สำรองห้องพักโรงแรมพร้อมส่วนลด

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

ย่อตัวบทแพ่ง

ข้อ ๑ ทรัพย์ – ที่ดิน (ม.137-148,1298-1434)
ม.144 ส่วนควบ คือส่วนซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์ / โดยจารีตประเพณี เป็นสาระสำคัญของทรัพย์ + ไม่อาจแยกจากกันได้ นอกจากทำลาย ทำให้บุบสลาย ทำให้เปลี่ยนรูปทรงไป
ว.2 เจ้าของทรัพย์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบ
ม.146 ทรัพย์ซึ่งติดอยู่กับที่ดิน / โรงเรือนเพียงชั่วคราว ไม่เป็นส่วนควบ รวมถึงโรงเรือน / สิ่งปลูกสร้างซึ่งมีสิทธิ์ในที่ดินของผู้อื่น
ม.1298 ทรัพยสิทธิทั้งหลาย จะก่อตั้งขึ้นได้ด้วยอาศัยอำนาจในประมวลกฎหมายนี้ / กฎหมายอื่น
ม.1299 การได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังฯ/ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาฯไม่บริบูรณ์ เว้นแต่จะทำเป็นหนังสือ+จดทะเบียน
ว.2 การได้มาซึ่งอสังฯ/ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังฯ ดดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม ถ้ามิได้จดทะเบียน จะมีการเปลี่ยนแปลง ทางทะเบียนมิได้ และมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้รับโอนมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน + สุจริต + จดทะเบียน
ม.1300 ถ้าได้จดทะเบียนการโอนอสังฯ / ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังฯเป็นทางเสียเปรียบแก่อยู่ในฐานะอันจะจดทะเบียนได้ก่อน บุคคลนั้นอาจเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนนั้นได้ เว้นแต่การโอนอันมีค่าตอบแทน + ผู้รับโอนสุจริต
ม.1304 สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น รวมถึงทรัพย์สินทุกชนิดของแผ่นดินซึ่งได้ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ / สงวนไว้ใช้ร่วมกัน (1) ที่รกร้างว่างเปล่า (2) ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน (3) ทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ
ม.1308 ที่ดินแปลงใดที่งอก ที่งอกย่อมเป็นทรัพย์สินของเจ้าของที่ดินแปลงนั้น
ม.1330 ผู้ซื้อทรัพย์โดยสุจริตจากการขายทอดตลาดมิเสียไป แม้ภายหลังพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์สินนั้นไม่ใช่ของจำเลย / ลูกหนี้
ม.1332 ผู้ซื้อทรัพย์สินมาโดยสุจริตในการขายทอดตลาด / ในท้องตลาด / จากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้น ไม่ต้องคืนให้แก่เจ้าของที่แท้จริง เว้นแต่เจ้าของที่แท้จริงจะชดใช้ราคาที่ซื้อมา
ม.1336 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอย + จำหน่าย + ได้ดอกผล + ติดตามเอาคืน + ขัดขวาง
ม.1349 ที่ดินแปลงใดที่มีที่ดินแปลงอื่นล้อมรอบจนไม่มีทางออกสาธารณะ เจ้าของที่ดินแปลงนั้นจะผ่านทางที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะก็ได้ ทั้งนี้ต้องพอควรแก่ความจำเป็น / เสียหายน้อย / สร้างถนนก็ได้ แต่ต้องใช้ราคาแทน
ม.1375 ถ้าผู้แย่งการครอบครองโดยมิชอบ มีสิทธิจะได้คืนซึ่งการครอบครองโดยต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง เว้นแต่อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเหนือทรัพย์สินดีกว่า
ม.1377 ผู้ครอบครองสละเจตนาครอบครอง / ไม่ยึดถือทรัพย์สินต่อไป การครอบครองย่อมสิ้นสุดลง
ว.2 ถ้าเหตุชั่วคราวมาขัดขวางมิให้ครอบครอง / ยึดถือ การครอบครองย่อมไม่สิ้นสุดลง
ม.1378 การโอนไปซึ่งการครอบครองย่อมทำได้โดยส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครอง
ม.1381 บุคคลใดยึดถือแทนผู้ครอบครอง จะเปลี่ยนแปลงการยึดถือได้ก็แต่โดยบอกกล่าวไปยังผู้ครอบครองว่าไม่มีเจตนาจะยึดถือต่อไป
ม.1382 บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้ โดยสงบ + เปิดเผย + ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังฯ ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นระยะเวลา 10 ปี ถ้าเป็นสังหาฯ ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นระยะเวลา 5 ปี บุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์
ม.1385 การโอนการครอบครองแก่กัน ผู้รับโอนจะนับเวลาซึ่งผู้โอนครอบครองอยู่ก่อนนั้น รวมเข้ากับเวลาครอบครองของตนก็ได้
ม.1387 อสังฯอาจต้องตกอยู่ในภารจำยอมอันเป็นเหตุให้เจ้าของต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน/ต้องงดเว้นการใช้สิทธิ์บางอย่าง เพื่อประโยชน์แก่อสังหาฯอื่น
ม.1401 ภารจำยอมอาจได้มาโดยอายุความ 10 ปี
ข้อ ๒ , ๓ นิติกรรม สัญญา หนี้ ละเมิด
ม.150 การใดมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นการพ้นวิสัย/ขัดต่อความสงบเรียบร้อย /ศีลธรรมอันดีเป็นโมฆะ
ม.152 การใดมิได้ทำแบบที่กฎหมายบังคับ การนั้นเป็นโมฆะ
ม.153 การใดมิได้เป็นไปตามบทบัญญัติของกำหมายว่าด้วยความสามารถของบุคคล การนั้นเป็นโมฆียะ
ม.169 การแสดงเจตนาต่อบุคคลซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้า มีผลนับแต่เวลาที่เจตนาไปถึงผู้รับ แต่ถ้าได้บอกถอนก่อน/พร้อมกันเป็นอันไร้ผล
ม.354 คำเสนอบ่งระยะเวลาไม่อาจถอนได้ภายนะระยะเวลาที่บ่ง
ม.357 คำเสนอที่บอกปัดไปยังผู้เสนอแล้ว/ มิได้สนองภายในระยะเวลาที่กำหนดเป็นอันสิ้นความผูกพัน
ม.358 คำบอกกล่าวสนองมาถึงถึงล่วงเวลา แต่ประจักษ์ว่าได้ส่งโดยทางการซึ่งปกติจะมาถึงภายในกำหนด ผู้เสนอต้องบอกแก่คู่กรณีโดยพลันว่ามาถึงช้า เว้นแต่ได้บอกก่อนแล้ว
ม.360 มาตรา 169ว.2 มิให้ใช้คำบังคับถ้าหากขัดเจตนาอันผู้เสนอได้แสดง/หากว่าก่อสนองรับนั้น อีกฝ่ายหนึ่งรู้แล้วว่าผู้เสนอตาย
ม.361 สัญญาระหว่างบุคคลซึ่งอยู่ห่างไกลกัน ย่อมเกิดเป็นสัญญาขึ้นเมื่อคำบอกกกล่าวสนองไปถึงผู้เสนอ
ว.2 ถ้าตามเจตนาอันผู้เสนอได้แสดง/ตามประเพณีไม่จำเป็นต้องมีคำสนอง สัญญาเกิดเมื่อมีการอันใดอันหนึ่งขึ้น อันพึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นการแสดงเจตนาสนองรับ
ม.366 ข้อความใดๆ แห่งสัญญาอันคู่สัญญาแม้เพียงฝ่ายเดียว ได้แสดงไว้เป็นสาระสำคัญอันจะต้องตกลงกันทุกข้อนั้น
หากคู่สัญญายังไม่ตกลงกันได้หมดทุกข้อ เมื่อสงสัย ถือว่ายังไม่มีสัญญาต่อกัน ไม่ผูกพัน
ว.2 ถ้าได้ตกลงกันว่าสัญญาจะต้องทำกันเป็นหนังสือ เมื่อสงสัย ถือว่ายังไม่มีสัญญาต่อกันจนกว่าจะได้ทำเป็นหนังสือ
ม.370 ถ้าสัญญาต่างตอบแทน มีวัตถุประสงค์เป็นการก่อให้เกิด/ โอนทรัพยสิทธิในทรัพย์เฉพาะสิ่ง และทรัพย์นั้นสูญหาย/เสียหายไปด้วยเหตุใด อันจะลงโทษลูกหนี้มิได้ การสูญหาย/เสียหายนั้นตกเป็นพับแก่เจ้าหนี้
ว.2 ถ้าไม่ใช่ทรัพย์เฉพาะสิ่งให้ใช้บังคับเมื่อทรัพย์นั้นกลายเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง ตามม.195ว.2
ม.372 ถ้าการชำระหนี้เป็นการพ้นวิสัยอันจะโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมิได้ ลูกหนี้ไม่มีสิทธิได้รับการชำระหนี้ตอบแทน
ว.2 ถ้าการชำระตกเป็นพ้นวิสัย อันจะโทษเจ้าหนี้ได้ ลูกหนี้ก็ไม่เสียสิทธิที่จะรับชำระหนี้ตอบแทน แต่ถ้าลูกหนี้ ได้อะไรไว้เพราะการปลดหนี้ / ความสามารถของตนเป็นเหตุให้ได้มา / แกล้งละเลยไม่ขวนขวายมากน้อยเท่าใดจะต้องนำเอามาหักกับจำนวนอันตนจะได้รับชำระหนี้ตอบแทน รวมถึงกรณีที่การชำระหนี้อันฝ่ายหนึ่งค้างอยู่เป็นพ้นวิสัย
ม.377 เมื่อเข้าทำสัญญา ถ้าได้ให้สิ่งใดไว้เป็นมัดจำ ถือว่ามัดจำนั้นเป็นพยานหลักฐานว่าสัญญานั้นได้ทำกันขึ้นแล้ว
อนึ่งมัดจำย่อมเป็นประกันการที่จะปฎิบัติตามสัญญานั้นด้วย
ม.378 มัดจำถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น (2) ให้ริบ ถ้าฝ่ายที่วางมัดจำละเลยไม่ชำระหนี้ / การชำระหนี้เป็นพ้นวิสัยซึ่งฝ่ายนั้นต้องรับผิด/ ถ้าการเลิกสัญญาเพราะความผิดของฝ่ายนั้น
ม.380 ถ้าลูกหนี้ได้สัญญาไว้ว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้จะเรียกเอาเบี้ยปรับนั้นแทนการชำระหนี้ก็ได้ แต่ถ้าเจ้าหนี้แสดงต่อลูกหนี้ว่าจะเอาเบี้ยปรับแล้ว ก็เป็นอันขาดสิทธิเรียกร้องชำระหนี้อีกต่อไป
ว.2 ถ้าสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้ จะเรียกเอาเบี้ยปรับอันจะพึงริบในฐานเป็นจำนวนน้อยที่สุดแห่งค่าเสียหายก็ได้
ม.381 ถ้าลูกหนี้ได้สัญญาไว้ว่าจะให้เบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง นอกจากเรียกให้ชำระหนี้ เจ้าหนี้จะเรียกเอาเบี้ยปรับอันจะพึงริบนั้นอีกด้วยก็ได้
ว.2 ถ้าเจ้าหนี้มสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในมูลหนี้ไม่ถูกต้อง ให้บังคับตามมาตรา 380 ว.2
ว.3 ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้แล้ว จะเรียกเอาเบี้ยปรับได้ต่อเมื่อได้บอกสงวนสิทธิไว้ในเวลารับชำระหนี้
ม.382 ถ้าสัญญาว่าจะทำการชำระหนี้อย่างอื่น ให้เป็นเบี้ยปรับไม่ใช้เงิน ให้นำมาตรา 379-381 มาใช้บังคับ แต่ถ้าเจ้าหนี้เรียกเอาเบี้ยปรับแล้ว สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนเป็นอันหมดไป
ม.387 ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดเวลาพอสมควรแล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายนั้นชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ถ้าฝ่ายนั้นไม่ชำระภายในระยะเวลาที่กำหนดอีกฝ่ายจะเลิกเสียก็ได้
ม.388 ถ้าวัตถุที่ประสงค์แห่งสัญญานั้น ว่าโดยสภาพ/เจตนาที่คู่สัญญาแสดงไว้จะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ภายในระยะเวลา และระยะเวลานั้นได้ล่วงพ้นไปแล้ว อีกฝ่ายจะบอกเลิกสัญญาเสียโดยมิพักต้องบอกกล่าว
ม.389 ถ้าการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยทั้งหมดหรือบางส่วน อันจะโทษลูกหนี้ได้ เจ้าหนี้จะเลิกสัญญานั้นเสียก็ได้
ม.391 เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม แต่ทั้งนี้จะให้เสื่อมเสียแก่สิทธิของบุคคลภายนอกหาได้ไม่
ว.2 ส่วนเงินอันจะใช้คืนนั้น บวกดอกเบี้ยเข้าไปด้วยได้ ตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้
ว.4 การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นไม่กระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
-การถอนฟ้องเป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง เป็นการร้องทุกข์มิใช่นิติกรรม
-การรับฝากเงินผู้รับฝากต้องเป็นธนาคาร ตามกฎหมาย มิฉะนั้นตกเป็นโมฆะ แต่ทั้งสองฝ่ายต้องรู้ว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ ฝ่ายเดียวรู้ก้ไม่ทำให้นิติกรรมเป็นโมฆะ ผู้ฝากมิสิทธิเรียกเอาเงินคืน
-ดอกเบี้ย แยกส่วนที่สมบูรณ์ออก จากส่วนที่เป็นโมฆะได้
-คนต่างด้าวซื้อที่ดินให้จำเลยเป็นผู้รับโอนแทน นิติกรรมเป็นโมฆะ เฉพาะที่ดิน ส่วนสิ่งปลูกสร้างไม่เป็นโมฆะ
-คนต่างด้าวซื้อที่ดิน โดยขออนุญาต รมต. นิติกรรมไม่เป็นโมฆะ แต่ ถ้าไม่ได้รับอนุญาต ถือว่าการชำระหนี้เป็นอันพ้นวิสัย
***หลักการวินิจฉัย ดูว่า โมฆะหรือไม่ให้ดูเจตนาแรกที่ตกลงทำนิติกรรม หากเจตนาแรกไม่ขัดต่อกฎหมายใด ๆ นิติกรรมมีผลสมบูรณ์ แต่จะปฎิบัติได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบส่วนต่าง ๆ ที่เข้ามาภายหลัง
-ตกลงยุติข้อพิพาท อาญาแผ่นดินเป็นโมฆะ ส่วนตัวบังคับได้
-ถอนฟ้อง ช่วยเบิกความไปในทางเป็นผลดีแก่รูปคดี อาญาแผ่นดินโมฆะ
-หากเพียงแต่ตกลงแถลงต่อศาล ว่าได้รับชำระค่าสินไหมทดแทน แล้ว หรือเยียวยาความเสียหายเบื้องต้นแล้ว ไม่เป็นโมฆะ
-ยุยงส่งเสริมให้เป็นความกัน ซื้อขายความกัน รับส่วนแบ่งจากทรัพย์สินของลูกความ เว้นแต่หากมีส่วนได้เสียอยู่แล้ว เพียงแต่ออกเงินทดรองให้เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีไม่เป็นโมฆะ
-นิติกรรม ห้ามประกอบอาชีพบางอย่าง ต้องมีระยะเวลากำหนด หรืออาชีพกำหนดชัดเจน หากไม่กำหนดระยะเวลา อาชีพไม่ชัดเจน นิติกรรมเป็นโมฆะ
-ซื้อภริยา หากนำ ญ มาเป็นภริยา เป็นโมฆะ แต่หากเป็นภริยาแล้ว ตกลงเลิกกันให้ค่าตอบแทนการมาอยู่กินผลสมบูรณ์
-อุ้มบุญ นิติกรรมเป็นโมฆะ ขัดกับหน้าที่ของมารดา
-คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ ต้องได้รับคำสั่งจากศาล หาก ยังไม่ได้รับ เป็นคนวิกลจริต
หนี้
ม.215 เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ให้ถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ เจ้าหนี้จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายก็ได้
ม.217 ลูกหนี้จะต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อในระหว่างเวลาที่ตนผิดนัด ทั้งจะต้องรับผิดชอบในการที่การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะอุบัติเหตุอันเกิดขึ้นในระหว่างเวลาที่ตนผิดนัดด้วย เว้นแต่ความเสียหายนั้นถึงแม้ตนจะได้ชำระทันเวลากำหนดก็คงต้องเสียหายอยู่นั้นเอง
ม.218 ถ้าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัย ซึ่งลูกหนี้ต้องรับผิดชอบแล้ว ลูกหนี้ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้
ว.2 ในกรณีการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพียงบางส่วน ถ้าหากส่วนที่ยังไม่พ้นวิสัยเป็นอันไร้ประโยชน์แก้เจ้าหนี้แล้ว เจ้าหนี้จะไม่ยอมรับส่วนนั้นก็ได้ และเรียกค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดที่เดียวก็ได้
ม.219 ถ้าการชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเกิดขึ้นภายหลังที่ได้ก่อหนี้ ซึ่งลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบนั้น ลูกหนี้เป็นอันหลุดพ้น
ว.2 ถ้าภ่ยหลังที่ได้ก่อหนี้ลูกหนี้กลายเป็นคนไม่สามารถชำระหนี้ได้ให้ถือเสมือนว่าการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย
ม.321 หนี้เงินอันจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่กัน จะคิดดอกเบี้ยในระหว่างเจ้าหนี้ผิดนัดไม่ได้
ม.341 บุคคล 2 คน ต่างมีความผูกพันซึ่งกันและกันโดยมูลหนี้ อันมีวัตถุประสงค์เป็นอย่างเดียวกัน + หนี้ทั้ง 2 รายถึงกำหนดชำระฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะหักกลบลบหนี้เท่าจำนวนที่ตรงกันในมูลหนี้ทั้งสองฝ่ายนั้น เว้นแต่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่อง
ละเมิด
ม.420 ผู้ใดจงใจ/ประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายแก่ชีวิตร่างกายอนามัยทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
ม.421 การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะทำให้แก่ความเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น เป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย
ม.425 นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้าง
ม.426 นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคบภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้กระทำไปนั้น มีสิทธิไล่เบี้ยได้จากลูกจ้าง
ม.427 บทบัญญัติ มาตรา 425 , 426 ให้ใชบังคับแก่ตัวการและตัวแทนโดยอนุโลม
ม.428 ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่จ้าง เว้นแต่ ผู้ว่าจ้างมีส่วนผิดในการงานที่สั่งให้ทำ / ในคำสั่งที่ตนให้ไว้ / ในการเลือกหาผู้รับจ้าง
ม.429 บุคคลใดแม้ไร้ความสามารถเพราะเป็นผู้เยาว์ / วิกลจริต ก็ยังคงต้องรับผิดในผลละเมิดที่ตนกระทำละเมิด บิดามารดา / ผู้อนุบาล/ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยยู่นั้น
ม.437 บุคคลใดครอบครอง/ควบคุมดูแลยานพาหนะอย่างใดๆ อันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล บุคคลนั้นจะต้องรับผิดชอบเพื่อความเสียหายอันเกิดจากยานพาหนะนั้น เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดขึ้นจากเหตุสุวิสัย/ความผิดของผู้เสียหาย
ม.448 สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด ท่านว่าขาดอายุความเมื่อพ้น 1 ปี นับแต่รู้ถึง+รู้ตัว / 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ทำละเมิด
ข้อ ๔ ซื้อขาย,เช่าทรัพย์,เช่าซื้อ
ม.456 การซื้อขายอสังหาฯถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือ+จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นโมฆะ รวมถึงซื้อขายเรือกำปั่น/เรือมีระวางตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไป/เรือกลไฟ/เรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป / ทั้งซื้อขายแพและสัตว์พาหนะด้วย
ว.2 อนึ่งสัญญาจะซื้อจะขายทรัพย์สินดังว่ามานี้ /คำมั่นในการซื้อขายทรัพย์เช่นว่านี้ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ /มิได้วางประจำ/ชำระหนี้บางส่วน ท่านว่าจะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่
ว.3 ตามว.2 ให้ใช้บังคับถึงสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงซื้อขายกันมีราคา 2,000 บาท/กว่านั้นขึ้นไปด้วย
ม.491 ขายฝาก คือสัญญาซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืน
ม.492 กรณีที่มีการไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝากภายในเวลาที่กำหนดในสัญญา / ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด / ผู้ไถ่ได้วางทรัพย์อันเป็นสินไถ่ต่อสำนักงานวางทรัพย์ภายในระยะเวลาการไถ่โดยสละสิทธิถอนทรัพย์ที่ได้วางไว้ ให้ทรัพย์สินซึ่งขายฝากตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ไถ่ตั้งแต่เวลาที่ผู้ไถ่ได้ชำระสินไถ่ / วางทรัพย์อันเป็นสินไถ่
ม.494 ห้ามมิให้ไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากเมื่อพ้นกำหนด (1)10 ปี สำหรับอสังฯ (2) 3 ปีสำหรับ สังหาฯ
ม.496 กำหนดเวลาไถ่อาจทำสัญญาขยายได้ แต่รวมกันแล้วถ้าเกินมาตรา 494 ให้ลดลงมาเป็นกำหนดตามม.494
ว.2 การขยายเวลาไถ่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับไถ่ ถ้าเป็นทรัพย์สินที่ต้องทำเป็นหนังสือ+จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ห้ามมิให้ยกการขยายเวลาไถ่เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทน+สุจริต+จดทะเบียนแล้ว
เว้นแต่ จะได้ทำหนังสือ/หลักฐานเป็นหนังสือดังกล่าวไปจดทะเบียน/จดแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ม.499 สินไถ่ ถ้าไม่ได้กำหนดกันไว้เท่าใด ให้ไถ่ตามราคาที่ขายฝาก
ว.2. ถ้าปรากฎในเวลาไถ่ว่าสินไถ่/ราคาที่ขายฝากที่กำหนดสูงกว่าราคาขายฝากที่แท้จริงเกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ให้ไถ่ตามราคาขายฝากที่แทนจริง+ประโยชน์ตอบแทนร้อยละ 15 ต่อปี
ม.502 บุคคลผู้ไถ่ย่อมได้รับคืนไปโดยปลอดสิทธิใด ๆ ซึ่งผู้ซื้อเดิม/ทายาท/ผู้รับโอน ก่อให้เกิดขึ้นก่อนเวลาไถ่
ว.2 การเช่าทรัพย์ที่อยู่ในระหว่างการขายฝากอันได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว การเช่นนั้นหากมิได้ทำขึ้นเพื่อจะให้เสียหายแก่ผู้ขายฝาก กำหนดเวลาการเช่าเหลืออยู่เพียงใดก็คงให้สมบูรณ์ แต่มิให้เกินกว่า 1 ปี
เช่าทรัพย์
ม.537 เช่าทรัพย์ คือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้ให้เช่า ตกลงให้บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้เช่า ได้ใช้/ได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด +ผู้เช่าตกลงจะชำระค่าเช่า
ม.538 เช่าอสังฯถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่ ถ้าเช่าเกินกว่า 3 ปี หรือตลอดอายุผู้เช่าหรือผู้ให้เช่า หากมิได้ทำเป็นหนังือ+จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จะฟ้องร้องบังคับกันได้เพียง 3 ปี
ม.549 การส่งมอบทรัพย์สินที่เช่า/ความรับผิดของผู้ให้เช่าในกรณีชำรุดบกพร่อง+ รอนสิทธิ / ผลแห่งสัญญาว่าจะไม่ต้องรับผิดเหล่านี้ ให้นำซื้อขายมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ม.560 ถ้าผู้เช่าไม่ชำระค่าเช่า ผู้ให้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้
ว.2 ถ้าค่าเช่าพึงส่งเป็นรายเดือนหรือกว่านั้น ผู้ให้เช่าต้องบอกกล่าวแก่ผู้เช่าก่อนว่าจะให้ชำระค่าเช่าภายในเวลาใด ซึ่งพึงกำหนดอย่างให้น้อยกว่า 15 วัน
ม.569 สัญญาเช่าอสังฯย่อมไม่ระงับไปเพราะเหตุแห่งการโอนกรรมสิทธิ์ ทรัพย์สินซึ่งให้เช่า
ว.2 ผู้รับโอนย่อมรับไปทั้งสิทธิ+หน้าที่ของผู้โอนซึ่งมีต่อผู้เช่านั้นด้วย
ม.570 เมื่อสิ้นสัญญาเช่า ถ้าผู้เช่ายังครองทรัพย์อยู่+ผู้ให้เช่ารู้แล้วไม่ทักท้วง ถือว่าคู่สัญญาได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดระยะเวลา
เช่าซื้อ
ม.572 เช่าซื้อ คือสัญญา ซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่า + ให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น/จะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิของผู้เช่า โดยมีเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินจำนวนหนึ่ง
ว.2 สัญญาเช่าซื้อ ถ้าไม่ได้ทำเป็นหนังสือ เป็นโมฆะ
ม.573 ผู้เช่าซื้อจะบอกเลิกสัญญาในเวลาหนึ่งเวลาใดก็ได้ ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินคืนแก่เจ้าของ
ม.574 ในกรณีผิดนัดไม่ใช้เงิน2 คราวติด ๆ กัน/กระทำผิดสัญญาในข้อสำคัญ เจ้าของทรัพย์สินจะบอกเลิกสัญญาเสียก้ได้
บรรดาเงินที่ได้ใช้มาแล้ว ให้ริบเป็นของเจ้าของทรัพย์สิน +เจ้าของมีสิทธิกลับเข้าครองทรัพย์สินนั้น
ว.2 ในกรณีกระทำผิดสัญญาเพราะผิดนัดไม่ใช้เงินในคราวสุดนั้น เจ้าของทรัพย์สิน ชอบที่จะริบบรรดาเงินที่ได้ใช้มาแต่ก่อน + กลับเข้าครองทรัพย์สินได้ ต่อเมื่อระยะเวลาใช้เงินได้พ้นกำหนดไปอีกหนึ่งงวด
ข้อ ๕. ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ
ม.643 ทรัพย์สินซึ่งยืมนั้น ถ้าผู้ยืมเอาไปใช้การอย่างอื่น นอกจากการอันเป็นปกติ / นอกจากการอันปรากฎในสัญญา /เอาไปให้บุคคลภายนอกใช้สอย/เอาไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้ ท่านว่าผู้ยืมจะต้องรับผิดในเหตุทรัพย์สินนั้นสูญหาย/บุบสลาย แม้จะเป็นเหตุสุดวิสัย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าอย่างไรทรัพย์สินนั้นก็คงต้องสูญหาย/บุบสลายอยู่นั้นเอง
ม.653 การกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาทขึ้นไป ถ้ามิได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องบังคับคดีกันหาได้ไม่
ค้ำประกัน
ม.680 ค้ำประกัน คือ สัญญาซึ่งบุคคลภายนอก (ผู้ค้ำประกัน) ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อชำระหนี้ เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น
ว. 2 สัญญาค้ำประกัน ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกัน จะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่
ม. 681 ค้ำประกันมีได้เฉพาะเพื่อหนี้อันสมบูรณ์
ม. 682 บุคคลจะยอมเข้าเป็นผู้รับเรือน คือ เป็นประกันของผู้ค้ำประกันอีกชั้นหนึ่งก็ได้
ว. 2 บุคคลหลายคนเข้าค้ำประกันในหนี้รายเดียวกัน ต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม
ม. 686 ลูกหนี้ผิดนัดเมื่อใดเจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระได้เมื่อนั้น
ม. 691 ถ้าผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันย่อมไม่มีสิทธิ ตามมาตรา 688 (เกี่ยง) , 689 (พิสูจน์ว่าลูกหนี้มีเงิน) และ มาตรา 690 (ให้เจ้าหนี้บังคับจากทรัพย์ลูกหนี้ที่ยึดไว้ก่อน)
ม. 692 อายุความสะดุดหยุดลงเป็นโทษแก่ลูกหนี้ ย่อมเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันด้วย
ม. 697 ถ้าการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดของเจ้าหนี้ เป็นเหตุให้ผู้ค้ำประกัน ไม่อาจเข้ารับช่วงสิทธิจำนอง จำนำ บุริมสิทธิ อันได้ให้ไว้แก่เจ้าหนี้ก่อน / ขระทำสัญญา ผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดเท่าที่ตนต้องเสียหาย
ม. 699 การค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันหลายคราวไม่มีจำกัดเวลา ผู้ค้ำประกันอาจเลิกเสียคราวอนาคตก็ได้ โดยบอกกล่าวแก่เจ้าหนี้
ม. 700 ถ้าค้ำประกันอันต้องชำระ ณ เวลามีกำหนดแน่นอน + เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นจากความรับผิด เว้นแต่ผู้ค้ำประกันจะได้ตกลงในการผ่อนเวลาด้วย
ม. 701 ถ้าผู้ค้ำประกันขอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ ถ้าเจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจำนอง
ม. 702 จำนอง คือ สัญญาซึ่งผู้จำนอง เอาทรัพย์สินตราไว้แก่ผู้รับจำนอง เป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้น
ว. 2 ผู้รับจำนองชอบที่จะได้รับชำระหนี้ จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ
ม. 707 ให้นำมาตรา 681 (หนี้สมบูรณ์) มาบังคับใช้ในการจำนองโดยอนุโลม
ม. 711 จะตกลงกันก่อนถึงเวลาชำระหนี้ว่า ถ้าไม่ชำระหนี้ให้ผู้รับจำนองเข้าเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่จำนองไม่ได้ ข้อตกลงไม่สมบูรณ์
ม. 714 สัญญาจำนองต้องทำเป็นหนังสือ + จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ม. 725 เมื่อบุคคล 2 คน / กว่านั้น ได้จำนองประกันหนี้รายเดียวกันโดยมิได้ระบุลำดับ ผู้จำนองซึ่งได้ชำระหนี้จะไล่เบี้ยคนอื่นไม่ได้
ม. 726 บุคคลหลายคนได้จำนองประกันหนี้รายเดียวกัน + ได้ระบุลำดับไว้ การที่ผู้รับจำนองยอมปลดหนี้ให้แก่ผู้จำนองคนหนึ่ง ย่อมทำให้ผู้จำนองคนหลังๆ ได้หลุดพ้นเพียงขนาดที่เขาต้องได้รับความเสียหาย
ม. 727 ถ้าบุคคลคนเดียวจำนองประกันหนี้อันบุคคลอื่นต้องชำระ ให้ใช้มาตรา 697 , 700 , 701 มาบังคับโดยอนุโลม
ม. 728 เมื่อจะบังคับจำนองผู้รับจำนองจะต้องมีหนังสือบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรก่อน ถ้าลูกหนี้ละลเยเสีย ผู้รับจำนองจะฟ้องคดีต่อศาลเพื่อให้ยึดและขายทอดตลาดก็ได้
ม. 733 ถ้าเอาทรัพย์จำนองหลุด + ราคาต่ำกว่าจำนวนหนี้ที่ค้าง / ถ้าเอาขายทอดตลาดได้เงินน้อยกว่าที่ค้างชำระกันอยู่ ส่วนที่ขาดลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ
ม. 734 ถ้าจำนองหลายสิ่งประกันหนี้รายเดียวมิได้ระบุลำดับ ผู้รับจำนองจะใช้สิทธิบังคับทั้งหมด / บางส่วนก็ได้ แต่ไม่เกินหนี้
ม. 744 จำนองย่อมระงับ เมื่อ (1) หนี้ที่ประกันระงับ มิใช่โดยอายุความ (2) ปลดจำนองเป็นหนังสือ (3) ผู้จำนองหลุดพ้น (4) ถอนจำนอง (5) ขายทอดตลาดเพราะบังคับจำนอง (6) เอาทรัพย์ที่จำนองนั้นหลุด
จำนำ
ม. 747 จำนำ คือ สัญญาซึ่งผู้จำนำ ส่งมอบทรัพย์สินสิ่งหนึ่ง ให้แก่ผู้รับจำนำ เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้
ม. 750 ถ้าทรัพย์สินที่จำนำเป็นสิทธิซึ่งมีตราสาร + มิได้ส่งมอบตราสารให้แก่ผู้รับจำนำ ทั้งมิได้บอกกล่าวเป็นหนังสือแจ้งจำนำ แก่ลูกหนี้แห่งสิทธินั้นด้วย การจำนำย่อมเป็นโมฆะ
ม. 756 การที่ตกลงกันไว้ก่อนหนี้ถึงกำหนดชำระว่า ถ้าไม่ชำระหนี้ให้ผู้รับจำนำเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่จำนำ / ให้จัดการแก่ทรัพย์สินนั้นเป็นประการอื่น ข้อตกลงนั้นไม่สมบูรณ์
ม. 767 เมื่อบังคับจำนำได้เงินสุทธิเท่าใด ผู้รับจำนำต้องจัดสรรชำระหนี้ มีเงินเหลือต้องส่งคืน แต่ถ้าขาดลูกหนี้ก็ยังคงต้องชำระ
ม. 769 จำนำย่อมระงับ เมื่อ (1) หนี้ซึ่งจำนำเป็นประกันระงับ มิใช่โดยอายุความ (2) ผู้รับจำนำยอมให้ทรัพย์สินที่จำนำกลับคืน ไปสู่การครอบครองของผู้จำนำ
ข้อ ๖. ตัวแทน , ประกันภัย , ตั๋วเงิน , บัญชีเดินสะพัด
ตัวแทน
ม. 797 ตัวแทน คือ สัญญาซึ่งให้ตัวแทนมีอำนาจทำการแทนตัวการ + ตกลงทำการนั้น
ม. 801 ตัวแทนได้รับมอบอำนาจทั่วไปทำได้ทุกอย่าง ยกเว้น (1) ขาย / จำนองอสังหาฯ (2) ให้เช่าอสังหาฯ กว่า 3 ปี (3) ให้ (4) ยอมความ (5) ยื่นฟ้อง (6) อนุญาโตตุลาการ
ม. 805 ตัวแทนเมื่อไม่ได้รับความยินยอมของตัวการจะเข้าทำนิติกรรมใดๆ ในนามของตัวการกับตนเอง / ตัวแทนบุคคลภายนอกหาได้ไม่ เว้นแต่การชำระหนี้
ม. 820 ตัวการย่อมผูกพันต่อบุคคลภายนอก ในกิจการทั้งหลายอันตัวแทน / ตัวแทนช่วง ได้ทำไปในขอบอำนาจ
ม. 821 บุคคลใดเชิดบุคคลอีกคนหนึ่งออกแสดงเป็นตัแทนของตน รู้แล้วยอมให้อีกคนหนึ่งเชิดตัวเขาเป้นตัวแทน บุคคลผู้นั้นต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริต
ประกันภัย
ม. 865 ถ้าในเวลาทำสัญญา ผู้เอาประกัน รู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจูงใจผู้รับประกัน ให้เรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นอีก / ให้บอกปัดไม่ยอมทำสัญญา / รู้อยู่แล้วแถลงข้อความนั้นเป็นเท็จ สัญญานั้นเป็นโมฆียะ
ว. 2 ถ้ามิได้ใช้สิทธิบอกล้างภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันทราบมูลอันจะบอกล้าง / มิได้ใช้สิทธินั้นภายใน 5 ปี นับแต่วันทำสัญญา สิทธินั้นเป็นอันระงับ
ม. 879 ผู้รับประกันไม่ต้องรับผิด เมื่อความวินาศภัย / เหตุอื่นซึ่งได้ระบุในสัญญานั้นได้เกิดขึ้นเพราะ ความทุจริต / ความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกัน / ผู้รับประโยชน์
ม. 880 ถ้าความวินาศภัยนั้นได้เกิดขึ้นเพราะการกาะทำของบุคคลภายนอก ผู้รับประกันได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแล้ว ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันและผู้รับประโยชนื
ว. 2 ถ้าได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแต่บางส่วน ห้ามมิให้ใช้สิทธิให้เสื่อมเสียสิทธิของผู้เอาประกัน ในการจะเรียกที่เหลือ
ม. 887 ประกันภัยค้ำจุน คือ สัญญาประกันภัยซึ่งผู้รับประกันตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกัน เพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด ซึ่งผู้เอาประกันจะต้องรับผิดชอบ
ว. 2 ผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันโดยตรง แต่ถ้าเกินกว่าที่เอาประกัน ให้เรียกจากตัวผู้เอาประกัน โดยเรียกเข้ามาในคดี
ว. 3 ผู้รับประกันแม้จะได้ส่งค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันแล้ว ก้ไม่หลุดพ้นจากความรับผิด เว้นแต่พิสูจน์ได้ว่า ผู้เอาประกันนำไปชำระแก่ผู้เสียหายแล้ว
ม. 895 เมื่อใดจะต้องใช้เงินในเหตุมรณะของบุคคลหนึ่งบุคคลใด ผู้รับประกันจะต้องใช้เงินนั้นเมื่อความตายนั้นเกิดขึ้น เว้นแต่ (1) บุคคลนั้นฆ่าตัวตายภายใน 1 ปี นับแต่วันทำสัญญา (2) บุคคลผู้นั้นถูกผู้รับประโยชน์ฆ่าตายโดยเจตนา แต่ทั้งนี้ผู้รับประกันจะต้องใช้เงินค่าไถ่ถอนกรมธรรม์ ให้แก่ผู้เอาประกัน / ทายาท
ม. 896 ถ้าความตายเกิดขึ้นเพราะความผิดของบุคคลภายนอก ผู้รับประกันก็ไม่สามารถจะเยกเอาค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลภายนอกนั้นได้ แต่ทั้งนี้ไม่ห้ามทายาทที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทนจากบุคคลภายนอก
ม. 897 ถ้าผู้เอาประกันระบุให้ใช้เงินแก่ทายาทโดยมิได้ระบุชื่อ เงินที่ได้รับนั้นเข้ากองมรดก แต่ถ้าระบุชื่อเฉพาะเบี้ยประกันที่เข้า
๗. ตั๋วเงิน
ม. 898 ตั๋วเงิน คือ ตั๋วแลกเงิน , ตั๋วสัญญาใช้เงิน , เช็ค
ม. 899 ข้อความใดที่มิได้บัญญัติไว้ ถ้าเขียนลงในตั๋วเงิน หามีผลเป็นอย่างใดไม่
ม. 900 ผู้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความ
ม. 904 ผู้ทรง คือ ผู้มีตั๋วไว้ในครอบครองฐานเป็นผู้รับเงิน / ผู้รับสลักหลัง , ตั๋วผู้ถือ ผู้ถือเป็นผู้ทรง
ม. 905 ผู้ครอบครองตั๋ว แสดงให้ปรากฏว่าสิทธิมาจากการสลักหลังไม่ขาดสาย แม้สุดท้ายจะสลักหลังลอย ถือว่าเป็นผู้ทรง
ว. 2 บุคคลใดต้องปราศจากตั๋วไปจากครอบครอง ผู้ทรงซึ่งแสดงให้ปรากฏสิทธิของตนในตั๋ว หาจำต้องสละตั๋วไม่ เว้นแต่จะได้มาโดยทุจริต / ได้มาด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ให้ใช้บังคับกับผู้ทรงตั๋วผู้ถือด้วย
ม. 914 ผู้สั่งจ่าย / ผุ้สลักหลังตั๋วแลกเงินย่อมเป็นสัญญาว่าเมื่อตั๋วนั้นได้นำไปยื่น โดยชอบแล้วจะมีผู้รับรอง + ใช้เงินตามตั๋ว ถ้าตั๋วนั้นเขาไม่เชื่อถือ / ไม่รับรอง / ไม่ใช้เงิน ผู้สั่งจ่าย / ผู้สลักหลังก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง หากได้ทำถูกต้องตามวิธีการในข้อไม่รับรอง
ม. 916 ผู้ถูกฟ้องในมูลตั๋วแลกเงิน จะต่อสู้ต่อผู้ทรงด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้สั่งจ่าย / ผู้สลักหลัง คนก่อนๆ ไม่ได้ เว้นแต่ การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดฉ้อฉล
ม. 917 ตั๋วแลกเงิน โอนให้กันได้โดยสลักหลัง / ส่งมอบ
ว. 2 ผู้สั่งจ่ายเขียนในด้านหน้าตั๋วว่า เปลี่ยนมือไม่ได้ (ห้ามโอน) จะโอนกันได้ก็ต่อเมื่อโอนอย่างสามัญ (ทำเป็นหนังสือ)
ม. 919 การสลักหลังต้องเขียนลงในตั๋วแลกเงิน / ใบประจำต่อ + ลงลายมือชื่อผู้สลักหลัง
ว. 2 การสลักหลังโดยไม่ลงชื่อผู้รับประโยชน์ก็สมบูรณ์ ซึ่งเป็นการสลักหลังลอย
(3) โอนตั๋วเงินให้บุคคลภายนอกโดยไม่กรอกข้อความ + ไม่สลักหลัง
ม. 921 การสลักหลังตั๋วแลกเงินผู้ถือ เป็นการประกัน (อาวัล) ผู้สั่งจ่าย
ม.939 การรับอาวัล ทำได้โดยการเขียนลงในตั๋วเงินนั้น / ใบประจำต่อ ใช้คำว่า ได้ใช้เป้นอาวัล + ลงลายมือชื่อผู้รับอาวัล
ว. 3 การลงลายมือชื่อของผู้รับอาวัล ในด้าหน้าตั๋วเงิน ก้เป็นการรับอาวัลแล้ว เว้นแต่เป็นลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย / ผู้จ่าย
ว. 4 การรับอาวัลต้องระบุว่ารับประกันผู้ใด หากไม่ระบุเป็นการรับประกันผู้สั่งจ่าย
ม. 940 ผู้รับอาวัลย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกับบุคคลซึ่งตนประกัน แม้ความรับผิดจะใช้ไม่ได้เพราะผิดระเบียบ การอาวัลก็ยังสมบูรณ์
ม. 959 ผู้ทรงตั๋วแลกเงิน จะใช้สิทธิไล่เบี้ยผู้สลักหลัง + ผู้สั่งจ่าย + บุคคลอื่นๆ ซึ่งต้องรับผิดตามตั๋วเงินนั้นก็ได้ คือ (ก) ได้เมื่อตั๋วถึงกำหนด กรณีไม่ใช้เงิน (ข) ได้เมื่อตั๋วยังไม่ถึงกำหนดหาก 1) เขาบอกปัดไม่รับรอง 2) ผู้จ่ายล้มละลาย 3) ผู้สั่งจ่ายล้มละลาย
ม. 967 ในเรื่องตั๋วแลกเงินนั้น บรรดาผู้สั่งจ่าย / ผู้รับรอง / ผู้สลักหลัง / ผู้ประกัน (อาวัล) ย่อมต้องรับผิดร่วมกันต่อผู้ทรง
ม. 971 ผู้สั่งจ่าย / ผู้รับรอง / ผู้สลักหลังคนก่อน ซึ่งเขาสลักหลัง / โอนตั๋วแลกเงินให้อีกทอดหนึ่ง ไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่คู่สัญญา ฝ่ายหนึ่งซึ่งตนย่อมต้องรับผิดต่อเขาอยู่ก่อนแล้วตามตั๋วเงินนั้น
ม. 989 บทบัญญัติเรื่องตั๋วแลกเงิน ให้นำมาบังคับใช้ในเรื่องเช็ค คือ ม.910 , 914 – 923 , 925 , 926 , 938 – 940 , 945 , 946 , 959 , 967
ม. 991 ธนาคารจำต้องใช้เงินตามเช็ค เว้นแต่ (1) ไม่มีเงินในบัญชีพอ (2) เช็คนั้นยื่นเมื่อพ้น 6 เดือน นับแต่ออกเช็ค (3) มีคำบอกกล่าว
ม. 1002 คดีที่ผู้ทรงฟ้องผู้สลักหลัง + ผู้สั่งจ่าย ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้น 1 ปี นับแต่วันที่ได้ลงในคำคัดค้านซึ่งทำขึ้นในกำหนด
ม. 1007 ถ้าข้อความในตั๋วเงิน / ในคำรับรอง มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญโดยคู่สัญญาทั้งปวงมิได้ยิยยอมด้วยทุกคน ตั๋วเงินนั้นเป็นอันเสียไป เว้นแต่ใช้ได้ต่อผู้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลง / ได้ยินยอม + ผู้สลักหลังในภายหลัง
ว. 2 หากการแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ประจักษ์ + ตั๋วเงินตกอยู่ในมือผู้ทรงโดยชอบ ผู้ทรงจะเอาประโยชน์จากตั๋วเงินนั้นก็ได้ เสมือนหนึ่งว่าไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลย + จะบังคับการใช้เงินตามเนื้อความเดิมแห่งตั๋วก็ได้
ว. 3 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อสำคัญ คือ วันที่ลง / จำนวนเงิน / เวลาใช้เงิน / สถานที่ใช้เงิน / รวมถึงเติมสถานที่ใช้เงิน
ม. 1008 เมื่อใดเป็นลายมือชื่อปลอม / มิได้มอบอำนาจ ผู้ใดจะอ้างเพื่อแสวงสิทธิยึดหน่วง / ทำให้หลุดพ้น / บังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญาแห่งตั๋วนั้นไม่อาจทำได้ เว้นแต่ เป็นผู้ซึ่งถูกตัดบทมิให้ยกลายมือชื่อปลอม / ปราศจากอำนาจ ขึ้นต่อสู้
ม. 1009 ถ้ามีผู้นำตั๋วเงินชนิดผู้ถือ มาเบิกต่อธนาคาร + ธนาคารได้ใช้เงินไปตามทางค้าปกติโดยสุจริต + ปราศจากความประมาท ถือว่าธนาคารได้ใช้เงินไปถูกระเบียบ

หุ้นส่วน/บริษัท
ม. 1012 สัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน / บริษัท คือ สัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่ 2 คน ตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไร อันจะพึ่งได้แต่กิจการที่ทำนั้น
ม. 1015 ห้างหุ้นส่วน / บริษัท เมื่อได้จดทะเบียน ย่อมเป็นนิติบุคคล
ม. 1025 ห้างหุ้นส่วนสามัญ คือ ห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวง โดยไม่มีจำกัด
ม. 1050 การใดๆ ที่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดทำไปในทางธรรมดาค้าขาย ย่อมผูกพันหุ้นส่วนทุกคนที่ต้องรับผิดร่วมกัน โดยไม่จำกัด
ม. 1053 ห้างหุ้นส่วนซึ่งยังไม่จดทะเบียน แม้จะมีข้อจำกัดอำนาจของหุ้นส่วนคนใดในการผูกพันหุ้นส่วนคนอื่น ข้อจำกัดนั้นไม่มีผลถึงบุคคลภายนอก
ม. 1054 การเลิกกันของห้างหุ้นส่วนสามัญ (1) สัญญากำหนดกรณีที่จะเลิก (2) สัญญากำหนดเวลาและสิ้นกำหนด (3) สัญญาทำไว้เพื่อกิจการใดเฉพาะอย่างเดียว แล้วกิจการนั้นเสร็จ (4) หุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดบอกกล่าว จะเลิกล่วงหน้า 6 เดือน (5) หุ้นส่วนคนใดตาย / ล้มละลาย / ไร้ความสามารถ
ม. 1061 เมื่อห้างเลิกกันแล้วให้จัดการชำระบัญชี
ม . 1062 การชำระบัญชีให้ทำโดยลำดับดังนี้ (1) ชำระหนี้ที่ค้างให้บุคลภายนอก (2) ชดใช้เงินทดรองที่หุ้นส่วนได้จ่ายไป (3) ให้คืนทุนทรัพย์ที่แต่ละคนได้ลงหุ้น ถ้าเหลือแบ่งเป็นกำไร
ม . 1068 ความรับผิดของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน เกี่ยวกับหนี้ที่ได้ก่อขึ้นก่อนตนออกจากหุ้นส่วน จำกัดเพียง 2 ปี
ม. 1070 ห้างหุ้นส่วนซึ่งจดทะเบียนผิดนัดชำระหนี้ เจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกเอาจากหุ้นส่วนคนหนึ่งคนใดก็ได้ เว้นแต่หุ้นส่วนพิสูจน์ได้ว่า (1) สินทรัพย์ของห้างยังพอมี (2) การจะบังคับเอาจากห้างไม่เป็นการยาก ตาม ม. 1071
ม. 1072 ถ้าห้างหุ้นส่วนซึ่งจดทะเบียนยังมิได้เลิกกันตราบใด เจ้าหนี้ย่อมใช้สิทธิได้แต่เพียงกำไร / เงินที่ห้างค้างชำระแก่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนนั้นเท่านั้น ถ้าห้างหุ้นส่วนนั้นเลิกกันแล้ว เจ้าหนี้ย่อมใช้สิทธิได้ตลอดจนถึงหุ้นของหุ้นส่วนคนนั้น
ม. 1077 อันห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ ห้างหุ้นส่วนซึ่งมีหุ้นส่วน 2 จำพวก กล่าวคือ (1) จำพวกจำกัดความรับผิด (2) จำพวกไม่จำกัด
ม . 1079 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ถ้ายังไม่จดทะเบียน ถือว่าเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันไม่จำกัด
ม. 1081 ห้ามมิให้เอาชื่อหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดระคนเป็นชื่อห้าง
ม. 1082 หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดให้ใช้ตนระคนเป็นชื่อห้าง จะต้องรับผิดเสมือนเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดจำนวน
ม. 1087 ห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้น ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้นเป็นผู้จัดการ
ม. 1088 ถ้าหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดสอดเข้าไปจัดการงานของห้าง ต้องรับผิดร่วมกันในหนี้ทั้งหลาย โดยไม่จำกัดจำนวน
ม. 1090 พวกจำกัดความรับผิดจะประกอบการค้าใดๆ ก็ได้ แม้มีสภาพอย่างเดียวกันกับการค้าขายของห้างหุ้นส่วน
ม. 1096 บริษัทจำกัด คือ บริษัทซึ่งตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่าๆ กัน โดยมีผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเท่าหุ้น
ม. 1105 อันหุ้นนั้น ห้ามิให้ออกโดยราคาต่ำไปกว่ามูลค่าของหุ้นที่ตั้ง
ม. 1112 ถ้ามิได้จดทะเบียนภายใน 3 เดือนนับแต่ประชุมตั้งบริษัท บริษัทเป็นอันไม่ได้ตั้ง
ม. 1113 ผู้เริ่มก่อการบริษัทต้องรับผิดร่วมกัน + ไม่จำกัดในบรรดาหนี้ จนกว่าจะได้จดทะเบียนบริษัท
ม. 1119 หุ้นทุกหุ้นจำต้องใช้เป็นเงินสดจนเต็มค่า
ม. 1129 หุ้นนั้นย่อมโอนกันได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากบริษัท เว้นแต่เป็นหุ้นระบุชื่อ
ม. 1133 หุ้นซึ่งโอนกัน ถ้าเป็นหุ้นที่ยังส่งเงินไม่ครบ ผู้โอนยังคงต้องรับผิด เว้นแต่ หนี้ซึ่งบริษัทได้ก่อขึ้นภายหลัง
ม. 1143 ห้ามิให้บริษัทจำกัดเป็นเจ้าของถือหุ้นของตนเอง / รับจำนำหุ้นของตนเอง
ม. 1144 บริษัทจำกัด ให้มีกรรมการคนหนึ่ง / หลายคน เป็นผู้จัดการตามข้อบังคับ + อยู่ในความครอบงำของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น
ม. 1151 ผู้เป็นกรรมการอาจจะตั้ง / ถอนได้ก็แต่โดยที่ประชุมใหญ่เท่านั้น
ม. 1166 บรรดาการซึ่งกรรมการได้ทำไป แม้ภายหลังปรากฏว่าการแต่งตั้งมีข้อบกพร่อง การที่ได้ทำนั้นก็สมบูรณ์
ม. 1167 ความเกี่ยวพันระหว่างกรรมการ + บุคคลภายนอกนั้นให้บังคับว่าด้วยตัวแทน
ม. 1169 ถ้ากรรมการทำให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท บริษัท / ผู้ถือหุ้น จะฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนก็ได้
ม. 1170 เมื่อการซึ่กรรมการทำไปโดยได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่แล้ว กรรมการนั้นไม่ต้องรับผิด
ม. 1173 การประชุมวิสามัญ ต้องมีผู้ถือหุ้นมีจำนวนหุ้นไม่น้อยกว่า 1 / 5 แห่งจำนวนหุ้นทั้งหมด ได้เข้าชื่อร้องขอให้ประชุม
ม. 1184 ผู้ถือหุ้นคนใดยังมิได้ชำระค่าหุ้น ไม่มีสิทธิออกเสียงเป็นคะแนน
ม. 1185 ผู้ถือหุ้นคนใดมีส่วนได้เสีย ห้ามมิให้ออกเสียง
ม. 1195 การเรียกประชุม / การลงมติโดยฝ่าฝืนกฎหมาย , ข้อบังคับบริษัท กรรมการ / ผู้ถือหุ้นร้องขอให้ศาลเพิกถอนได้ ภายใน 1 เดือน
ข้อ ๘. ครอบครัว – มรดก
ครอบครัว ( ม.1435 – 1598/41 )
ม. 1437 การหมั้นจะสมบูรณ์ เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้น ให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสด้วย
ม. 1452 ชาย / หญิง จะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสไม่ได้
ม. 1466 สัญญาก่อนสมรสเป็นโมฆะ ถ้ามิได้จดแจ้งข้อตกลงกันเป็นสัญญาก่อนสมรสนั้น ไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียนสมรส / มิได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สมรส + พยานอย่างน้อย 2 คน แนบไว้ท้ายทะเบียนสมรส และได้จดไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียนสมรสว่าได้มีสัญญานั้นแนบไว้
ม. 1470 ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา นอกจากที่เป็นสินส่วนตัว ย่อมเป็นสินสมรส
ม. 1471 สินส่วนตัว ได้แก่ ทรัพย์สินที่ (1) ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีอยู่ก่อนสมรส (2) เป็นเครื่องใช้ส่วนตัว / เครื่องแต่งกาย / เครื่องประดับ / เครื่องมือเครื่องใช้จำเป็นในการประกอบอาชีพ (3) ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้มาระหว่างสมรส โดยการรับมรดก / การให้โดยเสน่หา (4) เป็นของหมั้น
ม. 1474 สินสมรส ได้แก่ ทรัพย์สินที่ (1) คู่สมรสได้มาระหว่างการสมรส (2) ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรม / โดยการให้เป็นหนังสือ ระบุว่า เป็นสินสมรส (3) เป็นดอกผลของสินส่วนตัว หากกรณีสงสัยให้ถือว่าเป็นสินสมรส
ม. 1476 สามีและภริยา ต้องจัดการสินสมรสร่วมกัน / ได้รับความยินยอมจากอีกฝ่าย กรณี (1) ขาย จำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ (2) ก่อตั้ง / กระทำให้สิ้นสุด ซึ่งทรัพยสิทธิ (3) ให้เช่าอสังหา ฯ เกิน 3 ปี (4) ให้กู้ยืมเงิน (5) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่ เพื่อการกุศล , การสังคม , ตามหน้าที่ธรรมจรรยา (6) ยอมความ (7) อนุญาโตตุลาการ (8) นำทรัพย์สินไปประกัน
ม. 1498 การสมรสที่เป็นโมฆะ ไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
ว. 2 กรณีสมรสเป็นโมฆะ ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดมี / ได้มา ไม่ว่าก่อน / หลังการสมรส รวมทั้งดอกผลคงเป็นของฝ่ายนั้น ส่วนบรรดาทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันให้แบ่งคนละครึ่ง เว้นแต่ศาลจะเห็นเป็นประการอื่น
ม. 1499 การสมรสที่เป็นโมฆะ เพราะเป็นคนไร้ความสามารถ / สืบสายโลหิต / ไม่ยินยอม ไม่ทำให้ชาย / หญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสื่อมสิทธิท่ได้มา เพราะการสมรสก่อนมี คำพิพากษาถึงที่สุดให้เป็นโมฆะ
ม. 1501 การสมรสสิ้นสุดลงด้วยความตาย / การหย่า / ศาลพิพากษาให้ถอน
ม. 1504 การสมรสที่เป็นโมฆียะเพราะอายุไม่ถึง 17 ปี ผู้มีส่วนได้เสียขอเพิกถอนได้เว้นแต่บิดามารดาที่ให้ความยินยอม
ว. 2 ถ้าศาลยังมิได้สั่งให้เพิกถอน จนชายหญิงมีอายุครบ / หญิงมีครรภ์ก่อนอายุครบ ให้ถือว่าสมบูรณ์ตั้งแต่สมรส
ม. 1516 เหตุฟ้องหย่า (1) – (10)
ม. 1531 การสมรสที่จดทะเบียน การหย่าโดยความยินยอมมีผลนับแต่จดทะเบียนหย่า , การหย่าโดยคำพิพากษามีผลเมื่อพิพากษา
ม. 1546 เด็กที่เกิดจากหญิง ที่มิได้สมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น
ม. 1547 เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันภายหลัง / บิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร / ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
ม. 1557 การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตาม ม. 1547 มีผลนับแต่ (1) วันสมรส กรณีบิดามารดาสมรสกันภายหลัง (2) วันจดทะเบียน กรณีบิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตร (3) วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด
ม. 1558 การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรของผู้ตาย ที่ได้ฟ้องภายในกำหนดอายุความมรดก ถ้าศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ในฐานะทายาทโดยธรรม
มรดก ( ม. 1599 – 1755 )
ม. 1599 บุคคลใดตาย มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาท
ม. 1600 กองมรดก ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่ และความรับผิดต่างๆ เว้นแต่เป็นการเฉพาะตัว
ม. 1605 ทายาทคนใดยักย้าย / ปิดบังทรัพย์มรดกเท่าส่วนที่ตนจะได้ / มากกว่า โดยฉ้อฉล ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกเลย แต่ถ้าน้อยกว่าส่วนที่ตนจะได้ ต้องถูกกำจัดเฉพาะส่วนที่ได้ยักย้าย / ปิดบัง
ว. 2 มิให้ใช้บังคับแก่ผู้รับพินัยกรรม
ม. 1606 บุคคลต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร คือ
(1) ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเจตนา / พยายามกระทำให้เจ้ามรดก / ผู้มีสิทธิได้มรดกก่อนตน ตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
(2) ฟ้องเจ้ามรดกหาว่ากระทำความผิดโทษประหารชีวิต และตนกลับต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าฟ้องเท็จ / ทำพยายานเท็จ
(3) รู้ว่าเจ้ามรดกถูกฆ่าโดยเจตนา แต่มิได้ร้องเรียนเพื่อเอาผู้กระทำผิดมาลงโทษ เว้นแต่อายุยังไม่ครบ 16 ปี , เป็นญาติ
(5) ปลอม / ทำลาย / ปิดบังพินัยกรรม
ว. 2 เจ้ามรดกอาจถอนข้อกำจัดฐานเป็นผู้ไม่สมควรก็ได้ โดยให้อภัยไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
ม. 1607 การถูกกำจัดมิให้รับมรดกเป็นการเฉพาะตัว ผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกำจัด สืบมรดกต่อได้
ม. 1608 เจ้ามรดกจะตัดทายาทโดยธรรมของตนมิให้ได้รับมรดกก็ได้ ด้วยการแสดงเจตนาอย่างชัดแจ้ง
(1) โดยพนัยกรรม
(2) โดยทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
ม. 1612 การสละมรดกต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ / ทำเป็นสัญญาประนีประนอม
ม. 1615 การที่ทายาทสละมรดกมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดกตาย
ว. 2 ทายาทโดยธรรมคนใดสละมรดก ผู้สืบสันดานของทายาทคนนั้น สืบมรดกได้ตามสิทธิของตน
ม. 1625 ถ้าผู้ตายเป็นผู้สมรสแล้ว การคิดส่วนแบ่งและการปันทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ ให้เป็นดังนี้
(1) ส่วนแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ให้เป็นไปตามบทบัญญัติเรื่องการหย่าโดยความยินยอม
(2) ส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกให้เป็นไปตาม ม. 1637 , 1638
ม. 1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว / บุตรบุญธรรม ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
ม. 1629 ทายาทโดยธรรมมี 6 ลำดับ เท่านั้น แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลัง ดังต่อไปนี้ (1) ผู้สืบสันดาน (2) บิดามารดา (3) พี่น้องร่วมบิดามารดา (4) พี่น้องร่วมบิดา / มารดาเดียวกัน (5) ปู่ ย่า ตา ยาย (6) ลุง ป้า น้า อา
ว. 2 คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ ก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้ ม. 1635
ม. 1630 ตราบใดทายาทที่ยังมีชีวิตอยู่ / มีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสายในลำดับหนึ่ง ๆ ทายาทผู้ที่อยู่ในลำดับถัดไปไม่มีสิทธิ
ว. 2 มิให้ใช้บังคับ กรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิต / มีผู้รับมรดกแทนที่กัน + บิดามารดายังมีชีวิตอยู่ ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนว่าเป็นทายาทชั้นบุตร
ม. 1635 ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ ในการรับมรดกให้เป็นไปดังต่อไปนี้
(1) ถ้ามีทายาทตาม ม. 1629 (1) – ผู้สืบสันดาน คู่สมรสได้ส่วนแบ่งเสมือนว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร
(2) ถ้ามีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน / มีผู้รับมรดกแทนที่ ถ้าไม่มีผู้สืบสันดาน แต่มีบิดามารดา คู่สมรสได้กึ่งหนึ่ง
(3) ถ้ามีพี่น้องร่วมบิดา / ร่วมมารดาเดียวกัน , ลุง ป้า น้า อา / มีผู้รับมรดกแทนที่ , มีปู่ ย่า ตา ยาย คู่สมรสได้ 2/3 ส่วน
(4) ถ้าไม่มีทายาทตาม ม. 1629 เลย คู่สมรสมีสิทธิได้รับทั้งหมด
ม. 1636 ถ้าเจ้ามรดกมีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย ก่อนใช้ บรรพ 5 หลายคน ทุกคนรวมกันมีสิทธิได้รับตามลำดับชั้นและส่วนแบ่งตาม ม.1635 แต่ในระหว่างกันเองให้ภริยาน้อยได้กึ่งส่วนที่ภริยาหลวงได้รับ
ม.1639 ถ้าบุคคลซึ่งจะเป็นทายาทตาม ม.1629 (1) , (3) , (4) , (6) ถึงแก่ความตาย / ถูกกำจัดมิให้รับมรดก ก่อนเจ้ามรดกตาย ผู้สืบสันดานของบุคคลนั้นรับมรดกแทนที่ได้ ถ้าผู้สืบสันดานของบุคคลนั้นตาย / ถูกกำจัด เช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้รับแทนที่เฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลนั้นเป็นรายๆไป
ม. 1696 ถ้าผู้ทำพินัยกรรมได้โอนไปโดยสมบูรณ์ ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมด้วยความตั้งใจ ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นเป็นอันถูกเพิกถอนไป รวมถึงผู้ทำพินัยกรรมได้ทำลายทรัพย์สินนั้นด้วยความตั้งใจ
ม. 1697 ถ้าผู้ทำพินัยกรรมมิได้แสดงเจตนาไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น และปรากฏว่าพินัยกรรมฉบับก่อนกับพินัยกรรมฉบับหลังขัดกัน ให้ถือว่าพินัยกรรมฉบับก่อนเป็นอันถูกเพิกถอนโดยฉบับหลัง เฉพาะส่วนที่มีข้อความขัดกันเท่านั้น
ม. 1698 ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นย่อมตกไปเมื่อ (1) ผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทำพินัยกรรม (2) ข้อกำหนดพินัยกรรมเป็นผลใช้ได้ต่อเมื่อเงื่อนไขสำเร็จ และผู้รับพินัยกรรมตายก่อนเงื่อนไขสำเร็จ / เป็นที่แน่นอนว่าเงื่อนไขนั้นไม่อาจสำเร็จได้ (3) ผู้รับพินัยกรรมบอกสละพินัยกรรม (4) ทรัพย์สินที่ยกให้สูญหาย / ถูกทำลาย โดยผู้ทำพินัยกรรมมิได้ตั้งใจในระหว่างผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิวตอยู่ และมิได้ของกลับมาแทน / สิทธิที่จะเรียกค่าทดแทน



ข้อ ๙. การค้าระหว่างประเทศ
พ.ร.บ. รับขนทางทะเล
ม. 3 ผู้ขนส่ง คือ บุคคลซึ่งประกอบการรับขนของทางทะเลเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติ โดยทำสัญญากับผู้ส่งของ
ผู้ขนส่งอื่น คือ บุคคลซึ่งมิได้เป็นคู่สัญญากับผู้ส่งของในสัญญารับขนของทางทะเล แต่ได้รับมอบหมายจากผู้ขนส่งให้ทำ
การขนส่งของตามสัญญานั้นแม้เพียงชั่วระยะทาง และให้รวมถึงบุคคลอื่นซึ่งผู้ขนส่งอื่นได้มอบหมายช่วงต่อไป
ผู้ส่งของ คือ บุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญากับผู้ขนส่งในสัญญารับขนของทางทะเล
ภาชนะขนส่ง คือ ตู้สินค้า / ไม้รองสินค้า / สิ่งอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน ซึ่งใช้บรรจุ / รองรับของ / ใช้รวมหน่วยการขนส่ง
ของหลายหน่วยการขนส่งเข้าด้วยกัน เพื่อประโยชน์ในการขนส่งทางทะเล
หน่วยการขนส่ง คือ หน่วยแห่งของที่ขนส่งทางทะเลซึ่งนับเป็นหนึ่ง + แต่ละหน่วยอาจทำการขนส่งไปตามลำพังได้ เช่น กระสอบ / ชิ้น / ถัง / ตู้ / ม้วน / ลัง / ลูก / ห่อ / หีบ / อัน / หน่วยที่เรียกชื่ออย่างอื่น
ม. 8 ก่อนบรรทุกของลงเรือ / ก่อนที่เรือนั้นจะออกเดินทาง ผู้ขนส่งมีหน้าที่ต้อง (1) ทำให้เรือมีสภาพดี (2) จัดให้มีคนประจำเรือ เครื่องมือ / เครื่องใช้ / เครื่องอุปกรณ์ + สิ่งจำเป็นให้เหมาะสม (3) จัดระวางบรรทุกให้เหมาะสม + ปลอดภัย + รักษาอุณหภูมิ
ม. 10 ผู้ขนส่งต้องใช้ความระมัดระวัง + ปฏิบัติการให้เหมาะสมในการบรรทุก / การยกขน / การเคลื่อนย้าย / การเก็บรักษา
ม. 11 ผู้ขนส่งมีสิทธิบรรทุกของบนปากระวางเฉพาะในกรณีที่ได้ตกลงกันไว้
ม. 17 ข้อกำหนดใดในสัญญารับขนของทางทะเลซึ่งมีวัตถุประสงค์ /มีผล ดังต่อไปนี้ เป็นโมฆะ
(1) ปลดเปลื้องผู้ขนส่งจากหน้าที่ / ความรับผิดใดๆตามที่กฎหมายกำหนด
(2) กำหนดความรับผิดของผู้ขนส่งให้น้อยกว่าที่กำหนดไว้ใน ม. 48, 60 แต่ไม่ตัดสิทธิให้กำหนดความรับผิดมากขึ้น
(3) ปัดภาระการพิสูจน์ กรณีที่กำหนดให่เป็นหน้าที่ของผู้ขนส่ง
(4) ให้ผู้ขนส่งเป็นผู้รับประโยชน์ในสัญญาประกันภัย
ม. 31 ผู้ส่งของไม่ต้องรับผิดเพื่อการที่ผู้ขนส่ง / ผู้ขนส่งอื่น ได้รับความเสียหาย / การที่เรือเสียหาย เว้นแต่เป็นความผิด / ประมาทของผู้ส่งของ /ตัวแทน /ลูกจ้าง / จากสภาพแห่งของนั้น โดยผู้ส่งของมิได้ปฏิบัติตามประเพณีแห่งการค้า
ม. 39 ความรับผิดของผู้ขนส่ง ต้องรับผิดในความเสียหายระหว่างที่ของอยู่ในการดูแลของตน
ม. 40 กรณีที่ถือว่าผู้ขนส่งได้ส่งมอบของแล้ว
ม. 43 ผู้ขนส่งยังคงรับผิดเพื่อการเสียหาย สูญหาย หรือส่งมอบชักช้าแม้จะได้มอบหมายให้ผู้ขนส่งอื่น
ม. 44 นำบทบัญญัติความรับผิดของผู้ขนส่งมาใช้กับผู้ขนส่งอื่น เฉพาะที่ผู้ขนส่งอื่นได้รับมอบหมาย
ม. 45 กรณีรับผิดร่วมกันให้ผู้ขนส่งอื่นเป็นลูกหนี้ร่วม
ม. 48 สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายผู้รับตราส่งต้องส่งคำบอกกล่าวเป้นหนังสือ ภายใน 60 วัน นับแต่วันรับของ
ม. 51 ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิด หากพิสูจน์ได้ว่าปฏิบัติตาม มาตรา 8 วรรคสอง และมาตรา 9 แล้ว
ม. 52 ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิด (1) เหตุสุดวิสัย (9) ความผิดของผู้ส่งของหรือผู้รับตราส่ง (10) สภาพแห่งของนั้น
ม. 57 ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดหากของที่ส่งนั้นเป็นของมีค่าแต่ผู้ส่งของหรือผู้รับตราส่งมิได้แจ้ง
ม. 58 จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งไว้เพียง 10,000 บาท / หนึ่งหน่วยการขนส่ง , กิโลกรัมละ 30 บาท
ม. 59 ในการคำนวณว่าเงินจำนวนใดจะมากกว่าตาม มาตรา 58 ให้ใช้หลักดังนี้
(1) กรณีรวมหลายหน่วยการขนส่งเป็นหน่วยเดียวกัน ถ้าระบุจำนวน + ลักษณะที่รวมกันไว้ในใบตราส่ง ให้ถือตามที่ระบุ แต่ถ้าไม่ระบุ ให้ถือว่าของทั้งหมดเป็นหนึ่งหน่วยการขนส่ง
(2) กรณีตัวภาชนะขนส่งสูญหาย / เสียหาย ถ้าผู้ขนส่งไม่ได้เป็นเจ้าของ / ผู้จัดหา ถือว่าภาชนะขนส่งอันหนึ่งเป็นของหนึ่งหน่วยการขนส่งอีกต่างหากจากที่มีอยู่ใน / บนภาชนะขนส่งนั้น
ม. 60 การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตาม ม. 48 มิให้ใช้บังคับ กรณีดังต่อไปนี้
(1) การสูญหาย / เสียหาย / ส่งมอบชักช้า เป็นผลจากการที่ผู้ขนส่ง / ตัวแทน / ลูกจ้าง กระทำ / งดเว้นกระทำ โดยมีเจตนาที่จะให้เกิดการสูญหาย / เสียหาย / ส่งมอบชักช้า ทั้งที่รู้ว่าอาจเกิดขึ้นได้
(2) ผู้ส่งของ + ผู้ขนส่งตกลงกันกำหนดความรับผิดไว้มากกว่าที่กำหนดตาม ม. 58 โดยระบุไว้ในใบตราส่ง
(3) ผู้ขนส่งได้จดแจ้งรายการใดๆ ไว้ในใบตราส่งตามที่ผู้ส่งของแจ้ง / จัดให้โดยไม่บันทึกของสงวนเกี่ยวกับรายการนั้นไว้ ในใบตราส่ง ทั้งนี้ โดยมีเจตนาที่จะฉ้อฉลผู้รับตราส่ง
(4) ผู้ส่งของได้แจ้งราคาของที่ขนส่งให้ผู้ขนส่งทราบ + ผู้ขนส่งยอมรับโดยแสดงราคาของนั้นไว้ในใบตราส่ง แต่ถ้าราคาที่คำนวณได้ตาม ม. 61 ต่ำกว่าราคาที่แสดงในใบตราส่ง ให้ผู้ขนส่งรับผิดเพียงเท่าราคาที่คำนวณได้
ม. 61 การคำนวณราคาของที่สูญหาย /เสียหาย ตาม ม. 58 ใช้หลักเกณฑ์ดังนี้
(1) ถ้าสูญหาย / เสียหายทั้งหมด ให้คำนวณเท่ากับราคาที่ของนั้นจะพึงมีในเวลาที่ของส่งมอบ ณ ปลายทาง
(2) ถ้าสูญหาย / เสียหายบางส่วน ให้คำนวณตามส่วนโดยเทียบกับราคาของอย่างเดียวกัน + คุณภาพเท่าเทียมกัน ที่ยังเลืออยู่ในเวลาส่งมอบ ณ ปลายทาง

ข้อ ๑๐. กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ม. 4 บทนิยาม
ลิขสิทธิ์ คือ สิทธิแต่ผู้เดียวที่ทำการใดๆ ตาม พ.ร.บ. นี้ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น
ผู้สร้างสรรค์ คือ ผู้ทำ / ก่อให้เกิดงานสร้างสรรค์อย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์
วรรณกรรม คือ งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งพิมพ์ รวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์
สิ่งบันทึกเสียง คือ งานอันประกอบด้วยลำดับของเสียงดนตรี เสียงการแสดง เสียงอื่นใดโดยบันทึกลงในวัสดุใดๆ อันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีกโดยใช้เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการใช้วัสดุนั้น
ทำซ้ำ คือ คัดลอกไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆ เลียนแบบ ทำสำเนา ทำแม่พิมพ์ บันทึกเสียง บันทึกภาพ จากต้นฉบับ สำเนา การโฆษณา ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ
ม. 6 งานอันมีลิขสิทธิ์ ได้แก่ งนสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม นาฎกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียง งานศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ ไม่ว่าจะแสดงออกโดยวิธีใด / รูปแบบใด
ม. 8 ให้ผู้สร้างสรรค์เป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานที่ตนได้สร้างสรรค์ขึ้น ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
(1) กรณียังไม่โฆษณา ผู้สร้างสรรค์ต้องมีสัญชาติไทย / อยู่ในราชอาณาจักร / มีสัญชาติประเภทภาคี
(2) กรณีที่โฆษณาแล้ว ครั้งแรกได้ ครั้งแรกได้ทำในราชอาณาจักร / ในประเทศภาคี / ครั้งแรกได้ทำนอกราชอาณาจักร หากได้มีการโฆษณาในราชอาณาจักร / ประเทศภาคี ภายใน 30 วัน นับแต่โฆษณาครั้งแรก
ม. 9 งานที่สร้างสรรค์ขึ้นในฐานะลูกจ้าง ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ลูกจ้างเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ แต่นายจ้างเผยแพร่ได้
ม. 10 งานที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยการรับจ้าง ผู้ว่าจ้างได้ลิขสิทธิ์ เว้นแต่ได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น
ม. 12 งานใดที่เป็นการนำงานอันมีลิขสิทธิ์มารวบรวม / ประกอบเข้ากันโดยได้รับอนุญาต ผู้ที่รวบรวม / ประกอบเข้ากันได้ลิขสิทธิ์
ม. 14 ส่วนราชการย่อมมีลิขสิทธิ์ในงานที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยการจ้าง / คำสั่ง / ในการควบคุม เว้นแต่ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น
ม. 15 ภายใต้ ม.9 ,10 , 14 เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิ์เพียงผู้เดียวดังต่อไปนี้
(1) ทำซ้ำ / ดัดแปลง
(2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
(3) ให้เช่าต้นฉบับ / สำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง
(4) ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
(5) อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตาม (1) , (2) , (3)
ม. 17 ลิขสิทธิ์ย่อมโอนแก่กันได้ – การโอนมิใช่ทางมรดกต้องทำเป้นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอน + ผู้รับโอน ถ้าไม่ได้กำหนดเวลาให้ใช้ระยะเวลา 10 ปี
ม. 19 ภายใต้ ม.21 , 22 ลิขสิทธิ์ให้มีอยู่ตลอดอายุผู้สร้างสรรค์ + ต่อไปอีก 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ตาย
ม. 22 ลิขสิทธิ์ในงานศิลปประยุกต์ให้มีอายุ 25 ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์ แต่ถ้าโฆษณาในระหว่างเวลาดังกล่าว ให้มีอายุอีก 25 ปี นับแต่วันที่โฆษณาครั้งแรก
ม. 27 การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ โดยไม่ได้รับอนุญาต ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(1) ทำซ้ำ / ดัดแปลง
(2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
ม. 32 การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคอื่น หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิสิทธิ์
ว. 2 มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้
(1) วิจัย / ศึกษางาน มิใช่เพื่อหากำไร
(2) ใช้เพื่อประโยชน์ของตน / บุคคลอื่นในครอบครัว
(3) ติชม / วิจารณ์ /แนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
(4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชน
(5) ทำซ้ำ / ดัดแปลง / นำออกแสดง / ทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาล
(6) ทำซ้ำ / ดัดแปลง / นำออกแสดง / ทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการสอนของตน
(7) ทำซ้ำ / ดัดแปลงบางส่วนของงาน / ตัดทอน / ทำสรุปโดยผู้สอน / สถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่าย / จำหน่ายในชั้นเรียน
(8) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถาม + ตอบในการสอบ
ม. 33 การกล่าว / คัดลอก / เลียน / อ้างอิงงาน บางตอนตามสมควร โดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ไม่ถือว่าเป็นการละเมิด
ม. 44 นักแสดงย่อมมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการกระทำอันเกี่ยวกับการแสดงของตน
พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2542)
ม. 3 บทนิยาม
สิทธิบัตร คือ หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ / การออกแบบผลิตภัณฑ์
อนุสิทธิบัตร คือ หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ + ประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม
การประดิษฐ์ คือ การคิดค้น / คิดทำขึ้น อันเป็นผลให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ / กรรมวิธีใดขึ้นใหม่ / การกระทำใดๆ ที่ทำให้ดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์ / กรรมวิธี
กรรมวิธี คือ วิธีการ / กระบวนการ /กรรมวิธีในการผลิต / การเก็บรักษาให้คงสภาพ / ให้มีคุณภาพดีขึ้นซึ่งผลิตภัณฑ์
แบบผลิตภัณฑ์ คือ รูปร่างของผลิตภัณฑ์ /องค์ประกอบของลวดลาย /สีของผลิตภัณฑ์ อันมีลักษณะพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม รวมทั้งหัตถกรรมได้
ม. 5 ภายใต้ ม. 9 การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วย (1) เป็นการประดิษษฐ์ขึ้นใหม่ (2) ที่มีขั้นตอนการประดิษฐ์สูงขึ้น และ (3) สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม
ม. 6 การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ได้แก่ การประดิษฐืที่ไม่เป็นงานที่ปรากฏอยู่แล้ว
ม. 35 สิทธิบัตรการประดิษฐ์ ให้มีอายุ 20 ปี นับแต่วันขอรับสิทธิบัตรในราชอาณาจักร
ม. 36 ผู้ทรงสิทธิบัตรเท่านั้นมีสิทธิดังต่อไปนี้
(1) กรณีสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ – สิทธิในการผลิต /ใช้ / ขาย / มีไว้เพื่อขาย / เสนอขาย / นำเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งผลิตภัณฑ์
(2) กรณีสิทธิบัตรกรรมวิธี – สิทธิในการใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตร / ผลิต /ใช้ / ขาย / มีไว้เพื่อขาย / เสนอขาย / นำเข้า
ว.2 ความตามวรรค 1 ไม่ให้ใช้บังคับแก่ (1) การกระทำใดๆ เพื่อประโยชน์ในการศึกษา / ค้นคว้า / ทดลอง / วิจัย ทั้งนี้ต้องไม่ขัดประโยชน์ของผู้ทรงสิทธิบัตร , (2) – (6) , (7) การใช้ / ขาย / มีไว้เพื่อขาย / เสนอขาย / นำเข้า ซึ่งผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร หากผู้ทรงสิทธิบัตรได้อนุญาต / ยินยอมให้ผลิต / ขายผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
ม. 38 ผู้ทรงสิทธิบัตรจะอนุญาตให้บุคคลใดใช้สิทธิตามสิทธิบัตรของตน / โอนสิทธิบัตรให้แก่บุคคลอื่นก็ได้
ม. 39 การอนุญาตตาม ม. 38 นั้น จะกำหนดเงื่อนไข / ข้อจำกัดสิทธิ / ค่าตอบแทน โดยไม่ชอบธรรมไม่ได้ ถ้าหากขัดเป็นโมฆะ
ม. 56 การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้นั้นจะต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรม / หัตถกรรม
ม. 57 กรณีที่ไม่ถือว่าเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ (1) แบบผลิตภัณฑ์ที่ใช้ / มีกันอย่างแพร่หลายอยู่แล้วในราชอาณาจักร ก่อนวันขอรับจดทะเบียน (2) แบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการเปิดเผยภาพ / สาระสำคัญ / รายละเอียดในเอกสาร , สิ่งพิมพ์ที่ได้เผยแพร่อยู่แล้วไม่ว่าใน / นอกราชอาณาจักร (3) แบบผลิตภัณฑ์ที่เคยมีประกาศโฆษณาตาม ม.65 + 28 มาแล้ว
ม. 58 การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้ (1) ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย (2) ที่กำหนดไว้โดยพระราชกฤษฎีกา
ม. 62 สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีอายุ 10 ปี นับแต่วันขอรับสิทธิบัตรในราชอาณาจักร
ม. 63 ผู้ทรงสิทธิบัตรเท่านั้น มีสิทธิใช้แบบผลิตภัณฑ์กับผลิตภัณฑ์ตามสิทธิบัตร / ขาย / มีไว้เพื่อขาย / เสนอขาย / นำเข้า ซึ่งผลิตภัณฑ์ตามแบบผลิตภัณฑ์ เว้นแต่ เพื่อประโยชน์ในการศึกษา / วิจัย
ม. 65 ทวิ การประดิษฐ์ที่ขอรับอนุสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วย (1) เป็นการประดิษฐ์ใหม่ (2) สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม
ม. 65 ตรี บุคคลใดจะขอรับทั้งอนุสิทธิบัตร + สิทธิบัตร สำหรับการประดิษฐ์อย่างเดียวกันไม่ได้
ม. 65 สัตต อนุสิทธิบัตรให้มีอายุ 6 ปี นับแต่วันขอรับอนุสิทธิบัตรในราชอาณาจักร
ว. 2 ผู้ทรงอนุสิทธิบัตรอาจต่ออายุได้อีก 2 คราว มีกำหนดคราวละ 2 ปี โดยยื่นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 90 วัน ก่อนสิ้น
ม. 77 ทวิ กรณีที่มีหลักฐานโดยชัดแจ้งว่ามีผู้กระทำ / กำลังจะกระทำฝ่าฝืนสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตร / ผู้ทรงอนุสิทธิบัตร ผู้ทรงสิทธิอาจขอให้ศาลสั่งระงับ / ละเว้นการกระทำก็ได้ ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิเรียกค่าเสียหายตาม ม. 77 ตรี
ม. 77 ตรี ในกรณีที่มีการฝ่าฝืนสิทธิของผู้ทรง ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ฝ่าฝืนชดใช้ค่าเสียหายได้ตามที่เห็นสมควร
พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2543)
ม. 4 เครื่องหมายการค้า คือ เครื่องหมายที่ใช้ / จะใช้เป็นที่หมาย / เกี่ยวข้องกับสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น แตกต่างกับสินค้าของบุคคลอื่น
ม. 6 เครื่องหมายการค้าอันพึงจดทะเบียนได้ (1) มีลักษระบ่งเฉพาะ (2) ไม่มีลักษณะต้องตาม พ.ร.บ. นี้ (3) ไม่เป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือน / คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น
ม. 7 มีลักษณะบ่งเฉพาะ คือ มีลักษณะที่ทำให้ประชาชน / ผู้ใช้สินค้านั้นทราบ + เข้าใจได้ว่า สินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างไปจากสินค้าอื่น
ม. 8 เครื่งหมายการค้าที่ห้ามจดทะเบียน (1) – (13) เช่น ... (9) เครื่องหมายที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย / ศีลธรรมอันดีของประชาชน (10) เครื่องหมายที่เหมือนกับเครื่องหมายที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป
ม. 42 ให้ถือว่าวันที่ยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นวันที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น
ม. 44 ภายใต้ ม. 27 , 68 ผู้ซึ่งได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า เป็นผู้มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในอันที่จะใช้เครื่องหมายการค้า สำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้
ม. 45 เครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้โดยมิได้จำกัดสีนั้น ถือว่าได้จดทะเบียนไว้ทุกสี
ม. 46 บุคคลใดจะฟ้องคดี เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียน / เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิดสิทธิดังกล่าวนั้น ไม่ได้ แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิฟ้องผู้เอาสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นของเจ้าของสิทธิ
ม. 47 การจดทะเบียนตาม พ.ร.บ. นี้ ไม่ขัดขวางบุคคลใดในการใช้ชื่อโดยสุจริตซึ่งชื่อตัว ชื่อสกุล / ชื่อสำนักงานการค้าของตน / ของเจ้าของเดิมของกิจการของตน / ไม่เป็นการขัดขวางบุคคลใดในการใช้คำบรรยายโดยสุจริตซึ่งลักษณะ / คุณสมบัติแห่งสินค้าของตน
ม. 48 สิทธิในคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ได้ยื่นไว้แล้ว ย่อมโอน / รับมรดกกันได้

ไม่มีความคิดเห็น: