สำรองห้องพักโรงแรมพร้อมส่วนลด

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

ข้อที่ 7 จะเป็นกฎหมาย หุ้นส่วน บริษัท หุ้นส่วน……ม.1012 – ม.1095 , บริษัท……ม.1096 – ม.1273

ในส่วนของกฎหมายหุ้นส่วน และบริษัทนั้น…….จุดแรกซึ่งเราควรที่จะทำความเข้าใจ ก็คือ ในส่วนของบทเบ็ดเสร็จทั่วไป……( เพราะจะเป็นฐานเพื่อที่จะปูไปเชื่อมต่อในส่วนอื่นๆต่อไป นั่นเอง )…….ซึ่งมี ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.1012 + ม.1015 + ม.1021 + ม.1022 + ม.1023…….โดยเฉพาะ ม.1012 นั้น จะเป็นมาตราพื้นฐานที่จะปูไปสู่ห้างหุ้นส่วน และบริษัทเสมอ……( กล่าวโดยง่าย ก็คือ ม.1012 นั้นเป็นบ่อเกิดของห้างหุ้นส่วน และบริษัท นั่นเอง )……ส่วน ม.1015 นั้น จะเป็นมาตราที่บอกให้เราได้ทราบว่า เมื่อห้างหุ้นส่วน และบริษัทได้ทำการจดทะเบียนไปแล้ว……ห้างหุ้นส่วน และบริษัทนั้นจะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากออกจากผู้เป็นหุ้นส่วน หรือ ออกจากผู้ถือหุ้นทั้งหลาย……ส่วน ม. 1021 นั้นบ่งบอกว่า เป็นหน้าที่ของนายทะเบียนทุกคนที่จะต้องแต่งย่อรายการ แล้วส่งไปลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา……แล้วจะต่อเนื่องไปยัง ม.1022 กล่าวคือ เมื่อได้พิมพ์โฆษณาแล้ว ท่านให้ถือว่า บรรดาเอกสารและข้อความที่ได้กล่าวถึงในย่อรายการนั้นเป็นอันรู้ถึงบุคคลทั่วไปทั้งปวงแล้ว…..โดยไม่เลือกว่าบุคคลนั้นจะเกี่ยวข้อง หรือ ไม่เกี่ยวข้องกับห้างหุ้นส่วน หรือ บริษัท นั้นๆ……( กฎหมายปิดปากว่าต้องรู้ )……และก็ยังต่อเนื่องมาถึง ม.1023 นี้ด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ถ้าหากว่า ตราบใดที่แต่งย่อรายการยังมิได้ลงพิมพ์โฆษณา ตาม ม.1021……ท่านว่า ตราบนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วน ก็ดี หรือ ห้างหุ้นส่วนก็ดี หรือ บริษัท ก็ดี จะถือเอาประโยชน์จากบรรดาเอกสาร หรือ ข้อความ ซึ่งลงทะเบียนนั้น ยกขึ้นมาอ้างกับบุคคลภายนอกยังไม่ได้…….แต่ในทางกลับกันบุคคลภายนอกกลับสามารถยกเอาบรรดาเอกสาร หรือ ข้อความที่ยังมิได้ลงพิมพ์โฆษณานั้น ขึ้นมาอ้างเอากับผู้เป็นหุ้นส่วน หรือ เอากับห้างหุ้นส่วน หรือ เอากับบริษัท นั้นๆได้ นะครับ

A. และในส่วนของห้างหุ้นส่วนสามัญ นั้น เราสามารถแยกพิจารณาออกได้ดังต่อไปนี้
1. ชุดบ่อเกิดของห้างหุ้นส่วนสามัญ……ซึ่งมี ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.1012 + ม.1025 + ม.1026…….ในส่วนนี้เราจะต้องดูทั้งสามมาตรานี้ประกอบด้วยกันเสมอนะครับ…..( เรียกว่าดูกันเป็นชุด ไปเลย )……ดังนั้นองค์ประกอบที่จะทำให้เกิดเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญขึ้นมานั้น ก็คือ 1.1 สัญญาที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ( ม.1012 )……ตกลงนำหุ้นมาลงทุนร่วมกัน ( ม.1026 )……1.2 เพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ( ม.1012 )……1.3 ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไร อันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น ( ม.1012……1.4 และหุ้นส่วนทั้งหมดทุกคนจะต้องรับผิดร่วมกัน เพื่อหนี้ทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนอย่างไม่จำกัดจำนวน ( ม.1025 )……องค์ประกอบเหล่านี้จะขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้เลยนะครับ……ต้องครบทั้งสี่ข้อ จึงจะเกิดเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญขึ้นมาได้
ข้อสังเกตในชุดที่ 1…….การนำหุ้นมาลงทุนร่วมกันนั้น หมายถึง……1.1 การที่การนำเอาเงิน ก็ได้ หรือ นำเอาทรัพย์สิน ก็ได้ หรือ จะลงด้วยแรงงาน ก็ได้ มาลงทุน……1.2 แล้วมาร่วมกันเพื่อประกอบกิจการใดกิจการหนึ่งขึ้นมา……1.3 แล้วจึงค่อยมามอบหมายหน้าที่ให้หุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งไปกระทำการแทนหุ้นส่วนคนอื่นๆ …….1.4 และการมาร่วมกันเพื่อประกอบกิจการขึ้นมาดังกล่าวนั้น…..1.4.1 บุคคลที่เข้ามาร่วมในกิจการดังกล่าวจะต้องมีสิทธิที่จะได้รับส่วนแบ่งกำไร อันเกิดจากกิจการที่ทำนั้นด้วย……1.4.2 และในขณะเดียวกัน บุคคลที่เข้ามาร่วมในกิจการดังกล่าว ก็จะต้องมีสิทธิในการที่จะเข้าไปร่วมจัดทำในกิจการดังกล่าวนั้นๆด้วย……การที่จะเป็นหุ้นส่วนนั้นจะต้องด้วยทั้ง 2 ประการนี้ด้วย….( 1.4.1 + 1.4.2 )….จะขาดประการใดประการหนึ่งไม่ได้เลยนะครับ……( จึงควรระวังในจุดนี้ให้ดีๆ )……ข้อสังเกตต่อไป ก็คือ คำว่า “ แน่งกำไร ” นั้นหมายถึง การแบ่งกำไร ที่ไม่ใช่การเอาทรัพย์สินมาแบ่ง ……การแบ่งกำไร นั้น จะต้องมีจุดประสงค์ที่จะแบ่งกำไร ที่ไม่ใช่มีจุดประสงค์ในการแบ่งรายได้

2. ชุดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ถือหุ้นด้วยกัน……ในส่วนนี้ ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ( ม. 1026 + ม.1027 + ม.1028 + ม.1029 ) + ( ม. 1033 + ม.1034 + ม.1035 + ม.1036 ) + ม.1038 + ม.1040 + ม.1041 + ม.1043 +( ม.1044 + ม.1045 ) + ม.1047 + ม.1048 ………..ข้อสังเกต ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ในเรื่องของห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ….a ) การเกิดขึ้นมาของห้างหุ้นส่วนสามัญ….( ม.1012 + ม.1025 + ม.1026 )…….คำถามในส่วนนี้จึงมักถาม เพื่อให้เราตอบว่า เป็นหุ้นส่วนกันหรือไม่ หรือ เป็นห้างหุ้นส่วนหรือไม่ หรือ เมื่อเป็นแล้ว หุ้นส่วนจะต้องรับผิดอย่างไร ฯลฯดังนี้เป็นต้น…..b ) ความสัมพันธ์กันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเอง……คำถามในส่วนนี้จึงมักจะเกี่ยวกับเรื่องหุ้นที่จะนำมาลงทุน ของผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันว่าเป็นอย่างไร….( ม.1026 + ม.1027 + ม.1028 + ม.1029 ) หรือ เกี่ยวกับ กำไรขาดทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน ว่าเป็นอย่างไร…..( ม.1044 + ม.1045 )หรือ เกี่ยวกับ การจัดการงานของผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน ว่าเป็นอย่างไร….( ม.1033 + ม.1034 + ม.1035 + ม.1036 ) หรือ เกี่ยวกับ สิทธิหน้าที่และความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน ว่ามีอะไรบ้าง…..( ม.1038 + ม.1040 + ม.1041 + ม.1042 + ม.1043 + ม.1047 + ม.1048 )……c ) ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน กับ บุคคลภายนอก…..( ม.1049 + ม.1050 + ม.1051 + ม.1052 + ม.1053 + ม.1054 )……d ) การเลิก และ การชำระบัญชี ของห้างหุ้นส่วนสามัญ…..คำถามในส่วนนี้ มักจะเกี่ยวกับมีเหตุใดบ้างที่ทำให้ห้างฯต้องเลิกไปโดยผลของกฎหมาย หรือ โดยผลของสัญญา……และมีกรณีใดบ้างที่ทำให้ห้างฯยังไม่เลิก…..( ม.1055 + ม.1060) +…..มีกรณีใดบ้างที่ทำให้ห้างต้องเลิกไปโดยคำสั่งของศาล…..( ม.1057 + ม.1058 + ม.1067 ) +……และเมื่อห้างเลิกไปแล้ว จะต้องมีการชำระบัญชีกันอย่างไร……( ม.1061 + ม.1062 + ม.1063 )……ดังนั้นสรุปได้ว่าเนื้อหาของหางหุ้นส่วนสามัญนั้นจะมีอยู่ 4 เรื่องใหญ่ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเท่านั้นนะครับ
ข้อสังเกตในส่วนชุดที่ 2 นี้……ในชุดที่ 2 นี้ เรายังสามารถแบ่งเนื้อเรื่องออกได้อีก 4 เรื่องด้วยกันกล่าวคือ เรื่องที่ 1 จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับหุ้นที่จะนำมาลงทุน ของผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันว่าเป็นอย่างไร….( ม.1026 + ม.1027 + ม.1028 + ม.1029 )……ในส่วนนี้ความสำคัญจะอยู่ที่ ม.1026นั่นก็คือ ผู้ที่จะเป็นหุ้นส่วนได้นั้นจะต้องนำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเงิน ก็ดี หรือ ทรัพย์สิน ก็ดี หรือ แรงงาน ก็ดี….มาลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนนั้นๆด้วยเสมอ…..ดังนั้นถ้ามิได้ลงหุ้นเลย ย่อมไม่อยู่ในฐานะที่เป็นหุ้นส่วน นั่นเอง…..ส่วน ม.1027 + ม.1028 นั้นก็จะเป็นบทขยายความของการนำเอาแรงงานมาลงหุ้น นั่นเอง….ซึ่งถ้ามีหุ้นส่วน 2 คน คนหนึ่งลงแรง ดังนี้การตีราคาให้ใช้ ม.1027 กล่าวคือ ต้องตีราคาค่าแรงงานเท่าๆกัน……ถ้ามีหุ้นส่วน 3 คน มีคนหนึ่งลงแรง ดังนี้การตีราคาค่าแรงงานจะต้องใช้ ม.1028…..กล่าวคือให้นำเงินที่ลงหุ้น หรือ นำทรัพย์สินที่ลงมารวมกัน….แล้วหารสอง….จึงจะเท่ากับราคาค่าหุ้นของผู้ลงแรงงาน นั่นเอง……ในส่วนของ ม.1029 นั้นก็จะเป็นบทขยายความของการนำเอาทรัพย์สินมาลงหุ้น……กล่าวคือ ผู้ลงหุ้นด้วยทรัพย์สินนั้น จะอยู่ในฐานะของผู้ให้เช่า……ดังนั้นผู้ลงหุ้นยังคงต้องรับผิดในการชำรุดบกพร่อง การรอนสิทธิ…..และยังมีหน้าที่ที่จะต้องส่งมอบทรัพย์สินในสภาพที่ซ่อมแซมดีแล้วด้วยเช่นกัน……และในบางกรณีอาจจะมีข้อตกลงยกเว้นความรับผิด ก็ได้ด้วย……( โดยให้บังคับตาม กฎหมายว่าด้วยเช่าทรัพย์ )……เมื่อถือว่าอยู่ในฐานะผู้ให้เช่า ดังนั้นกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจึงยังคงเป็นของผู้ลงหุ้นนั้นอยู่……เมื่อเลิกห้างฯแล้ว ก็จะต้องคืนทรัพย์สินนั้นให้แก่หุ้นส่วนผู้นำมาลงด้วย……และถ้าหากเกิดการสูญหาย หรือบุบสลาย อันมิใช่ความผิดของห้างฯ…..ท่านว่า บาปเคราะห์ดังกล่าวย่อมตกแก่หุ้นส่วนผู้นำมาลงนั้น……และในส่วน ม.1030 นั้น ก็จะเป็นบทขยายความของการให้ทรัพย์สินที่นำมาลงหุ้นนั้น ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของห้างฯ……เมื่อกรรมสิทธิ์ตกเป็นของห้างฯความเกี่ยวพันกันระหว่างผู้นำเอาทรัพย์สินมาลงกับห้างฯ….ไม่ว่าจะเป็นในเรื่อง ส่งมอบ….ความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่อง….เพื่อการรอนสิทธิ…ข้อยกเว้นความรับผิด…..ท่านว่าให้เป็นไปตาม กฎหมายว่าด้วยซื้อขาย……ข้อที่ควรทำความเข้ใจก็คือ นอกจากนั้นเมื่อห้างเลิกแล้วมีการชำระบัญชี ผู้ชำระบัญชีสามารถที่จะนำทรัพย์สินดังกล่าวออกขายทอดตลาดได้…..และเมื่อผู้นำเอามาลงนั้นมีเจตนาที่จะโอนกรรมสิทธิ์ให้กับห้างฯ…..ท่านว่ากรรมสิทธิ์จะโอนไปยังห้างฯทันที โดยจะไม่อยู่ในบังคับของการที่จะต้องไปจดทะเบียนแต่อย่างใดเลย…..และแม้ว่าผู้ลงหุ้นจะมีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินที่อยู่ในโฉนด ก็ตาม……ก็จะมาอ้างการไม่ได้จดทะเบียนนั้นมาปฏิเสธว่าที่ดินนั้นยังไม่เป็นของห้างฯไม่ได้
เรื่องที่ 2 นั้นจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ กำไรขาดทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน ว่าเป็นอย่างไร…..( ม.1044 + ม.1045 )…….ในส่วนนี้จะว่าด้วยการแบ่งผลของกำไรขาดทุนในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันกล่าวคือ ……2.1 ถ้าหากว่าไม่ได้มีการตกลงกันเอาไว้…..ม. 1044 ได้กำหนดเอาไว้ว่า การแบ่งผลกำไรขาดทุน ก็ให้เป็นไปตามสัดส่วนที่ผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนลงหุ้นไว้…..นั่นก็หมายความว่า ใครลงหุ้นมาก ก็ย่อมได้กำไรมาก…..และในทางตรงข้ามถ้าขาดทุนก็ต้องจ่ายมากเช่นกัน…..2.2 .และถ้าหากว่าได้มีการตกลงกันเอาไว้…..แต่เป็นการตกลงว่าแบ่งแต่กำไรอย่างเดียว หรือ ตกลงแต่ขาดทุนเพียงอย่างเดียว…..ม.1045 จึงได้กำหนดออกมาว่า การตกลงกันเรื่องให้แบ่งกำไรกันเท่าไร หรือ แบ่งขาดทุนกันเท่าไรนั้น….ก็ต้องให้จ่ายกันไปตามสัดส่วนที่ลงหุ้นเอาไว้……แม้ว่าจะตกลงแบ่งกำไร โดยมิได้ตกลงแบ่งขาดทุนเอาไว้ ก็ตาม
เรื่องที่ 3 นั้น จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ การจัดการงานของผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน ว่าเป็นอย่างไร….( ม.1033 + ม.1034 + ม.1035 + ม.1036 )……ในส่วนนี้จะว่าด้วยเรื่องที่ว่าใครจะเป็นผู้มีอำนาจจัดการงานของห้างฯ นั่นเอง……โดยแยกพิจารณาได้ดังนี้…..3.1 ในกรณีที่มิได้มีการตกลงกันเอาไว้ว่าใครมีอำนาจจัดการ……ม. 1033 ก็ได้กำหนดหลักเอาไว้ว่า ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนย่อมสามารถจัดการห้างฯได้…..และก็ให้ถือว่า ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ อีกด้วย…..โดยมีข้อแม้ หรือเงื่อนไขตรงที่ว่า หุ้นส่วน คนใดคนหนึ่งจะเข้าไปทำสัญญาใดๆก็ตาม……โดยที่หุ้นส่วนคนอื่นๆทักท้วงไม่ได้……( นั่นก็หมายความว่าในการทำสัญญาใดๆก็ตามนั้น จะต้องได้รับความยินยอม หรือ ได้รับการเห็นด้วยจากหุ้นส่วนทุกคน เสมอ นั่นเอง )……3.2 ในกรณีที่ได้มีการตกลงกันเอาไว้ว่าให้จัดการตามเสียงข้างมาก……ม.1034 ได้กำหนดหลักเอาไว้ว่า ในการจัดการงานของห้างฯนั้น…ก็ให้จัดการให้เป็นไปตามเสียงข้างมาก….โดยให้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนหนึ่งมีเสียงเป็นหนึ่งคะแนน……และไม่ต้องไปสนใจถึงจำนวนหุ้นที่ลงว่าใครจะลงมาก หรือ ใครจะลงน้อย แต่อย่างใด.…..( ดูที่จำนวนคน เท่านั้น )……3.3 ในกรณีที่มีการตกลงกันเอาไว้ว่าให้ผู้เป็นหุ้นส่วนหลายคนมีอำนาจการห้างฯได้……ม.1035ได้กำหนดหลักเอาไว้ว่า หุ้นส่วนผู้จัดการแต่ละคนนั้นมีอำนาจจัดการห้างฯได้…..โดยที่ไม่จำต้องร่วมกันจัดการแต่อย่างใด……และในกรณีที่หุ้นส่วนผู้จัดการคนใดคนหนึ่งเข้ามาจัดการงานของห้างฯ ……ท่านว่าหุ้นส่วนผู้จัดการคนนั้นจะกระทำการใดๆโดยที่หุ้นส่วนผู้จัดการคนอื่นๆทักท้วงไม่ได้……( ใช้หลักการเดียวกับ ม.1033 )………3.4 ในกรณีที่มีการตกลงเอาไว้ว่าให้หุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งเป็นคนจัดการ……ท่านว่าหุ้นส่วนคนนั้นเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการที่มีอำนาจจัดการแต่เพียงผู้เดียว……หุ้นส่วนคนอื่นๆย่อมไม่มีอำนาจเข้าไปจัดการ……โดยในกรณีนี้สามารถโยงไปหา ม.1043 กล่าวคือ ถ้าหุ้นส่วนที่ไม่มีอำนาจนั้นฝ่าฝืนเข้าไปจัดการงานของห้าง……ม.1043 ได้กำหนดหลักเอาไว้ว่า ให้บังคับด้วยกฎหมายว่าด้วยการจัดการงานนอกสั่ง……นั่นก็คือ ถ้าหากว่าได้ทำไปแล้วสมประโยชน์ของผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลาย ท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายนั้นจะต้องชดใช้ให้กับผู้ที่ฝ่าฝืนนั้น…….( ส่วนความเกี่ยวพันกันระหว่างหุ้นส่วนผู้จัดการกับผู้เป้นหุ้นส่วนคนอื่นๆนั้น……ม.1042 ได้กำหนดหลักเอาไว้ว่า ให้บังคับด้วยกฎหมายว่าด้วยตัวแทน )……3.5 และในกรณีที่จะมีการถอดถอนหุ้นส่วนผู้จัดการออกจากตำแหน่งนั้น……ม.1036 ได้กำหนดหลักเอาไว้ว่า จะทำการถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ก็ต่อเมื่อ ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนยินยอมพร้อมกันทั้งหมด…..เว้นแต่จะได้ตกลงกันเอาไว้เป็นอย่างอื่น
เรื่องที่ 4 นั้น จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ สิทธิหน้าที่และความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน ว่ามีอะไรบ้าง…..( ม.1037 + ม.1038 + ม.1040 + ม.1041 + ม.1042 + ม.1043 + ม.1047 + ม.1048 )…..ในส่วนนี้.ให้แยกพิจารณาเป็นกรณีๆไป กล่าวคือ……4.1 สิทธิตาม ม.1037นั้น…จะเป็นสิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นๆทุกคนนอกจากผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ……มีสิทธิที่ไต่ถามถึงการงานที่จัดการอยู่ได้ทุกเมื่อ……อีกทั้งยังมีสิทธิที่จะตรวจคัดสำเนาสมุด บัญชีและเอกสารใดๆได้อีกด้วย…….4.2 สิทธิตาม ม.1038 นั้น…..จะเป็นกรณีที่กฎหมายห้ามมิให้ผู้เป็นหุ้นส่วนประกอบกิจการค้าค้าแข่งกับห้างฯ……( ในกรณีนี้จะต้องดู ม.1066 เปรียบเทียบด้วยเสมอ )……ข้อสังเกต กรณีตาม ม.1038 นี้ จะห้ามผู้ที่เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดทุกคน……ไม่ว่าจะเป็นผู้จัดการ หรือไม่ได้เป็นผู้จัดการ……กิจการที่ต้องห้ามมิให้กระทำการแข่ง ก็คือ กิจการที่มีสภาพดุจเดียวกับกิจการของห้าง และกิจการนั้นเป็นกิจการที่ไปแข่งขันกับกิจการของห้าง……และผลของการที่ฝ่าฝืน ก็คือ ผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นๆชอบที่จะเรียกเอาผลกำไรซึ่งผู้ที่ฝ่าฝืนนั้นหามาได้ทั้งหมด….หรือ จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อการที่ห้างฯได้รับความเสียหายเพราะเหตุนั้น………4.3 สิทธิตาม ม.1040 นั้น…..จะเป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นไม่มีสิทธิที่จะชักนำเอาบุคคลอื่นเข้ามาเป็นหุ้นส่วนใหม่ในห้างฯ……โดยไม่ได้รับความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นๆหมดทุกคน……นอกจากจะตกลงกันเอาไว้เป็นอย่างอื่น……4.4 สิทธิตาม ม.1041 นั้น…..จะเป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนไม่มีสิทธิที่จะโอนส่วนกำไรของตนในห้างฯ……โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลาย…..และถึงแม้ว่าจะมีการโอนส่วนกำไรไปให้แก่บุคคลภายนอกแล้ว ก็ตาม…..ท่านว่าบุคคลภายนอกคนนั้นก็ไม่สามารถเข้ามาเป็นหุ้นส่วน ได้……ข้อสังเกต กรณีตาม ม.1040 และ ม.1041นั้นจะนำเอามาใช้บังคับกับกรณีที่ห้างฯนั้นยังคงดำรงอยู่เท่านั้น…..จะไม่นำไปใช้บังคับกับกรณีที่ห้างนั้นเลิกกันไปแล้ว……ในกรณีตาม ม.1041นั้น ใช้นำไปใช้กับกรณีที่มีการโอนหุ้นไปให้กับบุคคลภายนอกด้วย……กล่าวคือ การโอนหุ้นไปให้กับบุคคลภายนอกจะต้องได้รับความยินยอมเห็นชอบจากผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนเสียก่อน……จึงจะกระทำการโอนได้ นั่นเอง……และกรณีตาม ม.1040 และ ม.1041นั้น จะเป็นกรณีที่ชักนำบุคคลภายนอกให้เข้ามาเป็นหุ้นส่วนใหม่……หารวมไปถึงการโอนหุ้นกันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเองแต่อย่างใดไม่…..ดังนั้นผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเอง จึงสามารถที่จะโอนหุ้นให้แก่กันได้…..ไม่ต้องห้ามตาม ม.1041……4.5สิทธิหน้าที่และความรับผิดตาม ม.1042 นั้น…..ได้กำหนดหลักในเรื่องสิทธิ หน้าที่และความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการกับของผู้เป็นหุ้นส่วนเอาไว้ว่า ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยตัวแทนเพียงเท่าที่นำเอามาใช้บังคับได้เท่านั้น……..4.6 ความรับผิด ตาม ม.1043……จะเป็นกรณีที่หุ้นส่วนที่ไม่มีอำนาจเข้าไปจัดการกิจการของห้างฯ ก็ดี หรือ ผู้ที่เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการนั้นได้จัดการไปนอกวัตถุประสงค์ของห้าง ก็ดี……ในกรณีดังกล่าวนี้ ม.1043 จึงกำหนดหลักให้นำเอากฎหมายว่าด้วยการจัดการนอกสั่งมาใช้บังคับ……ข้อสังเกต กรณีตาม ม.1043นี้ จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับหุ้นส่วนด้วยกันเอง……ไม่ว่าจะเป็นหุ้นส่วนคนที่ไม่มีอำนาจจัดการได้เข้าไปจัดการงานของห้างฯ…….หรือ ไม่ว่าจะเป็นหุ้นส่วนที่มีอำนาจจัดการ แต่ดันไปจัดการนอกขอบอำนาจที่ตนมีอยู่…….อย่างนี้จึงต้องนำเอาเรื่องของการจัดการงานนอกสั่งมาใช้บังคับระหว่างหุ้นส่วนด้วยกันเอง………4.7 สิทธิหน้าที่และความรับผิด ตาม ม.1047……กรณีนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิของผู้เป้นหุ้นส่วนซึ่งได้ออกจากหุ้นส่วนไปแล้ว…….ผู้เคยเป็นหุ้นส่วนคนนั้นยังคงมีสิทธิที่จะใช้ห้างฯงดใช้ชื่อของตนเป้นชื่อของห้างฯได้…….และถ้าผู้ที่เคยเป็นหุ้นส่วนนั้นไม่ได้ใช้สิทธิตาที่ ม.1047 ได้ให้ไว้……ท่านว่า ผู้เคยเป็นหุ้นส่วนนั้นจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก ตาม ม.1054….โดยยังคงรับผิดต่อบุคคลภายนอกเสมือนตนยังเป็นหุ้นส่วนอยู่ ทั้งนี้ตามที่ ม.1054ได้บัญญัติเอาไว้……( ม.1047 จะต้องดูคู่กับ ม.1054 เสมอ )………4.8 สิทธิตาม ม.1048……กรณีนี้จะเป็นสิทธิของผู้เป็นหุ้นส่วนที่อาจเรียกเอาส่วนของตนได้จากผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นๆในกิจการค้าที่ไม่ได้ปรากฏชื่อของตนได้……..( ย้ำกรณีตาม ม.1048นี้จะต้องดูคู่กับ ม.1049ด้วยเสมอ นะครับ )…..โดยกรณีตาม ม.1048 จะเป็นเรื่องระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเอง……ส่วน ม.1049 นั้น จะเป็นเรื่องระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนกับบุคคลภายนอก…..ดังนั้นถ้าเป็นการเรียกเอาส่วนของตนจากผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเอง……ม.1048 กำหนดหลักไว้ว่า สามารถกระทำการเรียกเอาส่วนของตนได้……แม้ว่ากิจการค้านั้นจะไม่ปรากฏชื่อของตนก็ตาม……แต่ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นจะเรียกเอาส่วนของตนจากบุคคลภายนอกได้ ท่านว่า จะเรียกได้ ก็ต่อเมื่อ กิจการค้านั้นต้องปรากฏชื่อของตนอยู่ด้วย……ดังนั้นถ้าหากกิจการนั้นไม่ได้ปรากฏชื่อของตนอยู่เลย….ผลก็คือ ผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นจะถือเอาสิทธิใดๆ คือ เรียกเอาส่วนของตน …..จากบุคคลภายนอกไม่ได้ นั่นเอง

1. ชุดความสัมพันธ์ระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน กับ บุคคลภายนอก…..ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.1049 + ม.1050 + ม.1051 + ม.1052 + ม.1053 + ม.1054……….เราสามารถแยกพิจารณาแต่ละกรณีได้ดังนี้……..3.1 กรณีตาม ม.1049 นี้ นอกจากที่ให้เราพิจารณาคู่กับ ม.1048 ตามที่ได้กล่าวข้างต้นแล้ว…….ในส่วนนี้เราจะต้องพิจารณาคู่กับ ม.1065 ของห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนเพื่อเปรียบเทียบกันด้วย นะครับ…..กล่าวคือ ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน นั้นสามารถที่จะถือเอาประโยชน์กับบุคคลภายนอก……ในบรรดาสิทธิต่างๆที่ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนนั้นได้มา……แม้ว่าในกิจการดังกล่าวจะไม่ปรากฏชื่อของตนเลย ก็ตาม…….( ในขณะที่ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น….ไม่สามารถที่จะถือเอาประโยชน์กับบุคคลภายนอก…..ในสิทธิต่างๆที่ห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นได้มา…..ถ้าในกิจการค้าดังกล่าวนั้นไม่ปรากฏชื่อของตน )……..( ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจให้ดีๆนะครับ )……3.2 กรณีความรับผิดของผู้ที่เป็นหุ้นส่วนทุกคน ตาม ม.1050……กรณีตาม ม.1050นี้ นับเป็นกรณีที่สำคัญมากอีกกรณีหนึ่ง…..ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจให้ดีๆนะครับ……กรณีตาม ม.1050นี้ จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความรับผิดของบรรดาผู้ที่เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายที่จะมีต่อบุคคลภายนอก……ถ้ามีผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งนั้นได้กระทำการไปในทางที่เป็นธรรมดาการค้าของห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น…..ท่านว่า ผู้ที่เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด…..3.2.1 จะต้องผูกพันในการนั้นๆด้วย……3.2.2 และจะต้องรับผิดร่วมกันโดยไม่จำกัดจำนวนในการชำระหนี้…..อันได้ก่อให้เกิดขึ้นมาเพราะได้จัดการไปในทางที่เป็นธรรมดาการค้าขายของห้างฯนั้น…….ข้อควรระวังก็คือ จะต้องปรากฏว่าการกระทำนั้นได้กระทำไปในทางที่เป็นธรรมดาการค้าขายของห้างฯ…….และผู้กระทำการนั้น ก็จะต้องทำไปในฐานะของห้างฯ….( ไม่ใช่ทำไปในฐานะส่วนตัว นะครับ )……และหลักในการพิจารณาในเรื่องการกระทำที่เป็นธรรมดาการค้าขายของห้างฯ ก็คือ a ) จะต้องกระทำการภายในขอบวัตถุประสงค์ของห้างฯ แล้วก็ได้กระทำตามขอบวัตถุประสงค์นั้น……b ) ได้กระทำการที่เกี่ยวเนื่องกับขอบวัตถุประสงค์ หรือ ได้กระทำการที่จำเป็นในการดำเนินกิจการนั้น……c ) โดยจะต้องพิจารณาถึงสภาพแห่งธุรกิจของห้างฯ และประเพณีโดยทั่วๆไปที่ห้างฯที่มีลักษณะเดียวกันนั้นเขาย่อมจะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกันกับที่ตนได้กระทำไปนั้น……และข้อที่ควรระวังอีกข้อหนึ่ง ก็คือ กรณีตาม ม.1050นี้ จะต้องเป็นกรณีที่ไม่ได้มีการมอบหมาย หรือ มอบอำนาจให้อย่างชัดแจ้ง นะครับ…….ซึ่งถ้าหากว่าได้มีการมอบหมาย หรือได้รับมอบอำนาจจากหุ้นส่วนอย่างชัดแจ้งแล้ว…..จะไม่เข้า ม.1050 นี้……แต่จะไปเข้าในเรื่องของการมอบอำนาจตามธรรมดาไป…..( ส่วนมากจะเป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนที่ไม่มีอำนาจมากระทำการที่เป็นธรรมดาทางการค้าขายของห้างฯ นะครับ )……ข้อสังเกต กรณีตาม ม.1050นี้ จะคุ้มครองบุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตเท่านั้น นะครับ……ดังนั้น ถ้าหากว่าบุคคลภายนอกไม่สุจริต เช่นรู้อยู่แล้วว่าเป็นผู้ไม่มีอำนาจกระทำฯลฯเป็นต้น…..กรณีเช่นนี้ผู้เป็นหุ้นส่วนคนอื่นๆสามารถอ้างได้ว่าการกระทำนั้นย่อมไม่ผูกพันห้างฯได้………3.3 กรณีความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนที่ออกไปจากห้างฯแล้ว ตาม ม.1051….ในส่วนนี้ท่านว่า ผู้ที่เป็นหุ้นส่วนที่ออกไปแล้วนั้น ก็ยังคงต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกนั้นอยู่…..แต่จะรับผิดเพียงในจำนวนหนี้ที่ก่อให้เกิดขึ้นมาก่อนที่ที่ตนจะออกไปจากห้างฯเท่านั้น……..3.4 กรณีความรับผิดของผู้ที่เข้ามาเป็นหุ้นส่วนใหม่ ตาม ม.1052……ในส่วนนี้ท่านว่า ผู้ที่เข้ามาเป็นหุ้นส่วนใหม่นั้น จะต้องรับผิดในหนี้ที่แม้ว่าจะได้ก่อให้เกิดขึ้นมาก่อนที่ตนจะเข้ามาเป็นหุ้นส่วนใหม่นั้นด้วย………3.5 กรณีที่แม้ว่าผู้เป็นหุ้นส่วนจะมีข้อจำกัดอำนาจ ก็ตาม แต่ข้อจำกัดดังกล่าวก็ไม่ผูกพันบุคคลภายนอก ตาม ม.1053…..ในส่วนนี้ก็เป็นผลมาจากหลักบุคคลสิทธินั่นเอง กล่าวคือ ข้อที่ตกลงจำกัดอำนาจของผู้เป็นหุ้นส่วนนั้น เป็นข้อตกลงภายในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเอง……ดังนั้นข้อตกลงภายในดังกล่าวจึงย่อมไม่สามารถที่จะใช้ยันกับบุคคลภายนอก ได้ ตามหลักบุคคลสิทธินั่นเอง…….( จะใช้ยันกันได้เฉพาะในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันเองเท่านั้น )……แต่อย่างไรก็ตามบุคคลภายนอกนั้นจะต้องสุจริตด้วย จึงจะอ้าง ม.1053นี้ขึ้นมายันผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นได้……ดังนั้นถ้าหากว่าบุคคลภายนอกไม่สุจริตเสียแล้ว ก็ย่อมไม่อาจอ้าง ม.1053 ยกขึ้นมาอ้างได้อีกต่อไป………3.6 กรณีความรับผิดของผู้แสดงออกว่าเป็นหุ้นส่วน ตาม ม.1054……ในส่วนนี้จะเป็นเรื่องที่ว่ามีบุคคลอื่นที่มิใช่เป็นหุ้นส่วน……ได้มาแสดงตนว่าเป็นหุ้นส่วนของห้างฯ…..ไม่ว่าโดยการแสดงออกด้วยวาจา ก็ดี…..หรือ ไม่ว่าโดยการแสดงออกด้วยลายลักษณ์อักษร ก็ดี……หรือ ไม่ว่าโดยการแสดงออกด้วยกริยา ก็ดี……หรือ ไม่ว่าโดยยินยอมให้เขาใช้ชื่อของตนเป็นชื่อห้างฯ ก็ดี…..หรือ ไม่ว่า โดยรู้อยู่แล้วแต่ไม่คัดค้านกลับปล่อยให้เขาแสดงว่าตนเป็นหุ้นส่วน ก็ดี…….ม.1054 ได้กำหนดให้บุคคลดังกล่าวเหล่านี้…..จะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในบรรดาหนี้ทั้งหลายของห้างฯ……เสมือนเป็นหุ้นส่วน ของห้างฯนั้นด้วย……ในกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนตายนั้น……ม.1054 วรรค 2 ได้บัญญัติคุ้มครองผู้ตายคนนั้นด้วย กล่าวคือ ผู้เป็นหุ้นส่วนที่ได้ตายไปแล้วนั้นไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลถายนอกแต่อย่างใดๆเลย…..แม้ว่าชื่อห้างจะใช้ชื่อของผู้ตายอยู่ ก็ตาม

4. ชุดการเลิก และ การชำระบัญชี ของห้างหุ้นส่วนสามัญ……ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ( ม.1055 + ม.1060 ) + ( ม.1057 + ม.1058 + ม.1059 ) + ( ม.1061 + ม.1062 + ม.1063 )……4.1 โดยคำถามในส่วนนี้ มักจะเกี่ยวกับมีเหตุใดบ้างที่ทำให้ห้างฯต้องเลิกไปโดยผลของกฎหมาย หรือโดยผลของสัญญา……และมีกรณีใดบ้างที่ทำให้ห้างฯยังไม่เลิก…..( ม.1055 + ม.1060 )…..ในส่วนนี้ .…..4.2 มีกรณีใดบ้างที่ทำให้ห้างต้องเลิกไปโดยคำสั่งของศาล…..( ม.1057 + ม.1058 + ม.1059 )……4.3 และเมื่อห้างเลิกไปแล้ว จะต้องมีการชำระบัญชีกันอย่างไร……( ม.1061 + ม.1062 + ม.1063 )
ข้อสังเกตในชุดที่ 4 นี้……..4.1 ในการเลิกห้างฯนั้น ก่อนอื่นเราควรที่จะทำความเข้าใจก่อนว่า จะมีการเลิกห้างฯได้ 3 กรณีด้วยกัน กล่าวคือ……กรณีที่ 1 เป็นการเลิกห้างฯโดยข้อสัญญา ตาม ม.1055 อนุฯ 1 ถึงอนุฯ 3……กรณีที่ 2 เป็นการเลิกห้างฯโดยบทบัญญัติของกฎหมาย ตาม ม.1055 อนุฯ 4 ถึง อนุฯ 5…..กรณีที่ 3 เป็นการเลิกห้างโดยคำสั่งของศาล ตาม ม.1057……..ดังนั้นการเลิกห้างฯ ในหัวข้อที่ 4.1 นี้ จึงเป็นการเลิกห้างโดยผลของสัญญา และโดยผลของกฎหมาย ตาม ม.1055 นั่นเอง……โดย ม.1055จะเป็นสาเหตุที่ทำให้ห้างฯต้องเลิกไป……ถ้าเป็นการเลิกโดยผลของข้อสัญญาแล้วไม่ค่อยมีปัญหาอะไร เพราะส่วนมากจะมีกำหนดเวลา หรือ มีกำหนดเงื่อนไขของการเลิกเอาไว้แล้ว…..ดังนั้นเมื่อสิ้นเวลา หรือ สิ้นเงื่อนไข ไปแล้ว ห้างฯก็เป็นอันเลิกกันไป……ส่วนการบอกเลิกในกรณีที่เป็นการเลิกโดยผลของกฎหมายนั้น…….ท่านว่าจะต้องไปบอกเลิก ตามที่ ม.1056 ได้กำหนดเอาไว้อีกครั้งหนึ่งก่อน ห้างฯจึงจะเลิกไป กล่าวคือ ห้างฯจะเลิกได้ก็ต่อเมื่อผู้ที่เป็นหุ้นส่วนได้ไปบอกเลิกเมื่อสิ้นรอบบัญชีเงินของห้างฯ……และจะต้องบอกกล่าวความจำนงที่จะเลิกเอาไว้ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 6 เดือนอีกด้วย…… และจะต้องเป็นห้างประเภทที่ไม่ได้มีกำหนดเวลาเลิกเอาไว้ ……( ดังนั้นถ้ามิได้ปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่ ม.1056ได้กำหนดหลักเอาไว้แล้ว……ห้างฯก็ยังไม่เลิกกันไป นั่นเอง )……( และในกรณีที่จะต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้านั้น ก็คือ กรณีที่เป็นการเลิกห้างฯโดยที่ไม่มีเหตุผิดสัญญา ที่จะต้องบอกกล่าวล่วงหน้า 6 เดือนนั่นเอง ……ดังนั้นถ้าเป็นกรณีที่เป็นการเลิกห้างฯโดยที่มีเหตุมาจากการผิดสัญญา…….กรณีเช่นนี้ไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ตาม ม.1065นี้แต่อย่างใด )……และถ้าเป็นการเลิกห้างฯ โดยผลของกฎหมาย ตาม ม.1055 (4) , (5) กล่าวคือ เมื่อได้มีการบอกเลิกเมื่อสิ้นรอบบัญชีและได้บอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 6 เดือน ตาม ม.1055(4)แล้ว ก็ดีหรือ เมื่อผู้เป็นหุ้นส่วนตาย หรือ ล้มละลาย หรือ ตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ ตาม ม.1055(5) ก็ดี…….แล้วมีผู้เป็นหุ้นส่วนที่ยังอยู่ในห้างฯนั้น…..มารับซื้อหุ้นของผู้ที่ออกไปมาเป็นของตน…..ในกรณีเช่นนี้ ม.1060 ได้กำหนดเอาไว้ว่า สัญญาห้างหุ้นส่วนนั้น ก็ยังคงใช้ได้ต่อไปในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนที่ยังอยู่ด้วยกัน….ซึ่งก็หมายความว่าห้างฯก็ยังไม่เลิกไป นั่นเอง
ข้อสังเกตของหัวข้อ 4.2 ในการเลิกห้างฯโดยคำสั่งของศาลนั้นจะมี มาตราที่เราต้องดูเป็นชุด คือ ม.1057 + ม.1058 + ม.1059……โดยเราจะต้องดูที่ ม.1057ก่อน เพราะว่า ถ้าเข้ากรณีใดกรณีหนึ่งที่กำหนดเอาไว้ใน ม.1057 ท่านว่า ผู้ที่เป็นหุ้นส่วนเท่านั้น…..ที่มีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งให้ห้างฯเลิกกันไปเสียก็ได้……( คำว่า ” ก็ได้ ” ในที่นี้หมายถึงเป็นอำนาจของศาลที่สามารถจะใช้ดุลพินิจในการที่จะสั่งให้เลิกห้างฯ หรือไม่ก็ได้ นั่นเอง )……และถ้าศาลเห็นว่ายังไม่ควรที่จะสั่งเลิกห้างฯ ศาลก็อาจจะใช้วิธีสั่งให้กำจัดหุ้นส่วนคนนั้นๆออกไปแทนการเลิกห้างฯ ตาม ม.1058 เสียก็ได้……สรุปได้ว่า แม้จะมีเหตุที่จะเลิกห้างฯโดยคำสั่งศาล ก็ตาม ศาลก็อาจจะไม่สั่งให้เลิกห้างฯก็ได้……ถ้าเข้ากรณีของการกำจัดผู้เป็นหุ้นส่วน ตาม ม.1058……หรือจะเข้ากรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนยังคงดำเนินการค้าอยู่ต่อไปโดยยังมิได้ชำระบัญชี หรือ ยังมิได้ชำระเงินกันให้เสร็จสิ้นกันไป……ตาม ม.1059 นั้น โดยให้ถือว่า ผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งปวงได้ตกลง…..คงทำการเป็นหุ้นส่วนกันสืบไปโดยไม่มีกำหนดเวลา นั่นเอง……( และถ้าหากว่าผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายที่ยังคงอยู่นั้นได้ตกลงที่จะเข้ารับซื้อของผู้ที่ออกจากหุ้นส่วนไป ตาม ม.1060…..ห้างก็ยังไม่เลิก )
ข้อสังเกตในหัวข้อที่ 4.3 นั้น………ม.1061 เป็นเรื่องของการชำระบัญชี…..ส่วน ม.1062 และ ม.1063 นั้น จะเป็นเรื่องของวิธีการการชำระบัญชี……a ) โดยหลักแล้วเมื่อห้างฯเลิกกันไปแล้ว ก็จะต้องมีการชำระบัญชีเสมอ…..ยกเว้นแต่ว่าจะมีการตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นๆในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน หรือ ยกเว้นแต่ว่า ห้างฯนั้นศาลได้สั่งให้ล้มละลาย ตาม ม.1061 วรรค 1…..ซึ่งถ้าเข้ากรณีดังกล่าวนั้นแล้วก็ไม่ต้องมีการชำระบัญชี……ส่วนในวรรค 2 นั้นจะเป็นเรื่องของการงดการชำระบัญชีจะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าหนี้ หรือ จพท…….ส่วนวรรค 3 ก็จะเป็นเรื่องที่กำหนดว่าใครเป็นผู้ชำระบัญชี…..วรรค 4 จะเป็นเรื่องที่ว่าในการแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี ให้วินิจฉัยชี้ขาดโดยคะแนนเสียงข้างมากของผู้เป็นหุ้นส่วน…….b ) การชำระบัญชี ก็คือ การรวบรวมทรัพย์สินทั้งหมดของห้างฯมาเพื่อที่จะชำระหนี้คืนค่าหุ้นให้แก่หุ้นส่วน…..ถ้ามีเงินเหลือก็แบ่งเป็นกำไร หรือ ถ้าไม่พอคืน ก็ต้องมาเฉลี่ยกันขาดทุน ……..ดังนั้นจากคำนิยามของการชำระบัญชีนั้น ทำให้เราเห็นได้ว่า การที่จะมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งกำไร หรือ จะต้องชดใช้ให้ห้างฯเท่าใดนั้น…..ท่านว่า จะต้องมีการชำระบัญชีมาก่อนเสมอ……และในการชำระบัญชีนั้น ม.1062 ได้กำหนดให้ทำโดยลำดับดังต่อไปนี้…..ให้ชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกเสียก่อน…..หลังจากนั้นให้ใช้เงินทดรองค่าใช้จ่ายซึ่งผู้เป้นหุ้นส่วนได้ออกของตนไปก่อน…..เหลือเท่าใดก็ให้คืนทรัพย์ผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนที่ได้ลง…..หลังจากนั้นเหลือเท่าใดก็ให้มาเฉลี่ยกำไร…..และถ้าขาดไปเท่าใด ม.1063ได้กำหนดให้เฉลี่ยกันชดใช้
ข้อสังเกต ในส่วนของห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นนับว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างมากที่เราควรทำความเข้าใจให้จงดี…..เพราะจะได้เป็นพื้นฐานเพื่อปูไปสู่ในเรื่องของห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน และห้างหุ้นส่วนจำกัด ต่อไป….แล้วจะเข้าใจได้ง่ายขึ้น

B. และในส่วนของห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนนั้น เราควรทำความเข้าใจในเบื้องต้นก่อนว่าจริงๆแล้วห้างหุ้นส่วสามัญจดทะเบียนนั้น……ก็มีพื้นฐานมาจากห้างหุ้นส่วนสามัญมาก่อนทุกประการ……แล้วจึงค่อยมาจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในภายหลัง…..ดังนั้นจึงยังคงต้องใช้หลักกฎหมายของห้างหุ้นส่วนสามัญอยู่…..เพียงแต่อาจจะมีข้อแตกต่างกันบ้างบางประการเท่านั้น……….ด้วยเหตุนี้ในส่วนของห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนนั้น……เราก็เพียงแต่ทำความเข้าใจในข้อที่แตกต่างกันก็ใช้ได้แล้ว……ซึ่งข้อแตกต่างที่เด่นๆจะมีดังนี้
1. แตกต่างกันในเรื่องการถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอก……ในส่วนของห้างฯจดทะเบียนอยู่ที่ ม .1065 ซึ่งได้กำหนดเอาไว้อย่างชัดเจนว่าผู้เป้นหุ้นส่วนสามารถที่จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกในบรรดาสิทธิห้างฯจดทะเบียนอันได้มา……แม้ว่าในกิจการนั้นจะไม่ปรากฏชื่อของตนเลยก็ตาม……ส่วนของห้างฯสามัญ จะอยู่ที่ ม.1049 ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนไม่อาจถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกในกิจการค้าขายที่ไม่ปรากฏชื่อของตน
2. แตกต่างกันในเรื่องการทำกิจการค้าขายแข่งขันกับห้างฯ……ในส่วนของห้างฯจดทะเบียน จะอยู่ใน ม.1066 ซึ่งได้กำหนดเอาไว้อย่างชัดเจนว่า ข้อห้ามมิให้ประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดยีวกันและเป็นการแข่งขันกับกิจการของห้างดังกล่าวนี้…..มิให้ใช้ ถ้าหากผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายได้รู้อยู่แล้วในเวลาเมื่อลงทะเบียนห้างฯนั้นว่า ผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นได้ทำกิจการ หรือได้เข้าเป็นหุ้นส่วนอยู่ในห้างฯอื่น….อันมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกันกับห้างฯ …..และในสัญญาเข้าหุ้นส่วนที่ทำไว้ต่อกันนั้น ก็มิได้บังคับให้ถอนตัวออก……ส่วนของห้างฯสามัญ จะอยู่ที่ ม.1038 ซึ่งมิได้กำหนดเอาเช่น ม.1066…..( นอกเหนือจากนี้ ก็จะมีลักษณะที่เหมือนกันคือ ต่างก็ห้ามมิให้ผู้เป็นหุ้นส่วนประกอบกิจการอันมีสภาพอย่างเดียวกับห้างฯและเป็นการแข่งขันกับห้างฯ )……นอกจากนี้ของ ม.1038 นั้น ถ้าใครฝ่าฝืนก็ชอบที่จะเรียกเอาผลกำไรได้ และอายุความ 1 ปี……ส่วนของ ม.1066นั้นไม่มีแต่จะไปปรากฏอยู่ที่ ม.1067กล่าวคือ ผู้ที่ฝ่าฝืนก็ชอบที่จะเรียกเอาผลกำไรเช่นเดียวกันกับ ม.1038……..ม.1066 ยังมีข้อห้ามเพิ่มเติมขึ้นมาในส่วนที่ ห้ามมิให้เข้าเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งประกอบกิจการอันมีสภาพเป้นอย่างเดียวกันและแข่งขันกับกิจการของห้างฯ…..ของ ม.1038 ไม่มีในส่วนนี้……….( ข้อสังเกตจะห้ามเฉพาะเข้าไปเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น……ดังนั้นถ้าเข้าเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด ไม่ต้องห้ามตาม ม.1066แต่อย่างใดๆเลย )
3. แตกจ่างกันในเรื่องความรับผิดเมื่อได้ออกไปจากห้างฯแล้ว……ในส่วนของห้างฯจดทะเบียน จะอยู่ที่ ม.1068 ซึ่งได้กำหนดเอาไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้เป็นหุ้นส่วนยังคงต้องรับผิดอันเกี่ยวกับหนี้ที่ห้างฯได้ก่อให้เกิดขึ้นมาก่อนที่ตนจะออกไปจากห้างฯ…..แต่จะจำกัดความรับผิดเอาไว้เพียงแค่ 2 ปีนับแต่ออกจากห้างฯเท่านั้น……ส่วนห้างฯสามัญ จะอยู่ที่ ม.1051….ผู้ที่ออกไปนั้นจะต้องรับผิดในหนี้ของห้างฯที่เกิดขึ้นมาก่อนที่ตนจะออกไปจากห้างฯ…..โดยไม่มีการจำกัดเวลา
4. ในส่วนของการเลิกห้างฯนั้น……ในส่วนของห้างฯจดทะเบียน จะอยู่ที่ ม.1069 โดยเหตุที่จะทำให้ห้างฯเลิกนั้น……นอกจากที่บัญญัติไว้ใน ม.1055แล้ว….ม.1069ก็ยังบัญญัติเพิ่มเติมขึ้นมาอีกว่า เมื่อห้างฯนั้นล้มละลาย….ย่อมทำให้ห้างฯจดทะเบียนนั้นเลิกกันด้วย
5. ส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามา ก็คือ ความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนหลังจากที่ห้างฯได้จดทะเบียนแล้ว จะกลายเป็นเสมือนกับผู้ค้ำประกัน ซึ่งต้องรับผิดในหนี้ของห้างฯ โดยบัญญัติไว้ใน ม.1070 ( โดยจะใช้หลักเดียวกับ ม.686 )……กล่าวคือ เมื่อห้างฯผิดนัด เจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกให้ชำระเอาแต่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งก็ได้
6. ส่วน ม.1071นั้น ( จะใช้หลักเดียวกันกับ ม.689 )…..แต่จะต่างกันตรงที่ ม.1071นั้นจะอยู่ในดุลพินิจของศาลว่าจะเอา หรือ ไม่เอา ก็ได้……ส่วน ม.689นั้นบังคับว่าเจ้าหนี้จะต้องไปเอาชำระหนี้จากลูกหนี้ก่อน…….ถ้าพิสูจน์ได้ว่า สินทรัพย์ของห้างฯยังมีพอที่จะชำระหนี้ได้ และการที่จะบังคับเอาแก่ห้างฯนั้นไม่เป็นการยาก…..ท่านว่าศาลจะบังคับให้เอาสินทรัพย์ของห้างฯนั้นชำระหนี้ก่อนก็ได้……( สุดที่ศาลจะเห็นสมควร )

C. และในส่วนของห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น เราสามารถแยกพิจารณาออกได้ดังต่อไปนี้
1. ชุดบ่อเกิดของห้างฯจำกัด…..ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.1077 + ม.1078 + ม.1079
2. ชุดสะพานเชื่อม……..ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.1080
3. ชุดหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด……ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ( ม.1081 + ม.1082 ) + ( ม.1083 + ม.1084 + ม1085 + ม.1086 ) + ม.1088 + ม.1090 + ม.1091 + ม.1092 + ม.1093 + ม.1094 + ม.1095
4. ชุดหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด……ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.1080 + ม.1087

1. ชุดบ่อเกิดของห้างฯจำกัดนี้…..ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.1077 + ม.1078 + ม.1079……ในส่วนนี้เราพึงทำความเข้าใจห้างฯจำกัดนี้จะต้องมีหุ้นส่วนอยู่ 2 ประเภท กล่าวคือ หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด จำพวกหนึ่ง กับ หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด อีกจำพวกหนึ่ง…..( ม.1077 )……ได้เข้ามาจดทะเบียนตั้งเป็นห้างฯจำกัดขึ้นมา….( ม.1078 )…..โดยกฎหมาย ม.1079 ได้กำหนดเงื่อนไขเอาไว้ว่า ตราบใดที่ห้างฯจำกัดนั้นยังมิได้ไปจดทะเบียน ท่านให้ถือว่า ห้างฯจำกัดดังกล่าว ยังคงมีสถานะเป็นห้างฯสามัญอยู่เสมอ…..ดังนั้นในช่วงเวลาดังกล่าวถ้าหากเกิดหนี้ขึ้นมา ท่านว่า ผู้ที่เป็นหุ้นส่วนทั้งหมดนั้นจะต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างฯ……โดยไม่จำกัดจำนวน……( ซึ่งจะรวมไปถึงหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดที่จะต้องร่วมรับผิดในหนี้โดยไม่จำกัดจำนวน ด้วย )…..ในชุดนี้ควรทำความเข้าใจ ม.1079 ให้ดีๆนะครับ


2. ชุดสะพานเชื่อม……..ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.1080…..( นับเป็นมาตราที่สำคัญอีกหนึ่งมาตราที่ควรทำความเข้าใจให้จงดี )……มาตรานี้จะทำหน้าที่เป็นสะพานเพื่อมุ่งไปสู่ห้างฯจดทะเบียนและห้างฯสามัญต่อไป……กล่าวคือ ถ้าบทบัญญัติใดก็ตาม ที่ห้างฯจำกัดมิได้บัญญัติเอาไว้โดยเฉพาะแล้ว…..เราจะต้องนำเอาบทบัญญัติในห้างฯสามัญมาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม…..โดยที่จะต้องนำเอาบทบัญญัติของห้างฯจดทะเบียนมาใช้บังคับก่อน…..และถ้าในเรื่องนั้นห้างฯจดทะเบียนไม่บัญญัติเอาไว้โดยเฉพาะแล้ว….จึงค่อยไปนำเอาบทบัญญัติของห้างฯสามัญมาใช้บังคับเป็นลำดับต่อไป……( นั่นก็คือ เราจะต้องไปดูที่ห้างฯจดทะเบียนก่อน….ถ้ามี ก็ต้องเอาของห้างฯจดทะเบียนมาใช้ก่อน……ในกรณีนี้เราไม่จำต้องไปดูของห้างฯสามัญอีกแล้ว.…..แต่ถ้าไม่มี เราจึงค่อยไปเอาของห้างฯสามัญมาใช้เป็นลำดับต่อไป นั่นเอง )
ข้อสังเกต บทบัญญัติที่มีบัญญัติเอาไว้โดยเฉพาะในห้างฯจำกัด……ส่วนมากจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด……( ให้กลับไปพิจารณาแต่ละชุดที่ผมได้แยกเอาไว้ให้แล้วก็จะเห็นภาพได้อย่างชัดเจน )……ดังนั้นถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดแล้ว…..เราก็ต้องไปดูก่อนว่าในห้างฯจำกัดได้มีบัญญัติไว้โดยเฉพาะหรือไม่…..ถ้ามี ก็ต้องใช้ตามที่ได้บัญญัติโดยเฉพาะนั้น……แต่ถ้าไม่มี เราก็ต้องไปดูว่าในห้างฯจดทะเบียนมีบัญญัติไว้หรือไม่…..ถ้ามี เราก็ต้องใช้ตามที่ห้างฯจดทะเบียนได้บัญญัติเอาไว้นั้นโดยผ่าน ม.1080…..แต่ถ้าไม่มี เราก็ต้องไปดูที่ห้างฯสามัญต่อไป……( ส่วนหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดนั้น….จะมีบัญญัติไว้ในห้างฯจำกัดเพียง 1 มาตราเท่านั้น คือ ม.1087……ดังนั้นส่วนมากจึงต้องอาศัย ม.1080 เป็นสะพานเชื่อมไปสู่ห้างฯจดทะเบียนก่อน….แล้วจึงไปสู่ห้างฯสามัญต่อไปเป็นที่สุดท้าย )
ข้อแนะนำ ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น ถ้าเราศึกษาในเรื่องของหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดที่ได้บัญญัติเอาไว้ในห้างฯจำกัดให้ดีแล้ว…….เราก็จะรู้ได้โดยอัตโนมัติว่าจะมีกรณีใดบ้างที่ต้องใช้ ม.1080 เป็นสะพานเชื่อมไปสู่ห้างฯจดทะเบียน และ ห้างฯสามัญ
มาตราที่จะต้องผ่าน ม.1080……ในส่วนของห้างฯจดทะเบียน ก็คือ ม.1065 + ม.1066 + ม.1067 + ม.1068 + ม.1070 + ม.1071……ในส่วนของห้างฯสามัญ ก็คือ ม.1025 + ม.1033ม.1034 + ม.1040 + ม.1041 + ม.1044 + ม.1050 + ม.1052 + ม.1055 + ม.1060

3. ชุดหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด……ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ( ม.1081 + ม.1082 ) + ( ม.1083 + ม.1084 + ม1085 + ม.1086 ) + ม.1088 + ม.1090 + ( ม.1091 + ม.1092 + ม.1093 ) + ม.1094 + ม.1095
ม.1081 + ม.1082……..ม.1081 จะเป็นกรณีที่ห้ามมิให้เอาชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดมาเรียกขานระคนเป็นชื่อห้าง….( ให้รวมไปถึงชื่อสกุลด้วย )……และผลของการฝาฝืนจะอยู่ที่ ม.1082 กล่าวคือ หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดนั้น……จะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกเสมือนดังว่าเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด นั่นเอง……และไม่ต้องอาศัย ม.1080 แต่อย่างใด
ม.1083 + ม.1084 + ม1085 + ม.1086……ม.1083 จะเป็นกรณีที่กำหนดให้หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจะต้องลงหุ้นเป็นเงิน หรือ ทรัพย์สินอย่างอื่นๆเท่านั้น….( จะลงด้วยแรงงานไม่ได้ )……ม.1084 จะเป็นกรณีกำหนดให้หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดนั้นจะรับได้ก็แต่เฉพาะผลกำไรเท่านั้น…..จะรับการแบ่งปันเงินปันผล หรือดอกเบี้ยไม่ได้จนกว่าห้างฯจำกัดจะมีกำไร……แต่ถ้าได้รับเงินปันผล หรือดอกเบี้ยไปโดยสุจริตแล้ว ท่านว่าจะไปบังคับให้คืนเงินนั้นไม่ได้……สุจริตในที่นี้ ก็คือ ไม่รู้ว่าห้างฯจำกัดนั้นขาดทุน นั่นเอง……ม.1085 จะเป็นกรณีที่หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดได้แจ้งให้บุคคลภายนอกได้ทราบว่าตนได้ลงหุ้นเอาไว้มากกว่าจำนวนซึ่งได้จดทะเบียนเท่าใด…..ท่านว่าผู้นั้นจะต้องรับผิดเท่ากับจำนวนที่ได้แจ้งให้ทราบนั้น……ม.1086 จะเป็นกรณีที่มีข้อตกลงกันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินที่ลง หรือ เพื่อลดจำนวนลงหุ้นของหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด……ท่านว่า การเปลี่ยนแปลง หรือ ลด ดังกล่าวจะยังไม่เป็นผลต่อบุคคลภายนอก……จนกว่าจะได้ไปจดทะเบียน…..และเมื่อได้จดทะเบียนแล้ว ท่านว่าจะมีผลเฉพาะแก่หนี้ที่ได้ก่อให้เกิดขึ้นมาภายหลังเวลาที่ได้จดทะเบียนแล้วเท่านั้น
ม.1088 จะเป็นกรณีที่หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างฯ…..ท่านว่า ผู้นั้นจะต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ทั้งหลายของห้างฯอย่างไม่จำกัดจำนวน……( และการสอดเข้าไปจัดการงานของห้างฯนั้น ท่านว่าจะต้องขนาดเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการทำงานในอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการเลยทีเดียว……ไม่ใช่เข้าไปเพียงฐานะลูกจ้างเท่านั้น )……แต่ถ้าเป็นการสอดเข้าไปออกความเห็นแนะนำ ก็ดี หรือ ออกเสียงลงคะแนน ก็ดี ไม่ถือว่าเป็นการสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างฯ แต่อย่างใดๆ
ม.1090 จะเป็นกรณีที่หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดนั้น…..สามารถที่จะประกอบการค้าขายอย่างใดๆเพื่อประโยชน์ตนเอง หรือ เพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก ก็ได้…..แม้ว่างานนั้นจะมีสภาพเป็นอย่างเดียวกับการค้าของห้างฯก็ตาม…..และถ้าเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดแล้วจะต้องอาศัย ม.1080 เป็นสะพานผ่านไปยัง ม.1066
ม.1091 + ม.1092 + ม.1093…….ม.1091 จะเป็นกรณีที่หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด สามารถโอนหุ้นของตนโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมของหุ้นส่วนคนอื่นๆ……และถ้าเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดแล้วจะต้องอาศัย ม.1080 เป็นสะพานผ่านไปยัง ม.1041……ม.1092 จะเป็นกรณีที่ถึงแม้ว่าหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด จะตาย ล้มละลาย หรือ ตกเป็นคนไร้ความสามารถ ก็ดี……ท่านว่าหาเป็นเหตุทำให้ห้างฯจำกัดต้องเลิกไปไม่…..( เว้นแต่จะมีข้อตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น )……. แต่ถ้าเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดแล้วจะต้องอาศัย ม.1080 เป็นสะพานผ่านไปยัง ม.1055 + ม.1060….…ม.1093 จะเป็นกรณีที่หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ได้ตายลง…..ท่านว่า ทายาทสามารถที่จะเข้ามาเป็นหุ้นส่วนแทนที่ผู้ตายได้……( เว้นแต่จะได้มีข้อสัญญากันไว้เป็นอย่างอื่น )
ม.1094 จะเป็นกรณีที่หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดล้มละลาย…..ท่านว่า จะต้องเอาหุ้นของผู้นั้นออกขายเป็นสินทรัพย์ในกองล้มละลาย
ม.1095 จะเป็นกรณีที่กำหนดว่าตราบใดที่ห้างฯยังไม่เลิกกัน…..ท่านว่า ตราบนั้นเจ้าหนี้จะยังไม่มีสิทธิฟ้องร้องหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดได้เลย……แต่ถ้าห้างฯเลิกกันไปแล้ว เจ้าหนี้ของห้างฯย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดได้……แต่จะได้เพียงจำนวนลงหุ้นของผู้ที่ยังคงค้างส่งแก่ห้างฯ….…หรือ ได้เพียงจำนวนลงหุ้นเท่าที่ได้ถอนไปจากสินทรัพย์ของห้างฯ….หรือ ได้เพียงจำนวนเงินปันผลและดอกเบี้ยที่ได้รับไปแล้วโดยสุจริตและฝ่าฝืนต่อ ม.1084
ข้อสังเกต ความรับผิดอย่างไม่จำกัดจำนวของนหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดนั้นจะมีอยู่ 5 ประการ ตาม ม.1079 + ม.1082 + ม.1085 + ม.1086 + ม.1088

4. ชุดหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด……ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.1080 + ม.1087……ส่วนมากหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดนั้น จะต้องอาศัย ม.1080 เป็นสะพานเพื่อเชื่อมไปยังห้างฯจดทะเบียน และห้างฯสามัญ…….ม.1087 จะเป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้นที่จะเป็นผู้จัดการ…….หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดนั้นไม่สมารถเป็นผู้จัดการได้

D. ในส่วนของบริษัทนั้น เราสามารถแยกพิจารณาออกได้ดังต่อไปนี้

1. ชุดบ่อเกิดของบริษัท……ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.1012 + ม.1096 + ม.1097
2. ชุดการดำเนินการก่อตั้งบริษัท……ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.1097 + ม.1099 + ม.1100 + ม.1104 + ม.1105 + ม.1107 + ม.1108 + ม.1110 + ม.1111 + ม.1112
3. ชุดความรับผิดของผู้เริ่มก่อการ………ม.ที่สำคัญ ก็ คือ ม.1113
4. ชุดจะเพิกถอนการซื้อหุ้นไม่ได้……ม.ที่สำคัญ คือ ม.1114
5. ชุดหุ้นและผู้ถือหุ้น……ม.ที่สำคัญๆ คือ ม.1117 + ม.1118 + ม.1119 + ( ม.1123 + ม.1124 + + ม.1126 ) + ( ม.1129 + ม.1130 + ม.1131 ) + ม.1132 + ม.1141 + ม.1143
6. ชุดกรรมการบริษัท……ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.1144 + ม.1151 + ม.1154 + ม.1167 + ม.1169 + ม.1170
7. ชุดที่ประชุมใหญ่……ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.1171 + ม.1172 + ม.1173 + ม.1174 + ม.1175 + ม.1178 + ม.1179 + ม.1182 + ม.1183 + ม.1184 + ม.1185 + ม.1186 + ม.1194 + ม.1195

1. ชุดบ่อเกิดของบริษัท……ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.1012 + ม.1096 + ม.1097……ทั้งสามมาตรานี้นับเป็นหัวใจที่ทำให้เกิดคำจำกัดความของบริษัทขึ้นมา…..กล่าวคือ บริษัทจำกัด ก็คือ กิจการซึ่งมุ่งหากำไรและได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามปพพ. โดยมีทุนจดทะเบียนของบริษัทแบ่งออกเป็นหุ้น และแต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่ากัน และมีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 7 คน โดยแต่ละคนรับผิดเพียงค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบเท่านั้น

2. ชุดการดำเนินการก่อตั้งบริษัท……ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.1097 + ม.1099 + ม.1100 + ม.1104 + ม.1105 + ม.1107 + ม.1108 + ม.1110 + ม.1111 + ม.1112 ……( ในส่วนนี้นั้นการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจะมีอยู่ 3 ขั้นตอนด้วยกัน กล่าวคือ……2.1 ขั้นตอนในการจัดทำและจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ……2.2 ขั้นตอนในการประชุมตั้งบริษัท……2.3 ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัท )…….โดยจะเริ่มจากมีบุคคลตั้งแต่ 7 คนขึ้นไปเข้ามาเริ่มก่อการ ( เราจะเรียก 7 คนนี้ว่า ผู้ก่อการ นั่นเอง )…..จัดตั้งบริษัทจำกัดด้วยการเข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิ….( ม.1097 )……..โดยที่หนังสือบริคณห์สนธิจะต้องทำอย่างน้อย 2 ฉบับ ลงลายมือชื่อของบรรดาผู้ก่อการพร้อมด้วยลายมือชื่อของพยาน 2 คน…….แล้วให้นำหนึ่งฉบับไปจดทะเบียน ที่หอทะเบียน…( ม.1099 )…..หลังจากนั้นตัวของผู้ก่อการทุกคนจะต้องลงชื่อซื้อหุ้นๆหนึ่งเป็นอย่างน้อย…( ม.1100 )….และจำนวนหุ้นทั้งหมดซึ่งบริษัทคิดจดทะเบียนนั้นก็จะต้องมีผู้เข้าชื่อซื้อ หรือ ออกให้เสร็จก่อนการจดทะเบียนของบริษัท…( ม.1104 )….และหุ้นดังกล่าวห้ามมิให้ออกโดยราคาต่ำไปกว่ามูลค่าของหุ้นที่ได้ตั้งเอาไว้…..แล้วเงินที่ส่งใช้ค่าหุ้นในคราวแรกนั้น จะต้องไม่ให้น้อยกว่าร้อยละ 25 ของมูลค่าของหุ้นที่ตั้งเอาไว้…( ม.1105 )……แล้วเมื่อหุ้นชนิดที่จะต้องลงด้วยเงินนั้น ได้มีผู้เข้าชื่อซื้อหมดแล้ว ท่านว่าตัวผู้ก่อการจะต้องนัดบรรดาผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นมาประชุมกัน โดยไม่ชักช้า….( การประชุมอันนี้ จะเรียกว่า การประชุมตั้งบริษัท )….( ม.1107 )…..โดยในการประชุมตั้งบริษัทนี้ ที่ประชุมตั้งบริษัทจะต้องทำการให้สัตยาบันแก่บรรดาสัญญาซึ่งผู้ก่อการได้ทำไว้……แล้วหลังจากนั้นจะต้องทำการเลือกกรรมการชุดแรก….( ม.1008 )……เมื่อได้ประชุมตั้งบริษัทแล้ว ให้ผู้ก่อการมอบหมายการงานทั้งปวงให้แก่กรรมการของบริษัทที่ได้เลือกขึ้นมานั้น…( ม.1110 )……และเมื่อกรรมการได้รับมอบหมายงานทั้งปวงมาแล้ว ก็จะต้องจัดการเรียกให้ผู้เริ่มก่อการ และผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทั้งหลายใช้เงินในหุ้น โดยจะเรียกไม่น้อยกว่า ร้อยละ 25 ตามราคาที่ได้กำหนดไว้…( ม.1110 วรรค 2 )…..เมื่อจำนวนเงินที่เรียกตาม ม.1110 ได้ใช้เสร็จแล้ว ท่านว่ากรรมการจะต้องไปขอจดทะเบียนบริษัท…( ม.1111 )…..โดยที่กรรมการจะต้องไปขอจดทะเบียนภายใน 3 เดือน นับแต่วันประชุมตั้งบริษัทด้วย… ( ม.1112 )…..( ซึ่งถ้าไม่ได้ไปจดทะเบียนภายใน 3 เดือน ผลก็คือ บริษัทนั้นเป็นอันไม่ได้ตั้งขึ้น…..และจะต้องคืนเงินค่าหุ้นที่ได้รับมาเต็มจำนวน )
3. ชุดความรับผิดของตัวผู้ก่อการ……ม.ที่สำคัญคือ ม.1113…….และเมื่อจดทะเบียนตั้งบริษัทแล้ว ย่อมส่งผลทำให้ตัวผู้ก่อการหลุดพ้นจากความรับผิดในบรรดาหนี้สินและการจ่ายเงิน ซึ่งที่ประชุมตั้งบริษัทได้อนุมัติแล้ว…….แต่ถ้าบรรดาหนี้สิน และการจ่ายเงินนั้น ที่ประชุมตั้งบริษัทยังมิได้อนุมัติ ก็ดี หรือ อนุมัติแล้ว แต่ยังไม่ได้จดทะเบียน ก็ดี……ท่านว่า ตัวผู้ก่อการคงยังต้องรับผิดร่วมกันโดยไม่จำกัดจำนวนในบรรดาหนี้และการจ่ายเงินนั้นๆอยู่…..ยังไม่หลุดพ้น

4. ชุดจะเพิกถอนการซื้อหุ้นไม่ได้……ม.ที่สำคัญ คือ ม.1114…………..และเมื่อบริษัทได้จดทะเบียนแล้ว ม.1114 กำหนดว่า ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น จะเพิกถอนการซื้อหุ้นนั้นไม่ได้……( ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นจะยกเอาหลักตาม ม.157 , ม.159 , ม.164 มาบอกล้างนิติกรรมที่เป็นโมฆียะดังกล่าว ….แล้วมาขอให้เพิกถอนว่าตนไม่ซื้อแล้วเพราะตนสำคัญผิด ตนถูกฉ้อฉล ตนถูกข่มขู่ อย่างนี้ไม่ได้…..และ ม.1114 นี้ ก็เป็นมาตราที่ยกเว้นหลักดังกล่าว นั้นนั่นเอง )

5. ชุดหุ้นและผู้ถือหุ้น……ม.ที่สำคัญๆ คือ ม.1117 + ม.1118 + ม.1119 + ( ม.1123 + ม.1124 + + ม.1125 + ม.1126 ) + ( ม.1129 + ม.1130 + ม.1131 ) + ม.1132 + ม.1133 + ม.1138 +ม.1141 + ม.1143…….หุ้นนับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของบริษัทเลยทีเดียว…..เพราะถ้าไม่มีหุ้นแล้วก็จะไม่มีทางเป็นบริษัทได้เลย…..โดยในปัจจุบันนี้กฎหมายได้กำหนดให้หุ้นจะต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 5 บาท….( ม.1117 )…….และ ม.1118ยังกำหนดต่อไปว่า หุ้นที่ออกมานั้นจะแบ่งแยกในภายหลังอีกไม่ได้…..( แต่หุ้น 1 หุ้นนั้นจะมีผู้ถือหลายคนก็ได้…..แต่หุ้น 1 หุ้นนั้น จะแบ่งแยกไม่ได้ )……และหุ้นทุกหุ้นจะต้องให้ใช้เป็นเงินจนเต็มมูลค่าของหุ้น….และในการใช้เงินเป็นค่าหุ้นนั้น ท่านว่า ผู้ถือหุ้นจะหักกลบลบหนี้กับบริษัทไม่ได้…….( ม.1119 )……….. เมื่อมีการบอกกล่าวให้ชำระค่าหุ้นไปแล้ว ….( ตาม ม.1121 ) และมีการผิดนัดไม่ชำระค่าหุ้น…..ผลของการที่ผิดนัดไม่ชำระค่าหุ้นที่กรรมการได้บอกกล่าวทวงถามไปแล้วนั้นจะมีผล อยู่ 3 ประการด้วยกัน กล่าวคือ a ) จะต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัดไปจนถึงวันที่ได้ส่งเงินจนครบ….( ม.1122 )… b ) และถ้าผู้ถือหุ้นละเลยไม่ส่งใช้เงินที่เรียกค่าหุ้น นอกจากจะเสียดอกเบี้ยแล้ว ก็อาจจะถูกริบหุ้นได้อีกด้วย….( ม.1123 )…..c )และถ้าหุ้นใดทีถูกเรียกค่าหุ้นแล้วเงินค่าหุ้นยังคงค้างชำระอยู่ ท่านว่า หุ้นนั้นบริษัทอาจจะไม่ยอมจดทะเบียนโอนหุ้นได้….( ม.1130 )……แล้วในกรณีของการริบหุ้นนั้น ท่านว่า กรรมการจะบอกริบหุ้นที่ยังค้างชำระเงินค่าหุ้นอยู่นั้นเสียเมื่อใดก็ได้….( ม.1124 )…..และหุ้นที่ถูกริบไปแล้วนั้นให้นำเอามาออกขายทอดตลาด โดยไม่ชักช้า….( ตาม ม.1125 )……ข้อสังเกต การริบหุ้น ตาม ม.1124 นั้น ท่านว่า จะต้องมีการผิดนัดไม่ชำระเงินค่าหุ้นและการผิดนัดจะมีได้ ก็ต่อเมื่อ กรรมการจะต้องมีการบอกกล่าว ตาม ม.1121ไปยังผู้ถือหุ้น แล้วผู้ถือหุ้นไม่ได้ชำระค่าหุ้นนั้น ….( จะผิดนัดได้ต้องมีการบอกกล่าวก่อนเสมอ แล้วไม่ได้ชำระค่าหุ้นตามที่ได้บอกกล่าวทวงถามมา )……และ ม.1126ยังได้บัญญัติต่อไปอีกว่า ถึงแม้ว่าวิธีการริบหุ้นขายหุ้น จะไม่ถูกต้องด้วยระเบียบ ก็ตาม…..แต่ท่านว่า หาเป็นเหตุทำให้สิทธิของผู้ซื้อหุ้นที่ถูกริบนั้น เสื่อมเสียไปไม่……( ม.1126 นี้ จะเป็นการรับรองสิทธิของผู้ที่เข้ามาซื้อทอดตลาด นั่นเอง…..แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขที่ว่า ผู้ซื้อทอดตลาดจะต้องสุจริตด้วย )……….ในกรณีของการโอนหุ้นนั้น ม.1129ได้กำหนดเอาไว้ว่าหุ้นนั้นสามารถที่จะโอนกันไปได้ โดยที่ไม่ต้องได้รับความยินยอมของบริษัท……( เว้นแต่เมื่อเป็นหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้น ซึ่ง มีข้อบังคับของบริษัทกำหนดเอาไว้เป็นอย่างอื่น )………แต่ถ้าเข้ากรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ ท่านว่าห้ามโอน หรือ จะไม่โอนให้ก็ได้…..เช่น ตาม ม.1130 ที่ว่า หุ้นที่ยังคงค้างชำระ เมื่อเขาได้เรียกให้ชำระแล้ว บริษัทจะปฏิเสธไม่ยอมจดทะเบียนโอนหุ้นให้ก็ได้……หรือ ตาม ม.1131 ที่ว่า ในระหว่าง 14 วันก่อนการประชุมใหญ่สามัญ บริษัทก็จะปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นนั้น เสียก็ได้ ดังนี้เป็นต้น……….( การโอนหุ้นนั้น จะต้องทำเป็นหนังสือ + และจะต้องลงลายมือชื่อทั้งของผู้โอนกับผู้รับโอน + และจะต้องมีพยานลงชื่อรับรองลายมือชื่อนั้นๆด้วย…..ซึ่งถ้าฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม ผลก็คือ ตกเป็นโมฆะ )……( และในการโอนหุ้นนั้นท่านว่า นอกจากจะต้องทำเป็นหนังสือ + จะต้องลงลายมือชื่อทั้งผู้โอนกับผู้รับโอน + และจะต้องมีพยานลงชื่อรับรองลายมือชื่อนั้นๆแล้ว……ก็ยังจะต้องไปจดแจ้งการโอนนั้นๆลงไปในทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทเสียก่อนให้เรียบร้อย….การโอนนั้นจึงจะสมบูรณ์ อันจะใช้ยันบุคคลทั่วๆไปได้ )……..ข้อสังเกต ม.1129 นั้นจะเป็นการโอนหุ้น โดยทางนิติกรรม ดังนั้นการโอนจึงต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดดังกล่าวมาข้างต้น……ส่วนกรณี ตาม ม.1132 นั้น จะเป็นการโอน โดยผลของกฎหมาย…..กล่าวคือ ถ้าผู้ถือหุ้นตาย หรือ ล้มละลาย ก็ดี แล้วเป็นเหตุทำให้บุคคลอื่นๆกลายมาเป็นผู้ที่มีสิทธิได้หุ้นนั้น……ม.1132ได้กำหนดเอาไว้ว่า ถ้าบุคคลนั้นๆได้นำเอาใบหุ้นมาเวนคืน ทั้งยังนำเอาหลักฐานอันสมควรมาแสดงด้วยแล้ว ก็ให้บริษัทรับบุคคลนั้นลงทะเบียนเป็นผู้ถือหุ้นสืบต่อไป ………..และในส่วนของความรับผิดในหุ้นที่ได้โอนไปแล้วนั้น ม.1133 ได้กำหนดเอาไว้ว่า ถ้าหากเป็นหุ้นที่ยังไม่ได้ส่งเงินใช้เต็มจำนวนค่าหุ้น ท่านว่า ผู้โอนก็ยังคงต้องรับผิดในจำนวนเงินที่ยังไม่ได้ส่งใช้ให้ครบถ้วนนั้น……เว้นแต่ว่า a ) ผู้โอนไม่ต้องรับผิดในหนี้ของบริษัท ที่ได้ก่อให้เกิดขึ้นมาภายหลังการโอน……b ) ผู้โอนไม่ต้องรับผิดออกส่วนใช้หนี้ เว้นแต่ว่าความจะปรากฏขึ้นแก่ศาลว่า บรรดาผู้ที่ยังถือหุ้นของบริษัทอยู่นั้น ไม่สามารถออกส่วนใช้หนี้ อันเขาพึงจะออกใช้นั้นได้….ผู้โอนก็จะต้องรับผิดออกส่วนใช้หนี้นั้นอยู่………ท้ายสุดนี้ กรรมการบริษัทจะมีหน้าที่จัดให้มีสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น และสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นจะมีรายการอะไรบ้าง ก็จะอยู่ใน ม.1138…..และกฎหมายตาม ม.1141 นั้นให้สันนิษฐานเอาไว้ก่อนว่า ข้อความที่ลงเอาไว้ในทะเบียนผู้ถือหุ้นนั้นเป็นพยานหลักฐานที่ถูกต้อง…….และ ม.1143 นั้นได้บัญญัติห้ามไม่ให้บริษัทจำกัดเป็นเจ้าของถือหุ้นของตนเอง หรือ รับจำนำหุ้นของตนเอง

6. ชุดกรรมการบริษัท……ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.1144 + ม.1150 + ม.1151 + ม.1154 + ม.1167 + ม.1169 + ม.1170………6.1 ในบรรดาบริษัทจำกัดนั้น ท่านให้มีกรรมการคนหนึ่ง หรือ หลายคน ด้วยกันจัดการตามข้อบังคับของบริษัท….และให้อยู่ในความครอบงำของที่ประชุมใหญ่ ตาม ม.1144..กล่าวคือ ผู้เป็นกรรมการจะพึงมีจำนวนมากน้อยเท่าใด และจะพึงได้บำเหน็จเท่าใด…..ท่านให้สุดแล้วแต่ที่ประชุมใหญ่จะกำหนด ตาม ม.1150…….6.2 และในการแต่งตั้ง หรือ ถอดถอน ผู้อันเป็นกรรมการนั้น ม.1151 กำหนดให้เป็นอำนาจของที่ประชุมใหญ่ โดยเฉพาะเท่านั้น…..ในการที่จะแต่งตั้ง หรือ ถอดถอน ผู้เป็นกรรมการได้……( และที่ประชุมใหญ่นั้นมีอำนาจเด็ดขาดในการถอดถอนกรรมการ….ซึ่งสามารถถอดถอนได้โดยไม่ต้องมีสาเหตุใดๆเลยก็ได้ )…..ผู้ถือหุ้น ไม่สามารถที่จะมาฟ้องขอให้ถอดถอนกรรมการได้…..หรือ จะมาขอให้ศาลตั้งกรรมการบริษัท ก็ไม่ได้เช่นกัน…..เพราะว่าเป็นอำนาจของที่ประชุมใหญ่ โดยเฉพาะ นั่นเอง……6.3 ส่วนในเรื่องของการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการนั้น….เราสามารถแยกพิจารณาออกได้ดังนี้…..a ) จะเป็นการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ให้ดูที่ ม.1152 กับ ม.1153……b ) จะเป็นการพ้นจากตำแหน่งเพราะกรรมการคนนั้นล้มละลาย หรือ ตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ ให้ไปดูที่ ม.1154…… c ) จะเป็นการพ้นจากตำแหน่งเพราะที่ประชุมใหญ่ถอดถอน ให้ไปดูที่ ม.1156……d ) และพ้นจากตำแหน่งโดยเหตุอื่นๆ เช่น ตาย หรือ ลาออก หรือ ขาดคุณสมบัติตามข้อบังคับของบริษัท ให้ดูที่ ม.1155……จะต้องมีการนำไปจดทะเบียนเสมอ ไม่ว่าจะมีการแต่งตั้ง หรือ มีการถอดถอน หรือ อะไรก็ตามต้องไปจดทะเบียน……6.4ในเรื่องกรรมการจะมีอำนาจอย่างไรบ้าง ก็ให้ไปดูที่ ม.1158 + ม. 1159 + ม.1160 + ม.1161 + ม.1162 + ม.1163 + ม.1164……6.5 ส่วนในเรื่องของความเกี่ยวพันกันระหว่างกรรมการกับบริษัทกับบุคคลภายนอกนั้น…..ม.1167 กำหนดให้บังคับตามกฎหมายตัวแทน……6.6 ส่วนในเรื่องความรับผิดของกรรมการ…..ม.1169 ได้กำหนดเอาไว้ว่า ถ้ากรรมการทำความเสียหายให้แก่บริษัท ท่านว่าบริษัทสามารถที่จะฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเอาแก่กรรมการ ก็ได้…..หรือ ถ้าบริษัทไม่ฟ้อง ท่านว่า ผู้ถือหุ้นก็สามารถที่จะนำคดีนั้นขึ้นว่า ก็ได้……อีกทั้งเจ้าหนี้ของบริษัทจะเป็นผู้เรียกบังคับ ก็ได้ แต่บังคับได้เท่าที่ยังคง มีสิทธิเรียกร้องแก่บริษัทอยู่……( ผู้ถือหุ้นจะฟ้อง ตาม ม.1169นี้ได้ ท่านว่า จะต้องเป็นการฟ้องกรรมการเท่านั้น…..ดังนั้นถ้าผู้นั้นไม่ใช่กรรมการ…..ผู้ถือหุ้นจะอาศัย ม.1169นี้มาฟ้องไม่ได้ )……6.7 ส่วน ม.1170 นั้นจะเป็นเรื่อง ที่ว่า ถ้าหากการซึ่งกรรมการคนใดได้ทำลงไปแล้วได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่…..ท่านว่า กรรมการคนนั้นไม่ต้องรับผิดในการนั้น ต่อผู้ถือหุ้น ซึ่งได้ให้อนุมัติ….หรือ ต่อบริษัทอีกต่อไป

7. ชุดที่ประชุมใหญ่……ม.ที่สำคัญ ก็คือ ม.1171 + ม.1172 +( ม.1173 + ม.1174 + ม.1175 + ม.1178 + ม.1179 )+ ม.1182 + ม.1183 + ม.1184 + ม.1185 + ม.1186 + ม.1194 + ม.1195
ม.1171 เป็นมาตราที่กำหนดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเป็นประชุมใหญ่ภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ได้จดทะเบียน……หลังจากนั้นแล้ว ก็ให้มีการประชุมเช่นนั้นอีกครั้งหนึ่งเป็นอย่างน้อย…..ในทุกระยะเวลา 12 เดือน ….โดยการประชุมเช่นนี้จะเรียกว่า การประชุมสามัญ…….การประชุมนอกจากนี้แล้วจะเรียกว่า การประชุมวิสามัญ
ในเรื่องของการประชุมวิสามัญนั้น……ผู้มีสิทธิเรียกประชุม ก็คือ 1. กรรมการ โดยม.1172 จะกำหนดให้อำนาจกรรมการที่จะเรียกประชุมวิสามัญเมื่อใดก็ได้….แล้วแต่กรรมการจะเห็นสมควร……..2. ผู้ถือหุ้น และการเรียกประชุมของผู้ถือหุ้นนั้นจะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ดังต่อไปนี้…..2.1 ม.1173 กำหนดให้ ผู้ถือหุ้นจะต้องมีจำนวนหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนหุ้นของบริษัท…..แล้วไปเข้าชื่อทำหนังสือขอให้เรียกประชุม….และในหนังสือจะต้องระบุว่ามีความประสงค์ให้เรียกประชุมเพื่อการใดเอาไว้ด้วย……2.2 เมื่อผู้ถือหุ้นได้ยื่นหนังสือแล้ว ม.1174 ได้กำหนดว่า ให้กรรมการเรียกประชุมโดยพลัน……และถ้ากรรมการไม่ได้เรียกประชุมภายใน 30 วันนับแต่วันที่ยื่นคำร้อง……ผู้ถือหุ้นที่ยื่นหนังสือจะเรียกประชุมเองก็ได้……2.3 ม.1175 นั้นกำหนดให้ลงพิมพ์คำบอกกล่าวเรียกประชุมในหนังสือพิมพ์ 2 คราว ก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน……2.4 ในวันประชุม ถ้าผู้ถือหุ้นมาประชุมไม่ถึง 1 ใน 4 ของทุนของบริษัท…..ม.1178 บอกว่า ที่ประชุมอันนั้นจะปรึกษากิจการอันใดหาได้ไม่……2.5 และเมื่อเวลาได้ล่วงไปแล้วถึง 1 ชั่วโมง จำนวนผู้ถือหุ้นก็ยังมาไม่ครบองค์ประชุม 1 ใน 4 แล้วไซร้……ม.1179 บอกว่า ถ้าการประชุมนั้นผู้ถือหุ้นเป็นผู้เรียกประชุม….ก็ให้การประชุมนั้นเป็นอันยกเลิกไป……แต่ถ้ากรรมการเป็นผู้เรียกประชุม….ม.1179 วรรค 2 บอกว่า ให้เรียกนัดใหม่อีกคราวภายใน 14 วัน และในการประชุมครั้งใหม่นี้ไม่จำต้องครบองค์ประชุม ก็สามารถประชุมได้……2.6 เมื่อมีการประชุม ม.1182 บอกว่า วิธีการนับคะแนนนั้นให้ใช้วิธีชูมือ ด้วยการให้นับผู้ถือหุ้นที่มาประชุม หรือ มอบฉันทะให้ผู้อื่นมาประชุมแทน….มีเสียงหนึ่งเป็นคะแนน โดยไม่คำนึงถึงจำนวนหุ้น……หรือ ลงคะแนนลับ โดยให้นับคะแนนตามจำนวนหุ้น……หนึ่งหุ้น เท่ากับ หนึ่งเสียง……..2.7 ส่วนผู้ถือหุ้นที่มีสิทธินั้น ม.1183 บอกว่าผู้ถือหุ้นซึ่งไม่มีหุ้นถึงจำนวนที่ข้อบังคับกำหนดไว้ สามารถที่จะเข้ามารวมกันให้ได้จำนวนหุ้นตามที่กำหนด….แล้วตั้งคนหนึ่งให้เป็นผู้รับฉันทะออกเสียงแทน……ม.1184 กำหนดว่า ผู้ถือหุ้นที่ได้ชำระเงินค่าหุ้นครบถ้วนแล้ว มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน……ม.1185 บอกว่า ผู้ถือหุ้นที่ไม่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในข้อซึ่งที่ประชุมจะลงมติ มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน……ม.1186 กำหนดว่า ผู้ที่ถือหุ้นผู้ถือ ที่ได้นำเอาใบหุ้นมาวางไว้แก่บริษัทก่อนเวลาประชุม มีสิทธิออกเสียงลงคะแนน……ม.1187 ผู้ที่รับมอบฉันทะเป็นหนังสือจากผู้ถือหุ้น และได้นำหนังสือตั้งผู้รับฉันทะไปวางต่อผู้เป็นประธานก่อนเริ่ม หรือเมื่อเริ่มประชุมครั้งนั้น มีสิทธิออกเสียงแทนผู้ถือหุ้นได้……..2.8 ในส่วนของการลงมตินั้น ม.1194 บอกว่า ถ้าที่ประชุมใหญ่ได้ลงมติอันใดเป็นลำดับกันสองครั้งประชุมแล้ว ท่านว่ามตินั้นให้ถือเป็นมติพิเศษ…..ที่ประชุมครั้งแรกได้ลงมติโดยคะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมด…..และการประชุมใหญ่ครั้งหลังนั้น ได้เรียกนัดและประชุมในเวลาไม่น้อยกว่า 14 วัน แต่ไม่มากกว่า 6 สัปดาห์ภายหลังการประชุมครั้งแรก….แล้วการประชุมครั้งหลังได้ลงมติยืนตามมติของที่ประชุมครั้งแรก โดยคะแนนเสียงข้างมากนับได้ไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ส่วนของจำนวนเสียงทั้งหมด…….2.9 และถ้าการประชุมใหญ่นั้นได้นัด เรียก หรือได้ประชุมกัน หรือได้ลงมติ โดยฝ่าฝืนบทบัญญัติในลักษณะนี้ ก็ดี หรือ ฝ่าฝืนข้อบังคับของบริษัท ก็ดี……เมื่อ กรรมการ หรือ ผูเถือหุ้น ร้องขอขึ้นมาแล้ว ท่านว่า ให้ศาลเพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่ ที่ผิดระเบียบนั้นเสีย….แต่การร้องขอนั้น จะต้องร้องขอภายใน 1 เดือน นับแต่วันลงมตินั้น

อ.สุประดิษฐ์ หุตะสิงห์ บอกว่า อาจารย์ตั้งใจเอาไว้ว่า จะออกข้อสอบที่เป็นหลักที่จะนำมาใช้ได้ทั้งในห้างหุ้นส่วนและบริษัท……กฎหมายหลักๆที่อย่างท่านควรจะวินิจฉัยให้ออกว่า อะไรคืออะไร…หุ้นส่วนมีกี่ประเภท…หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดมีอยู่ที่ไหน…ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลภายนอกกับห้างหุ้นส่วน…..สำหรับบริษัทจำกัดในส่วนฐานะของกรรมการ ในฐานะของผู้ถือหุ้น…..หรือฐานะของหุ้นส่วนทั้งจำกัดความรับผิดและไม่จำกัดความรับผิด…..ตลอดจนหุ้นส่วนในห้างสามัญมีความแตกต่างกันอย่างไร……อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ เพราะ ถ้าหากท่านรู้ถึงฐานะของเขาแล้ว ท่านยังวินิจฉัยในความรับผิดของเขาไม่ได้…..ท่านก็จะไม่ใช่คนที่รู้กฎหมายหุ้นส่วนพอที่จะนำไปใช้ได้…..แต่ข้อสอบต้องมีคำพิพากษาฎีกาเป็นแนวอันนี้แน่นอน……อย่าได้เถียงข้อเท็จจริง คือ หลักในการตอบจะต้องรู้ข้อกฎหมายก่อน…..วินิจฉัยให้แตกก่อนว่า เรื่องนั้นเป็นเรื่องอะไร……การที่จะเขียนลอกกฎหมายไปทั้งมาตรา โดยมีเครื่องหมายคำพูดนั้น ไม่จำเป็น…..ให้เขียนแต่หลักใหญ่ๆก็พอแล้ว….ถ้าท่านไปเขียนเครื่องหมายคำพูดไปแล้วไปผิดจากที่กฎหมายกำหนดไว้…..ท่านอาจถูกหักคะแนนได้…..กฎหมายเขาเขียนว่าอย่างนี้ ผลสรุปสำคัญอยู่ตรงไหน คำพิพากษาฎีกาเคยมีวินิจฉัยอย่างนี้ เป็นต้น……………………ขอให้ทุกท่านจงโชคดี

ไม่มีความคิดเห็น: