สำรองห้องพักโรงแรมพร้อมส่วนลด

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

ข้อที่ 3 จะเป็นกฎหมายละเมิด ม.420 – ม.442 และความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ลาภมิควรได้ ม.406 – ม.419 และ จัดการงานนอกสั่ง ม.395 – ม.405

ส่วนละเมิดทางแพ่งนั้น จะมีขอบเขตและเนื้อหา ที่แยกออกเป็นชุดๆได้ดังนี้
3.1 ชุดบุคคลที่เป็นคนทำละเมิดและบุคคลที่จะต้องร่วมรับผิด……โดยมีมาตราสำคัญๆที่สามารถแยกพิจารณาได้ดังนี้
3.1.1 ม.425…….ในส่วนนี้ผู้ที่ทำละเมิด ก็คือ ตัวลูกจ้าง ซึ่งได้กระทำในทางการที่จ้าง…..ตัวของผู้ที่จะต้องร่วมรับผิด ก็คือ ตัวของนายจ้าง นั่นเอง……จุดที่ควรทำความเข้าใจให้ดี ก็คือ อย่างไร จึงเรียกว่า เป็นการกระทำในทางการที่จ้าง…….( ซึ่งถ้าการละเมิดนั้น มิได้เกิดขึ้นในระหว่างที่ลูกจ้างได้ทำในทางการที่จ้างแล้ว ตัวของนายจ้างก็ไม่ต้องร่วมรับผิด นั่นเอง )
3.1.2 ม.427……ในส่วนนี้ ผู้ที่ทำละเมิด ก็คือ ตัวแทน……และตัวของผู้ร่วมรับผิด ก็คือ ตัวการ……..แล้วให้นำเอา ม.425 กับ ม.426 มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
3.1.3 ม.428 ……ในส่วนนี้ ผู้ที่ทำละเมิด ก็คือ ตัวผู้รับจ้างทำของ…….ส่วนตัวผู้ที่ร่วมรับผิดนั้น คือ ตัวผู้ว่าจ้างทำของ…….จุดที่ควรระวัง จะอยู่ที่ ผู้ว่าจ้างทำของ จะร่วมรับผิด ก็ต่อเมื่อ ตัวของผู้ว่าจ้างนั้น เป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือ เป็นผู้ผิดในคำสั่งที่ตนได้ให้ไว้ หรือ เป็นผู้ผิดในการที่เลือกหาผู้รับจ้าง ……ดังนั้นถ้านอกเหนือจากนี้แล้ว ตัวของผู้ว่าจ้างไม่ต้องร่วมผิดในความเสียหาย ที่ผู้รับจ้างทำของได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการที่ว่าจ้าง
3.1.4 ม.429……ผู้ทำละเมิด คือ ตัวผู้เยาว์ หรือ ตัวของ ผู้วิกลจริต……ผู้ที่ต้องร่วมรับผิด ก็คือ บิดามารดา หรือ ผู้อนุบาล……จุดที่ต้องทำความเข้าใจ ก็คือ 1. อย่างไร จึงจะถือว่า ตนได้ใช้ความระมัดระวัง ตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลแล้ว นั่นเอง……เพราะว่าถ้าบิดามารดา หรือ ผู้อนุบาล ได้ใช้ความระมัดระวัง ตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลแล้ว……บิดามารดา และผู้อนุบาล ก็ไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย นั่นเอง…….2. ม.429 จะต้องดูคู่กับ ม.430 และจะต้องแยกให้ออกว่า กรณีใด จึงเป็นกรณีของ ม.429 และกรณีใด จึงจะเป็นกรณีของ ม.430 ……โดยจุดแยกจะอยู่ตรงที่ ” บุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่ในความดูแลของใคร ” นั่นเอง…..ถ้าอยู่ในความดูแลของบิดามารดา หรือ ผู้อนุบาล ก็จะเป็นกรณีของ ม.429……แต่ถ้าอยู่ในความดูแลของครูบาอาจารย์ หรือ นายจ้าง ก็คือ กรณีของ ม.430 นั่นเอง
3.1.5 ม.430……ตัวของผู้ทำละเมิด คือ ตัวผู้เยาว์ หรือ ผู้วิกลจริต ซึ่งอยู่ในความดูแล……ตัวของผู้ร่วมรับผิดด้วย ก็คือ ครูบาอาจารย์ หือ นายจ้าง ผู้รับดูแล …….และก็เช่นเดียวกันตัวผู้ร่วมรับผิด จะต้องพิสูจน์ ให้ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่การดูแลแล้วด้วย……ถ้าพิสูจน์ได้ ก็ไม่ต้องร่วมรับผิด ถ้าพิสูจน์ไม่ได้ ก็ต้องร่วมรับผิด นั่นเอง
3.1.6 ม.432……เป็นกรณีที่บุคคลหลายคนร่วมกันทำละเมิด ดังนั้นจึงเป็นกรณีที่บุคคลเหล่านั้นจะต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทน นั่นเอง
3.1.7 ม.433……ตัวผู้ทำละเมิด ไม่มี แต่จะเป็นกรณีที่สัตว์ทำให้เกิดความเสียหายขึ้นมา ( สัตว์ไม่สามารถทำละเมิดได้ )……ผู้ที่จะต้องรับผิด ก็คือ 1. ถ้าสัตว์นั้นอยู่ในการดูแลของเจ้าของ ท่านว่าผู้เป็นเจ้าของ เป็นผู้รับผิด……2. แต่ถ้าสัตว์นั้นอยู่ในการดูแลของผู้อื่น ท่านว่า ผู้ที่รับรักษาไว้แทนเจ้าของ ต้องรับผิด……แต่ถ้าบุคคลดังกล่าวสามารถพิสูจน์ได้ว่า ตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่การเลี้ยง ตามชนิดและวิสัยของสัตว์แล้ว ท่านว่า บุคคลเหล่านั้นก็จะพ้นจากความรับผิด……และถ้ามีบุคคลมาเร้า หรือยั่วสัตว์ เมื่อบุคคลเหล่านั้นได้รับผิดไปแล้ว ท่านว่า บุคคลเหล่านั้น ก็สามารถที่จะไปใช้สิทธิไล่เบี้ยเอากับบุคคลผู้มาเร้า หรือ มายั่วสัตว์นั้นได้
3.1.8 ม.434……ตัวผู้ทำละเมิด ไม่มี แต่ความเสียหายจะเกิดขึ้นมาจาก โรงเรือน หรือ สิ่งปลูกสร้าง ชำรุดบกพร่อง……ผู้ที่จะต้องรับผิด ก็คือ ผู้ที่ครองโรงเรือน หรือ ครองสิ่งปลูกสร้าง…..แต่ถ้าผู้ครองเรือน หรือ ครองสิ่งปลูกสร้าง นั้น พิสูจน์ได้ว่า ตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร เพื่อปัดป้องแล้ว……ท่านว่า ผู้ที่จะต้องรับผิด ก็คือ ตัวผู้ที่เป็นเจ้าของ นั่นเอง
3.1.9 ม.436……ตัวผู้ทำละเมิด ไม่มี แต่ความเสียหายเกิดขึ้นจากของตกหล่นจากโรงเรือน……ผู้ที่จะต้องรับผิด ก็คือ บุคคลที่อยู่ในโรงเรือน นั้นๆ นั่นเอง
3.1.10 ม.437……ตัวผู้ทำละเมิด ไม่มี แต่ความเสียหาย เกิดจาก…..1. ยานพาหนะ ที่เดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล……2. ทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ…….ผู้ที่จะต้องรับผิด ก็คือ 1. บุคคลผู้ครอบครอง หรือ ควบคุม ยานพาหนะ……2. บุคคลผู้มีไว้ในครอบครองของตน ซึ่งทรัพย์อันตรายนั้น……แต่ถ้าบุคคลเหล่านั้น พิสูจน์ได้ว่า ความเสียหายนั้น เกิดขึ้นมาเพราะเหตุสุดวิสัย ก็ดี หรือ เกิดขึ้นมาเพราะความผิดของผู้เสียหาย ก็ดี ท่านว่า บุคคลเหล่านั้นไม่จำต้องรับผิด
สาเหตุที่ต้องแยกในลักษณะข้างต้นนั้น ก็เพราะว่า จะทำให้เราสามารถแยกแยะประเด็นได้ไวขึ้น แล้วยังสามารถทำให้วินิจฉัยได้อย่างตรงประเด็นว่าใครเป็นคนทำละเมิด หรือ ละเมิดเกิดจากอะไร……แล้วจะมีใครเป็นผู้รับผิดชอบใช้ค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายนั้น หรือไม่ เพราะอะไร…..( ซึ่งเป็นคำตอบที่เราจะต้องตอบลงในข้อสอบ นั่นเอง )
3.2 ชุดการทำละเมิด……จะมีมาตราที่สำคัญๆ คือ ม.420 + ม.421 + ม.422 + ม.423…..เหตุแยกออกมาเป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่า ละเมิด จะต้องเกิดจาก 4 มาตรานี้เท่านั้น นั่นเอง……( ส่วน มาตรา ตั้งแต่ 425 – ม.437 นั้น จะกล่าวถึง ผู้ทำละเมิด เป็นใคร….แล้วผู้ที่จะร่วมรับผิดเป็นใคร……และมีข้อยกเว้นที่ไม่ต้องร่วมรับผิดอย่างไร )……เมื่อเราแยกแยะออกมาเช่นนี้แล้ว ก็จะทำให้เราสามารถเชื่อมโยง แต่ละมาตราเข้าหากันได้ง่ายขึ้น……ดังนั้นจึงควรที่จะทำความเข้าใจใน 4 มาตรานี้ให้จงดี เพราะเราจะต้องตอบก่อนว่า ผู้นั้นทำละเมิดจากมาตราอะไรใน 4 มาตรานั้น……แล้วเราจึงมาตอบว่าผู้นั้นเป็นผู้ทำละเมิดตาม มาตราอะไร ดังที่ได้กล่าวข้างต้น
3.3 ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิด จะมีมาตราที่สำคัญๆ คือ ม.438 + ม.442 +( ม.443 +ม.445 ) + ( ม.444 + ม.445 + ม.446 )……โดยจะมีข้อสังเกตซึ่งแยกเป็นชุดๆได้ดังต่อไปนี้
3.3.1 ชุดหลักทั่วไป ตาม ม.438 ที่บัญญัติว่า ค่าสินไหมทดแทนได้แก่อะไรบ้าง
3.3.2 ชุดค่าสินไหมทดแทนที่ผู้เสียหายมีส่วนผิดด้วย ตาม ม.442……ซึ่งในส่วนนี้จะโยงไปหา ม.223 ของกฎหมายหนี้ด้วย
3.3.3 ชุดค่าสินไหมทดแทนในกรณีที่ตาย ตาม ม.443……ซึ่งได้แก่ค่าปลงศพ + ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่น + ค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์จากการทำมาหาได้ + ค่าขาดไร้อุปการะ……นอกจากนี้เราต้องดู ม.443 นี้ คู่กับ ม.445 ด้วย กล่าวคือ นายจ้างของผู้เสียหาย ยังสามารถใช้ ม.445 นี้ เรียกค่าสินไหมทดแทนได้ด้วย……ข้อควรระวัง ก็คือ 1. อย่างไรจึงเรียกว่า เป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่น……2. จะต้องเป็นบุตร หรือภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ที่จะเรียกค่าขาดไร้อุปการะ ได้ และในกรณีของบุตร ถ้าอายุเกิน 20 ปีไปแล้ว จะเรียกไม่ได้เช่นกัน
3.3.4 ชุดค่าสินไหมทดแทนในกรณีที่ไม่ตาย ตาม ม.444……ซึ่งได้แก่ ค่าใช้จ่ายที่ผู้เสียหายต้องเสียไป + ค่าเสียหายจากการเสียความสามารถประกอบการงาน ( ในส่วนนี้สามารถเรียกได้ทั้งในปัจจุบัน และเรียกเผื่อไว้ในอนาคตได้ด้วย )……และกรณีตาม ม.444 นี้ ให้โยงไปหา ม.445 กับ ม.446ด้วย กล่าวคือ ตัวนายจ้างของผู้เสียหาย ถ้าต้องเสียหาย เพราะต้องขาดแรงงาน ก็สามารถเรียกค่าสินไหมทดแทน โดยอาศัย ม.445 ได้ด้วย…..และสำหรับตัวของผู้เสียหายนั้น นอกจากเรียก ตาม ม.444 ได้แล้ว ก็ยังสามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่น อันมิใช่ตัวเงิน ตาม ม.446 ได้อีกด้วย
ข้อสังเกต : 1. ค่าสินไหมทดแทน เพื่อความเสียหายอย่างอื่น อันมิใช่ตัวเงิน ตาม ม.446 นี้ สามารถนำไปออกสอบในวิชา ครอบครัว มรดก ได้ด้วย……ดังนั้นจึงควรทำความเข้าใจให้ดี เพราะว่า สิทธิเรียกร้องดังกล่าว ถือเป็นสิทธิเฉพาะตัว จึงไม่ตกทอดแก่ทายาท ตาม ม.1600
2. จากขอบเขตและเนื้อหาดังกล่าวข้างต้น เราสามารถทำสายไล่ได้ดังนี้
2.1 เราจะต้องดูก่อนว่าผู้ทำละเมิดเป็นใคร……กล่าวคือ ถ้าหากว่าผู้ทำละเมิดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ……เราจะต้องนำเอาความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ตาม ม.5 + ม.6 + ม.7 + ม.8 มาปรับใช้……( อย่าได้นำละเมิดธรรมดาทางแพ่งมาตอบอย่างเด็ดขาด )……แต่ถ้าผู้ทำละเมิดเป็นบุคคลธรรมดา ก็ให้ดูข้อที่ 2.2 ต่อไป
2.2 ถ้าผู้ทำละเมิดเป็นบุคคลธรรมดาแล้ว……เราก็จะต้องมาดูว่าบุคคลนั้นเป็นผู้ทำละเมิด ตาม ม.อะไร ( ม.425 – ม.437 ) ( ให้รวมถึงสัตว์ สิ่งของ ยานพาหนะ ทรัพย์อันตราย ด้วย )……และทำทำละเมิด ตาม ม.อะไร ( ม.420 – ม.424 )……และให้ดูว่า จะมีใครร่วมรับผิด กับผู้ทำละเมิดด้วย หรือไม่……เมื่อได้ครบถ้วนแล้ว ก็ให้ดูข้อที่ 2.3 ต่อไป
2.3 เมื่อได้ครบถ้วน ตาม ข้อที่ 3 แล้ว…..เราก็ต้องมาดูว่ามีเหตุนิรโทษกรรมหรือไม่……ถ้ามีก็จบลงตรงนี้ กล่าวคือ ไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน……แต่ถ้าไม่มีเหตุนิรโทษกรรม ก็ให้ดูข้อที่ 2.4 ต่อไป……( ในปัจจุบันจะไม่มีการนำเอาส่วนนิรโทษกรรมมาออกเป็นข้อสอบ ก็ให้ข้ามไปดู ข้อที่2.4 ได้เลย )
2.4 เมื่อไม่เหตุนิรโทษแล้วล่ะก็…..เราจะต้องมาดูว่าบุคคลเหล่านั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือไม่ต่อไป……โดย ถ้าผู้เสียหายตาย ก็นำเอา ม.443 กับ ม.445 มาตอบ……ถ้าไม่ตาย ก็ให้นำเอา ม.444 + ม.445 + ม.446 มาตอบ……ถ้าผู้เสียหายมีส่วนผิดด้วย ก็ให้นำเอา ม.442 มาตอบ……ซึ่งถ้าเข้าตามหลักเกณฑ์ที่แต่ละมาตรากำหนด บุคคลเหล่านั้น ก็ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน……ถ้าไม่เข้า ก็ไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน นั่นเอง
3.4 ชุดนิรโทษกรรม จะมีมาตราที่สำคัญๆ คือ ม.449 + ม.450 + ม.451……ในส่วนนี้จะไม่นำเอามาออกเป็นข้อสอบ……แต่ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรงก็ควรทำความเข้าใจเอาไว้บ้างก็จะดีมิใช่น้อยนะครับ
ส่วนลาภมิควรได้นั้น……จะมี ม.ที่สำคัญๆ ก็คือ ม.406…..โดยมีข้อยกเว้นอยู่ที่ ม. 407 + ม.408 + ม.409 + ม.410 + ม.411………..ส่วน ม.412 - ม.419 ดูให้พอเข้าใจว่าเป็นเรื่องอะไร ( เพื่อไม่ให้เกิดหลุม ) ก็พอแล้ว
ส่วนจัดการงานนอกสั่งนั้น…..จะมี ม.ที่สำคัญๆ คือ ม.395 + ม.398 + ม.400 + ม.401 + ม.405

ไม่มีความคิดเห็น: