเอาไว้ว่าว่า ผู้ค้ำฯย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดนั้น…..แต่ต้องระวังเอาไว้ด้วยว่า 3.1. ผู้ค้ำฯจะหลุดพ้นเพียงเท่าที่ตนต้องเสียหายจากการที่เจ้าหนี้กระทำไปเพราะการนั้น เท่านั้น……และ 3.2. สิทธิตาม ม.697 นี้ จะต้องเป็นสิทธิที่ให้อำนาจแก่เจ้าหนี้มีเหนือทรัพย์ของลูกหนี้ ซึ่งสิทธิดังกล่าว ก็คือ สิทธิยึดหน่วง จำนอง จำนำ และบุริมสิทธิ นั่นเอง……และสิทธิดังกล่าว จะต้องได้ให้เอาไว้ก่อน หรือ ในขณะทำสัญญา เท่านั้น……( ม. 697นี้ ยังคงนำไปใช้กับกรณีจำนอง ตาม ม.727)
5.2.4 ชุดความระงับไปของการค้ำประกัน……ม. ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.698 + ม.699 + ม.700 + ม.701…….ในส่วนนี้มีข้อสังเกตดังนี้ 1. ความระงับสิ้นไปของสัญญาค้ำฯนั้นนอกจาก 4 มาตราดังกล่าวข้างต้นแล้ว……เราจะต้องกลับไปดูที่หลักทั่วไปในบรรพ 1ด้วย เช่น ถ้าผู้ค้ำฯตาย ก็ดี คู่สัญญาตกลงเลิกสัญญา ก็ดี สัญญาค้ำฯถูกบอกล้างเพราะเหตุโมฆียะกรรม ก็ดี….ท่านว่า สัญญาค้ำฯย่อมระงับลงไปเช่นกัน……2. เหตุที่ทำให้สัญญาค้ำฯระงับไปตามกฎหมายค้ำฯ จะมีอยู่ 4 เหตุด้วยกัน คือ 2.1 ระงับเพราะเหตุที่หนี้ของลูกหนี้ระงับ ตาม ม.698……เหตุที่ทำให้หนี้ระงับ คือ….ชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว…ปลดหนี้….หักกลบลบหนี้….แปลงหนี้ใหม่….หนี้เกลื่อนกลืนกัน….ประนีประนอมยอมความกัน….เจ้าหนี้ไม่ยื่นขอเฉลี่ยทรัพย์….ลูกหนี้ล้มละลาย….เจ้าหนี้คืนสัญญาค้ำฯ….เจ้าหนี้หมดสิทธิที่จะบังคับคดีอีกต่อไป……2.2 ระงับเพราะเหตุที่ผู้ค้ำฯบอกเลิกการค้ำฯ ตาม ม.699…….2.3 ระงับเพราะเหตุที่เจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ ตาม ม.700…..2.4 ระงับเพราะเหตุที่เจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้จากผู้ค้ำฯ ตาม ม.701….3. ผลของการระงับไป ย่อมทำให้ผู้ค้ำฯหลุดพ้นจากความรับผิด ……ดังนั้นถ้าหากว่าไม่เข้าเหตุและหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นแล้ว ……ผู้ค้ำฯย่อมจะยังไม่หลุดพ้นจากความรับผิด นั่นเอง

ข้อสังเกต กฎหมาย ค้ำประกันนี้เพิ่งออกสอบในสมัย 59 ที่ผ่านมานี้เอง……แต่อย่างไรก็ตาม ในกานสอบระดับเนติฯนั้น สามารถที่จะออกซ้ำได้อยู่เสมอๆ……และสถิติในการออกข้อสอบ 4 ปีที่ผ่านมานั้น จะมีกฎหมายค้ำประกันออกมาทุกปี กล่าวคือ สมัยที่ 56 ออกค้ำฯ + จำนอง……สมัยที่ 57 ออก กู้ยืมเงิน + ค้ำ ฯ + จำนอง……สมัยที่ 58 ออก กู้ยืมเงิน + ค้ำฯ……สมัยที่ 59 ออก ค้ำฯล้วนๆอย่างเดียว……ดังนั้นจึงไม่ควรประมาทนะครับดูเอาไว้บ้างก็จะดีมิใช่น้อย……และทุกมาตราของค้ำประกันมีสิทธิถูกนำเอามาออกเป็นข้อสอบได้ทั้งสิ้น

ในส่วน กฎหมาย จำนอง นั้น.....จะมีขอบเขตและเนื้อหาที่เราสามารถแบ่งเป็นชุดๆ ได้ดังต่อไปนี้
5.3.1 ชุดหลักทั่วไป……ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.702 + ม.704 + ม.705 + ม.707 + ม.708 + ม.710 + ม.711 +ม.712 + ม.714………..ในส่วนนี้เราพึงที่จะต้องทำความเข้าใจให้ได้ก่อนว่า………1. สัญญาจำนองมีลักษณะที่สำคัญๆอย่างไรบ้าง……( เพื่อที่จะได้เป็นพื้นสำหรับปูทางไปทำความเข้าใจในส่วนอื่นๆต่อไป ได้ง่ายขึ้น นั่นเอง )……2. แล้วมีทรัพย์ใดบ้างที่สามารถนำไปจำนองได้……3. หลังจากนั้นให้เรามาทำความเข้าใจว่า มีกรณีใดบ้างที่จะต้องนำเอาบทบัญญัติบางประการของกฎหมายค้ำประกันมาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม……( ซึ่ง ก็คือ กรณีตาม ม.707 และกรณีตาม ม.727 นั่นเอง ซึ่งในกรณีที่โยงได้นั้น มักจะนำเอามาออกเป็นข้อสอบ……โดยเฉพาะที่ โยงไปหา ม.697 ต้องทำความเข้าใจให้จงดี )……4. ต่อมาก็ให้ทำความเข้าใจต่อไปว่า มีใครบ้างที่มีสิทธินำทรัพย์ไปจำนอง……5. หลังจากนั้นให้มาทำความเข้าใจต่อไปถึงเรื่อง กรณีที่มีการนำทรัพย์สินหลายสิ่งมาจำนองเพื่อประกันการชำระหนี้รายเดียวนั้น จะมีผลไปถึงการบังคับจำนองอย่างไร……ในส่วนนี้ ถ้ามีการตกลงกันระหว่างคู่สัญญา ก็ให้ไปดูที่ ม.710……แต่ถ้าไม่มีการตกลงกัน ก็ให้ไปดูที่ ม. 734……การตกลงกันในที่นี้ ก็คือ การตกลงระบุลำดับทรัพย์สินว่าจะให้เจ้าหนี้จำนองบังคับจำนองเอากับทรัพย์สินใดก่อนหลัง……( บังคับตามลำดับที่ได้ตกลงระบุเอาไว้ นั่นเอง )……6. ท้ายสุดก็ให้ทำความเข้าใจถึงเรื่องแบบของสัญญาจำนอง และข้อความในสัญญาจำนอง ว่าเป็นอย่างไร……ในส่วนนี้ถ้าเป็นเรื่องแบบของสัญญาจำนอง ก็ให้ไปดูที่ ม.714……ถ้าเป็นเรื่องข้อความที่จะต้องระบุไว้ในสัญญาจำนอง ก็ให้ไปดูที่ ม.704 + ม.708……ถ้าเป็นข้อความในสัญญาที่ไม่มีผลบังคับ ก็ให้ไปดูที่ ม.711……ถ้ามีข้อความตกลงห้ามไม่ให้เอาทรัพย์ไปจำนองซ้ำในสัญญา ก็ให้ไปดูที่ ม.712

5.3.2 ชุดสิทธิจำนองครอบเพียงใด……ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.716 + ม.717 + ( ม.718 +ม.719 + ม.720 + ม.721 )……ในส่วนนี้พึงทำความเข้าใจก่อนว่าเมื่อมีการจำนองเกิดขึ้นมาแล้ว…..สิทธิของการจำนองนั้นจะครอบคลุมไปถึงทรัพย์ใดบ้าง…..ซึ่งในส่วนนี้จะต้องใช้ความรู้ในเรื่องส่วนควบเข้ามาช่วยด้วย……โดยหลักแล้วจำนองจะครอบไปถึงบรรดาทรัพย์สินซึ่งได้จำนองทั้งหมดและทุกส่วน……( แม้ว่าจะได้มีการชำระหนี้บางส่วนแล้วก็ตาม )……และนอกจากนี้แล้วจำนองก็ยังครอบไปถึงบรรดาทรัพย์ทั้งปวงที่ติดพันอยู่กับทรัพย์สินที่จำนองด้วย……แต่ถ้าเข้ากรณีใดกรณีหนึ่ง ตาม ม.719 ก็ดี+ ม.720 ก็ดี + ม. 721 ก็ดี……ท่านว่า จำนองจะไม่ครอบไปถึง……การครอบไปถึงหรือไม่ถึงนั้นจะมีผลไปถึงตอนบังคับจำนอง……ถ้าครอบไปถึง ผลก็คือ เจ้าหนี้สามารถบังคับจำนองได้……แต่ถ้าครอบไปไม่ถึง ผลก็คือ เจ้าหนี้ก็ไม่สามารถบังคับจำนองได้นั่นเอง……ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจเอาไว้ด้วย ก็จะดีมิใช่น้อย
5.3.3 ชุดสิทธิหน้าที่ของผู้รับจำนองและผู้จำนอง……ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.722 + ม.723 + ม.724 + ม.725 + ม.726 + ม.727……ในส่วนนี้ พึงควรทำความเข้าใจก่อนว่า จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับกรณีที่เมื่อมีการจำนองแล้ว…..1. มีการนำเอาทรัพย์ที่ได้จำนองไว้ไปจดทะเบียนทรัพยสิทธิอื่นๆมาซ้อนการจำนอง ตาม ม.722……ในส่วนนี้จุดที่ควรระวังจะอยู่ตรงที่ การจดทะเบียนทรัพยสิทธิอย่างอื่นๆ ในอันที่จะถูกเพิกถอนตาม ม.722นี้……จะต้องเป็นการจดทะเบียนในภายหลังจากการที่ได้จดทะเบียนจำนองไปแล้ว เท่านั้น……ดังนั้นถ้าจดทะเบียนทรัพยสิทธิอื่นๆก่อนจดจำนอง ท่านว่าไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ม.722นี้ ……2. ทรัพย์ที่ได้จำนองเอาไว้นั้นเสื่อมราคาลงไปจนไม่เพียงพอแก่การประกัน ตาม ม.723……ในส่วนนี้ ไม่มีอะไร ตรงตามตัวบท แต่ให้ระวังตรงข้อยกเว้นเอาไว้นิดหนึ่ง กล่าวคือ ผู้รับจำนองจะบังคับจะนองทันทีไม่ได้….ถ้าไม่ใช่ความผิดของผู้จำนอง + และ ผู้จำนองได้เสนอที่จะหาทรัพย์อื่นมาแทน …..( คือจะต้องครบทั้งคู่ เพราะกฎหมายใช้คำว่า “ และ ” )……3. ผู้จำนองที่เป็นบุคคลที่สามเข้าชำระหนี้จำนอง ตาม ม.724……ในส่วนนี้ เป็นกรณีที่บุคคลที่สามได้เอาทรัพย์สินของตนมาจำนอง…..ดังนั้นจุดจึงอยู่ตรงที่เมื่อผู้จำนองชำระหนี้แทนลูกหนี้แล้ว…..ผู้จำนองจะได้รับเงินใช้คืนมากน้อยเพียงใด นั่นเอง…..ซึ่งเราก็จะต้องดูที่ ผู้จำนองได้ชำระหนี้ ก่อนโดนบังคับจำนอง หรือ ชำระหลังจากที่โดนบังคับจำนองแล้วนั่นเอง……4. แต่มีผู้จำนองหลายคนเข้าจำนองหนี้รายเดียว โดยที่มิได้ระบุลำดับไว้ แล้วผู้จำนองคนหนึ่งเข้าไปชำระหนี้ ตาม ม.725……ในส่วนนี้ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับมีผู้จำนองหลายคน และไม่ได้ระบุลำดับไว้ …….( ให้กลับไปดูข้อที่ 5 ของชุดหลักทั่วไป ข้างต้น ประกอบด้วย )……และเนื่องมาจากไม่มีการระบุลำดับการบังคับจำนองเอาไว้……ดังนั้นเราจึงต้องนำเอา ม.734 มาใช้กับกรณีนี้กล่าวคือ เจ้าหนี้จะใช้สิทธิตาม ม.734 นี้ ไปบังคับจำนองเอากับทรัพย์ที่จำนองชิ้นใดก็ได้…..ดังนั้นเมื่อเจ้าหนี้บังคับเอากับผู้จำนองคนใดแล้ว…..ท่านว่าผู้จำนองที่โดนบังคับจำนองไม่มีสิทธิที่จะไปไล่เบี้ยเอากับผู้จำนองคนอื่นๆ……แต่อย่างไรก็ตาม ผู้จำนองที่ถูกบังคับจำนองนั้น ก็ยังมีสิทธิ ตาม ม.724 ในการที่จะได้รับเงินใช้คืนจากลูกหนี้……5. แต่มีผู้จำนองหลายคนเข้าจำนองหนี้รายเดียว โดยได้ระบุลำดับไว้ แล้วผู้รับจำนองกลับไปปลดหนี้ให้แก่ผู้รับจำนองคนหนึ่ง ตาม ม.726……ในส่วนนี้ จะต่างไปจากกรณีตาม ม.725 ตรงที่ “ ได้ระบุลำดับการบังคับจำนองเอาไว้ ตาม ม.710 ”……เมื่อได้ระบุลำดับการบังคับเอาไว้ ดังนั้นเจ้าหนี้จะต้องบังคับจำนองตามลำดับที่ได้ระบุเอาไว้เท่านั้น……ดังนั้นการที่ผู้รับจำนองได้ทำการปลดหนี้ให้แก่ผู้จำนองคนหนึ่ง……ย่อมทำให้ผู้จำนองคนหลัง หรือ คนลำดับถัดไปเสียหาย…….ดังนี้ ม.726 จึงได้กำหนดให้ผู้จำนองคนหลัง หรือคนลำดับถัดไปนั้น……หลุดพ้นไปด้วยเพียงเท่าที่เขาต้องรับความเสียหายแต่การปลดหนี้นั้น……ข้อสังเกต การปลดหนี้ให้แก่ผู้จำนอง ตาม ม.726นี้……ควรจะเป็นการปลดหนี้ให้แก่ผู้จำนองในลำดับต้นๆ แล้วยังมีผู้จำนองคนถัดไป…..ถ้าเป็นการปลดหนี้ให้แก่ผู้จำนองในลำดับท้าย แล้วไม่มีใครอีกแล้ว…..กรณีเช่นนี้ผู้จำนองลำดับต้นๆก็ไม่ได้เสียหายอะไรเลย เพราะถึงอย่างไร ผู้จำนองลำดับต้นๆนั้นก็ยังคงต้อถูกบังคับจำนองตามลำดับอยู่ดี…..กรณีนี้ผู้จำนองลำดับต้นๆ จึงไม่อาจอ้าง ม.726นี้ได้….( ซึ่งก็คือ ไม่มีสิทธิตาม ม.726 นี้นั่นเอง )……6. เป็นกรณีที่มีเหตุทำให้ผู้จำนองหลุดพ้นจากความรับผิด ตาม ม.727……นับว่าเป็นมาตราที่สำคัญมาตราหนึ่ง ที่ควรต้องทำความเข้าใจ……1. กรณีที่ต้องนำเอา ม.697มาใช้ในเรื่องจำนองได้นั้น……จะต้องเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ทำให้ผู้จำนองไม่อาจรับช่วงสิทธิ จำนอง จำนำ บุริมสิทธิ หรือ สิทธิอื่นๆ ได้……2. กรณีที่จะนำเอา ม.700 มาใช้ในเรื่องจำนอง ได้นั้น……จะต้องเป็นกรณีที่จำนองนั้นจะต้องมีกำหนดเวลาชำระหนี้ที่แน่นอน……แล้วเจ้าหนี้ได้ไปผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้……3. กรณีที่จะนำเอา ม.701 มาใช้ในเรื่องจำนองได้นั้น……จะต้องเป็นกรณีที่ผู้จำนองได้มาขอชำระหนี้ตั้งแต่เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ……แล้วเจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้นั้น……ทั้งสามกรณีนี้ย่อมทำให้ผู้จำนองหลุดพ้นจากความรับผิด…..โดยเราจะต้องอ้าง ม.727 ประกอบด้วย ม.697 , ม.700 , ม.701 แล้วแต่กรณี ด้วย…..( อย่าได้อ้างว่า ผิดตาม ม.697 , ม.700 , ม.701 แต่เพียงอย่างเดียว )
5.3.4 ชุดบังคับจำนอง……ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.ม.728 + ม.729 + ม.730 + ม.731 + ม.732 + ม.733 + ม.734 + ม.735……ในส่วนนี้นับเป็นส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่ง ที่จะต้องทำความเข้าใจให้จงดี……ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ….1. เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ ก็ดี….2. หรือ ทรัพย์สินที่จำนองนั้นได้สูญหายหรือ บุบสลาย ตาม ม.723….3. ผู้รับจำนองย่อมมีสิทธิที่จะบังคับจำนองได้….4. แต่การที่ผู้รับจำนองจะบังคับจำนองได้นั้น ท่านตาม ม.728 ได้กำหนดเอาไว้ว่า ผู้รับจำนอง จำต้องบอกกล่าวการบังคับจำนองเป็นหนังสือ….( จะบอกกล่าวด้วยวาจาไม่ได้ )…ไปยังผู้จำนองให้มาชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาอันสมควร…( ในหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนอง จะต้องกำหนดเวลาให้มาชำระหนี้เอาไว้ด้วย….ถ้ามิได้กำหนดเวลาชำระหนี้เอาไว้….จะถือว่า เป็นการบอกกล่าวที่ไม่ชอบ )…ซึ่งถ้าหากลูกหนี้ละเลยไม่ปฏิบัติตาม……ผู้รับจำนองจึงจะฟ้องบังคับจำนองได้……( ดังนั้นถ้าไม่มีการบอกกล่าวก่อน…..ผู้รับจำนองย่อมไม่มีสิทธิฟ้องบังคับจำนอง นั่นเอง )…….5. หลังจากนั้นเราค่อยมาทำความเข้าใจในขั้นต่อไปว่า การบังคับจำนองจะต้องฟ้องเต่อศาล เท่านั้น……..โดยสามารถฟ้องขอให้ยึดทรัพย์สินที่จำนองเพื่อนำออกขายทอดตลาด ตาม ม.728 ก็ได้……และสามารถฟ้องขอเอาทรัพย์จำนองหลุดเป็นสิทธิ ตาม ม.729 ก็ได้……6. และการฟ้องบังคับนั้นผู้รับจำนองสามารถฟ้องบังคับจำนองแก่ผู้จำนอง ตาม ม.728 ก็ได้ หรือ จะฟ้องบังคับจำนองแก่ผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนอง ตาม ม.735 ก็ได้ ……7. ทีนี้เราก็จะต้องมาทำความเข้าใจถึงเรื่องสิทธิของผู้รับจำนองในการบังคับจำนอง……ซึ่งเราสามารถแบ่งออกได้ดังนี้ 7.1 ในกรณีที่เอาทรัพย์สินอันเดียวไปจำนองแก่ผู้รับจำนองหลายคน…..กรณีนี้ ม.730 ได้กำหนดไว้ว่าผู้รับจำนองที่จะมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ก่อน ก็คือ ผู้รับจำนองที่ได้จดทะเบียนก่อน โดยเรียงตามวันและเวลาจดทะเบียน……และ ม.731 ก็ยังกำหนดถึงสิทธิของผู้รับจำนอง ต่อไปว่า ผู้รับจำนองคนหลังจะบังคับตามสิทธิของตนให้เสียหายแก่ผู้รับจำนองคนก่อนไม่ได้……….7.2 ในกรณีที่นำเอาทรัพย์สินหลายสิ่งมาจำนองต่อผู้รับจำนองคนเดียว และมิได้ระบุลำดับเอาไว้……ม.734วรรค 1 ได้กำหนดไว้ว่า ผู้รับจำนองสามารถใช้สิทธิของตนไปบังคับเอาแก่ทรัพย์สินทั้งหมด หรือ แต่บางส่วนก็ได้….แต่จะไปบังคับให้เกินไปกว่าเพื่อการใช้หนี้ตามสิทธิของตน ไม่ได้……7.2.1 และถ้าผู้รับจำนองเลือกที่จะใช้สิทธิของตนไปบังคับเอาแก่ทรัพย์สินทั้งหมด ….ม.734 วรรค 2 ก็ได้กำหนดให้ ภาระแห่งหนี้ กระจายไปตามส่วนราคาแห่งทรัพย์สินนั้นๆ……( ซึ่งราคาแห่งทรัพย์สิน หมายถึง เงินสุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดของทรัพย์สินแต่ละสิ่ง ….ทรัพย์ใดขายได้ราคามาก ก็รับผิดในหนี้มาก ทรัพย์ใดขายได้ราคาน้อย ก็รับผิดในหนี้น้อย ) …….แต่ถ้าได้มีการระบุจำนวนเงินจำนองเอาไว้ ก็ให้แบ่งกระจายไปตามจำนวนเงินที่ได้ระบุไว้เฉพาะทรัพย์สิ่งนั้นๆ…….7.2.2 และถ้าผู้รับจำนองเลือกที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์สินที่จำนองเพียงสิ่งเดียว….ม.734 วรรค 3 ก็ได้กำหนดเอาไว้ว่า ผู้รับจำนองจะให้ชำระหนี้อันเป็นส่วนของตนทั้งหมดจากทรัพย์สินสิ่งนั้น ก็ได้…..แต่ให้ถือว่า ผู้รับจำนองคนถัดไปที่มิได้รับชำระหนี้ …..( วรรค3 นี้ เป็นกรณี ที่มีการนำเอาทรัพย์สินที่จำนองนั้นไปจำนองซ้ำกับผู้รับจำนองคนที่ 2…..เมื่อรายแรกบังคับทั้งหมด ก็ย่อมทำให้รายที่ 2 มิได้รับชำระหนี้นั่นเอง )….สามารถเข้ามารับช่วงสิทธิของผู้รับจำนองคนก่อนได้…..แต่ก็บังคับได้เพียงเท่าจำนวนซึ่งผู้รับจำนองคนก่อนจะพึงได้รับจากทรัพย์สินอื่นๆเท่านั้น…………8. เมื่อได้บังคับจำนองโดยนำออกมาขายทอดตลาดไปแล้ว…..ท่านตาม ม.733ได้กำหนดเอาไว้อย่างชัดเจนว่า เงินขาดเหลือเท่าใด ลูกหนี้ไม่จำต้องรับผิดชอบอีก…..( ม.733 นี้ เป็นมาตราที่สำคัญมาตราหนึ่งที่มักนำมาออกข้อสอบ จึงควรทำความเข้าใจให้ดี )……( จะใช้สิทธิตาม ม.733 นี้ได้ จะต้องเป็นการบังคับจำนองตาม ม.728 + ม.729 + ม.735 เท่านั้น นะครับ )……( การที่ผู้จำนองจะพ้นจากความรับผิดในหนี้ที่ขาด ตาม ม.733 นี้ จะต้องปรากฏว่า การบังคับจำนองนั้นจะต้องเสร็จสมบูรณ์ไปแล้วเท่านั้น )…….9. และในกรณีที่ขายทอดตลาดไปและได้ ใช้หนี้แก่ผู้รับจำนองจนหมดแล้ว…..ยังมีเงินเหลืออยู่ ท่าน ตาม ม.732 กำหนดว่า ให้ส่งคืนแก่ผู้จำนอง
5.3.5 การระงับสิ้นไปของสัญญาจำนอง……ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.ม.744 + ม.745 + ม.746โดยจะมีข้อสังเกตดังต่อไปนี้……1. กรณีที่จำนองระงับสิ้นไป ตาม อนุมาตรา 1 นั้นจะต้องระงับไปด้วยเหตุประการอื่นๆ…..ที่มิใช่อายุความ….ดังนั้นหนี้ที่ประกันนั้นถึงแม้จะขาดอายุความไปแล้ว ก็ไม่ทำให้จำนองระงับลงไปแต่อย่างใด……และความรับผิดของผู้จำนองกรณีที่หนี้ประธานขาดอายุความนี้ ท่านว่า ผู้จำนองจะต้องรับผิดตาม ม.745……2. กรณีที่จำนองระงับไป ตาม อนุมาตร 2 นั้น จุดจะอยู่ตรงที่ว่า การปลดจำนองที่จะมีผล ตาม อนุมาตรา 2 นี้ ท่านว่า จะต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้รับจำนองด้วย……และที่ต้องระวังก็คือ เฉพาะหนี้จำนองที่ปลดเท่านั้นที่จะระงับไป ตาม ม.744 ( 2 ) …..หนี้ประธานหาได้ระงับไปไม่…..( แต่ถ้าปลดหนี้ประธาน ในกรณีนี้แน่นอน ก็ย่อมทำให้หนี้จำนองระงับไปเช่นกัน แต่จะเป็นไปตาม อนุมาตรา 1 )……3.กรณีที่จำนองระงับไป ตาม อนุมาตรา 3 นั้น……จะเป็นกรณีที่ผู้จำนองหลุดพ้นไปตาม ม.727 เท่านั้น ที่จะทำให้ผู้จำนองหลุดพ้นได้…..( ให้กลับไปดู ม.727อีกที )……4. กรณีที่ระงับไปตาม อนุมาตรา 4 นั้น……จะต้องเป็นการถอนจำนอง โดยที่ผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนอง ได้ขอไถ่ถอนจำนอง โดยเสนอว่าจะใช้เงินเป็นจำนวนอันควรกับราคาทรัพย์ที่จำนอง ตาม ม.738 นั่นเอง……แต่ทั้งนี้ตัวเจ้ากนี้จะต้องยอมรับคำเสนอของผู้รับโอนและมีการชำระหนี้แล้วเท่านั้น……จึงจะมีผลทำให้จำนองระงับไป……5.กรณีที่ระงับไปตามอนุมาตรา 5 ……เป็นการระงับไปเพราะมีการขายทอดตลาดตามคำสังศาลอันเนื่องมาจากการบังคับจำนอง ตาม ม.728 + ม.735 นั่นเอง……6.กรณีที่ระงับไป ตาม อนุมาตรา 6 ……เป็นกรณีที่เอาทรัพย์จำนองหลุดเป็นสิทธิ ตาม ม.729 นั่นเอง…………ข้อสังเกต เหตุที่ทำให้จำนองระงับสิ้นไปนั้นจะมีเพียง 6 กรณีดังกล่าว ตาม ม.744 เท่านั้น……ดังนั้นถ้าไม่เข้า 6 กรณีดังกล่าวนี้เสียแล้ว ท่านว่า จำนองย่อมไม่ระงับ……………ส่วนกรณีตาม ม.746นั้น จะเป็นกรณีที่ได้มีการชำระหนี้ไปทั้งหมดก็ดี หรือชำระแต่บางส่วน ก็ดี…..หรือได้มีการระงับหนี้อย่างใดๆ ก็ดี….หรือ ได้มีการตกลงกันเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนอง ก็ดี หรือ แก้ไขเปลี่ยนแปลงหนี้อันจำนองเป็นประกัน ก็ดี……ท่านว่า ถ้าไม่ได้ไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่….ก็จะยกเหตุดังกล่าวที่ได้ทำไปนั้น ขึ้นมาต่อสู้กับบุคคลภายนอก ไม่ได้


ในส่วน กฎหมาย จำนำ นั้น.....จะมีขอบเขตและเนื้อหาที่เราสามารถแบ่งเป็นชุดๆ ได้ดังต่อไปนี้

5.4.1 ชุดหลักทั่วไป……ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.747 + ม.748 + ม.756…….ในส่วนนี้ให้ทำความเข้าในลักษณะของสัญญาจำนำให้จงดี……หลังจากนั้นก็ให้มาทำความเข้าใจว่า ทรัพย์สินที่นำมาจำนำนั้น ประกันหนี้อะไรบ้าง
5.4.2 ชุดสิทธิหน้าที่ของผู้จำนำและผู้รับจำนำ……ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.758 + ม.759 + ม.760 + ม.761…….ในส่วนนี้ให้ทำความเข้าใจว่า สิทธิของผู้รับจำนำมีอะไรบ้าง คำตอบจะอยู่ที่ ม.758 + ม.761……และหน้าที่และความรับผิดของผู้รับจำนำมีอะไรบ้าง คำตอบจะอยู่ที่ ม.759 + ม.760…….( ส่วนสิทธิของผู้จำนำนั้นถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรงกให้ดูเอาไว้บ้าง ก็จะดีมิใช่น้อยนะครับ……ซึ่งหน้าที่ของผู้รับจำนำ จะอยู่ที่ ม. 762 + ม.755 ( เป็นหน้าที่ของผู้จำนำในการที่จะต้องไม่ทำให้สิทธิที่นำไปจำนำนั้นเสียหาย หรือ สิ้นไป นั่นเอง )…….ส่วนสิทธิของผู้จำนำ ก็คือ 1. สิทธิในการไถ่ถอนจำนำ……2. สิทธิที่จะได้รับเงินใช้คืนจากลูกหนี้
5.4.3 ชุดบังคับจำนำ……ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ( ม.764 + ม.765 ) + ม. 767 + ม.768…….ในส่วนนี้จะมีข้อสังเกตดังนี้……1. ให้ทำความเข้าใจว่าวิธีการบังคับจำนำทรัพย์สินที่จำนำเป็นอย่างไร……คำตอบจะอยู่ที่ ม.764……( มีหลักการเช่นเดียวกับการบังคับจำนอง ……เพียงแต่เพิ่มในจุดที่ว่า ผู้รันจำนำจะต้องมีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้จำนำ ถึงเวลาและสถานที่ที่จะทำการขายทอดตลาด ด้วย )……2. และถ้าไม่สามารถบอกกล่าวได้……ทางแก้ก็จะอยู่ที่ ม.765……3. สิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจต่อไป ก็คือ เมื่อบังคับจำนำโดยการขายทอดตลาดซึ่งทรัพย์สินที่จำนำแล้ว……เงินที่ได้มาจะจัดสรรชำระหนี้กันอย่างไร……คำตอบจะอยู่ที่ ม.767 กล่าวคือ 1. จะต้องหักค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดก่อน……2. เหลือเท่าใด จะต้องจัดสรรชำระหนี้ต้นเงินและหนี้อุปกรณ์…….3.เมื่อชำระหมดแล้วมีเงินเหลือเท่าใด ท่านว่า จะต้องคืนให้แก่ผู้จำนำ หรือ ทายาทของผู้จำนำ ( ในกรณีที่ผู้จำนำตาย )……4. แต่ถ้าเมื่อชำระหมดแล้ว เงินยังขาดอยู่ท่าใด ท่านว่าตัวลูกหนี้ก็ยังคงที่จะต้องรับผิดในส่วนที่ยังขาดอยู่นั้น…………ข้อสังเกต ข้อแตกต่างระหว่างจำนำ กับจำนอง มีดังนี้ A. การบังคับจำนำ ผู้รับจำนำจะต้องทำหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้จำนำ 2 ครั้ง……ครั้งแรก บอกกล่าวเพื่อให้ผู้จำนำให้มาชำระหนี้ภายในเวลาอันควร…..และถ้าผู้จำนำไม่ปฏิบัติตาม ท่านว่า ผู้รับจำนำ จะต้องบอกกล่าวไปยังผู้จำนำอีกเป็นครั้งที่ 2……เพื่อที่จะบอกกำหนดเวลาและสถานที่ขายทอดตลาด……ส่วนจำนองบอกกล่าวเพียงครั้งเดียว……B. การบังคับจำนำนั้นไม่ต้องฟ้องต่อศาล ผู้รับจำนำสามารถที่จะขายทอดตลาดได้เอง……ส่วนจำนองนั้น การบังคับจำนองจะต้องฟ้องต่อศาลก่อน จึงจะชายทอดตลาดได้ ( เป็นการขายทอดตลาดโดยคำสั่งของศาล )……C.สิทธิของผู้ซื้อจากการขายทอดตลาดนั้น…….C 1 จำนำ สิทธิของผู้ซื้อ จะอยู่ที่ ม.1332…..C 2 จำนอง สิทธิของผู้ซื้อ จะอยู่ที่ ม.1330……D. จำนำ ผู้รับจำนำไม่มีสิทธิที่จะเอาทรัพย์จำนำหลุดเป็นสิทธิของตน……จำนอง ผู้รับจำนอง มีสิทธิที่จะเอาทรัพย์จำนองหลุดเป็นสิทธิของตนได้……E. จำนำ เมื่อชำระหนี้เสร็จแล้ว เงินยังขาดอยู่เท่าใด ลูกหนี้ยังคงต้องรับผิดอยู่……จำนอง เงินยังขาดอยู่เท่าใด ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิด……5. ท้ายสุดควรที่จะทำความเข้าใจว่า ถ้าหากมีการนำเอาทรัพย์หลายสิ่งมาจำนำ เพื่อประกันหนี้รายเดียวนั้น ผู้รับจำนำจะมีสิทธิอย่างไรบ้าง……คำตอบจะอยู่ที่ ม.768กล่าวคือ ผู้รับจำนำจะเลือกเอาทรัพย์สินสิ่งใดออกขายทอดตลาดก็ได้…..แต่จะขายเกินไปกว่าสิทธิที่ตนมีอยู่ไม่ได้
5.4.4 ชุดความระงับของการจำนำ……ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.769…….ในส่วนนี้ การระงับสิ้นไปของการจำนำ ก็เช่นเดียวกับของจำนอง ม.744 ( 1 )……กล่าวคือ การระงับของหนี้ ก็จะเป็นไปตามหลักทั่วไปของกฎหมายหนี้ ในส่วนการระงับแห่งหนี้ ตาม ม.314 – ม.353 นั่นเอง……และก็เช่นเดียวกัน แม้หนี้ประธานจะขาดอายุความไปแล้วก็ตาม ก็ไม่ทำให้จำนำระงับ

ไม่มีความคิดเห็น: