สำรองห้องพักโรงแรมพร้อมส่วนลด

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

ป.วิ.อาญาของเนติฯแบ่งเนื้อหาของวิชาออกได้ดังต่อไปนี้

1. ป.วิ.อ. ภาค 1-2 ในส่วนนี้ จะออกข้อสอบ 3 ข้อ คือ ข้อสอบที่1-ข้อที่3 โดยมีขอบเขต หรือเนื้อหา ซึ่งสามารถแยกพิจารณาได้เป็นชุดๆ ดังนี้

ชุดที่ 1 ชุดผู้เสียหาย โดยชุดนี้ จะมีมาตราที่สำคัญๆที่เกี่ยวข้องดังนี้ ม.2(4) + ม.4+5+6 +ม.28......ซึ่งมักจะโยงไปม.30 (และให้ดู ม.29 ,ม.31,ม.32,ม.33,ม.34 ประกอบด้วย จึงจะดี )

ชุดที่ 2 ชุดสิทธินำคดีอาญามาระงับ โดยชุดนี้ จะมีมาตราที่เกี่ยวข้องดังนี้
ม.39 โดยให้ดูประกอบกับ (ม.35+ม.36)+(ม.37+ม..38) +ม.126 และจะต้องทำความเข้าใจให้ดีว่า อย่างไรจึงจะถือว่าเป็นคำพิพากษาที่เสร็จเด็ดขาด กับอย่างไรจึงจะไม่ถือว่าเป็นคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาด เอาไว้ด้วย

ชุดที่ 3 ชุดคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องคดีอาญา ซึ่งในชุดนี้จะมี ม. 40 – ม.51 และทุกมาตราสามารถนำเอามาออกข้อสอบทั้งสิ้น

ชุดที่ 4 ชุดเขตอำนาจสอบสวน ชุดนี้จะมี ม. 18 – ม.20 สามารถนำมาออกได้ทุกมาตรา เช่นกัน

ชุดที่ 5 ชุดเขตอำนาจศาล ชุดนี้มี ( ม.22+ม.24 ) + ( ม.23+ม.26 )

ชุดที่ 6 ชุดอำนาจสอบสวน ชุดนี้จะแบ่งเป็น 2 ชุดย่อย กล่าวคือ ชุดย่อย6.1 มี (ม.121+ม.120 ) – ม.129 โดยในชุดย่อย6.1นี้ จะต้องดูประกอบกับ ม.2(6) ,ม.2(7) , ม.2(8) ด้วย……ชุดย่อย 6.2 มี ม.130 – ม.140 และดู ม.2(11) ประกอบด้วย

ชุดที่ 7 ชุดอำนาจฟ้องของอัยการ ชุดนี้จะมีขอบเขตตั้งแต่ ม.140 – ม.147 โดยในชุดนี้จะต้องดู ม.150 ประกอบด้วย


2. ป.วิ.อ. ภาค 3 - 4 ในส่วนนี้ จะออกข้อสอบ 2 ข้อ ข้อ คือ ข้อสอบที่ 4 – ข้อที่ 5 โดยมีขอบเขต หรือเนื้อหา ซึ่งสามารถแยกพิจารณาได้เป็นชุดๆ ดังนี้

2.1 ชุดการฟ้องคดีอาญา และการไต่สวนมูลฟ้อง ในชุดนี้ จะมีมาตราที่เกี่ยวข้องดังนี้ ม.157, ม.158 ,ม.161,( ม.162+ม.165)+(ม.167+ม.170) , (ม.163+ม.164) ,ม.166 และในชุดนี้ควรดูม.171 ประกอบเอาไว้ด้วยจึงจะดี
หมายเหตุ : ส่วนมากแล้วมักจะละเลย ม.171 ไปโดยไม่ได้ให้ความสำคัญแต่อย่างใด โดยม.171นี้จะให้อำนาจศาลในการที่จะนำเอาเรื่องการสอบสวนบางกรณี มาใช้ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องด้วยโดยอนุโลม โดยเฉพาะ ในคดีที่พยานเป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ไม่ว่าจะเป็นคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ฟ้อง หรือไม่ว่าจะเป็นคดีที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้อง ก็ตาม นั่นเอง

2.2 ชุดการพิจารณา ในชุดนี้จะมีมาตราที่เกี่ยวข้องดังนี้ ม.172 โดยจะมีข้อยกเว้นอยู่ที่ ม.172ทวิ , ม.177+ม.178 , ม.180 , ม.230 , ม.237ทวิ……ม.172ทวิ +ม.172ตรี……ม.173…..ม.173/1+ม.173/2……ม.174 , ม.175……ม.176……ม.181
หมายเหตุ: ในส่วนของชุดการพิจารณานี้ จะนำไปออกข้อสอบได้ทั้งในส่วนการพิจารณาของศาล ของวิชา ป.วิ.อ. และยังสามารถนำไปออกข้อสอบในส่วนการสืบพยานของวิชาพยานหลักฐาน ได้อีกด้วย……ดังนั้นจึงควรต้องระมัดระวังให้ดี

2.3 ชุด คำพิพากษาและคำสั่ง ชุดนี้ จะมีมาตราที่สำคัญ ดังนี้ ม.185 , ม.186 และม.192

2.4 ชุดหลักทั่วไปของการอุทธรณ์ มีมาตราที่สำคัญๆดังนี้ ม.193 , ม.193ทวิ…… ม.195+ม.196 ……ม.198……ม.198ทวิ……ม.202
หมายเหตุ: ในส่วนนี้ให้ดู ม.245 ประกอบด้วยจึงจะดี กล่าวคือ การที่ศาลสั่งไม่รับอุทธรณ์ ตาม.198 วรรค 2 ก็ดี หรือ การที่ได้มีการถอนอุทธรณ์ ตาม.202 ก็ดี ย่อมต้องถือว่า มิได้มีการอุทธรณ์ แต่อย่างใด……ดังนั้นจึงมีประเด็นที่เราจะต้องพิจารณาอยู่อีก นั่นก็คือ เราจะต้องพิจารณาต่อไปว่า คดีที่ศาลชั้นต้นได้พิพากษาไปแล้ว เป็นการพิพากษาลงโทษ ประหารชีวิต หรือเป็นการพิพากษาลงโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือไม่……ซึ่งถ้าศาลพิพากษาให้ลงโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต แล้ว และมี 2 กรณีดังกล่าวข้างต้น ซึ่งให้ ก.ม.ถือว่ามิได้มีการอุทธรณ์ กรณีย่อมเข้าองค์ประกอบตาม ม.245 วรรค 2 ด้วย……ท่านว่าคดีดังกล่าว ยังไม่ถึงที่สุด……ดังนั้นศาลชั้นต้นยังคงต้องมีหน้าที่ในการที่จะต้องส่งสำนวนคดีดังกล่าว ไปยังศาลอุทธรณ์ เพื่อพิจารณาพิพากษาต่อไป……และต่อเมื่อศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น คดีดังกล่าวจึงจะถึงที่สุด
2.5 ชุดการพิจารณา พิพากษาและคำสั่งของศาลอุทธรณ์ ชุดนี้มาตราที่สำคัญ ก็คือ ม.208 , ม.210 , ม.212 , ม.213 และอย่าลืม ม.215 ด้วย เพราะเป็นมาตราที่เป็นสะพานเชื่อมต่อกับในส่วนการพิจารณา พิพากษาและคำสั่งของศาลชั้นต้น

2.6 ชุด การฎีกา มาตราที่สำคัญ ก็คือ ม.216……ม.218+ม.219……ม.220 และให้ดู ม.221 กับ ม.222 ประกอบด้วยก็จะดีมาก และอย่าลืมม.225ที่เป็นสะพานเชื่อมกับในส่วนของชั้นอุทธรณ์ ด้วย

3. สิทธิมนุษยชนฯ ออกในข้อที่ 6 แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือในส่วนของการจับ จะมีมาตรที่สำคัญๆ ดังนี้ ม.59 , ม.65 , ม.66 , ม.68……ม.78 , ม.79 , ม.80 , ม.81 , ม.82……ม.83+ม.84……ม.85……ม.90

หมายเหตุ : โดยเฉพาะ ม.83+ม.84นั้น นอกจากที่จะออกข้อสอบในวิชา สิทธิมนุษยชนฯนี้ แล้วก็ยังสามารถนำไปออกข้อสอบในวิชาพยานหลักฐานในส่วนของบทตัดพยานได้อีกด้วย……จึงต้องควรระมัดระวังให้ดี
ในในการค้นนั้น จะมีมาตราที่สำคัญๆ ดังนี้ ม.69+ม.70 ……ม.92 , ม.93 , ม.96 ,ม.102

หมายเหตุ : ในส่วนข้อที่ 6 นี้ ควรดู ม.86 , ม.87 และการปล่อยตัวชั่วคราว ประกอบด้วย จะดีมาก

4. พยานหลักฐาน จะออกในข้อ ที่ 7 – ข้อที่ 8 แยกพิจารณาได้ดังนี้

ในส่วนพยานฯแพ่ง มีมาตราที่สำคัญๆ ดังนี้ ม.84……ม.86+ม.87+ม.88+ ม.90……ม.93+ม.94……ม.95+ม.96……ม.108……ม.112+ม.113+ม.114+ม.115……ม.93(1)+ม.123+ม.124+ม.125

ในส่วนพยานอาญา มาตรสำคัญ ก็คือ ม.226 , ม.227 , ม.228……ม.232 , ม.235, ม.236……ม.238……ม.243

หมายเหตุ : ในส่วนพยานอาญานั้น บทตัดพยานมีความสำคัญมาก……ซึ่งในชุดบทตัดพยานนี้ จะมีมาตรที่สำคัญ คือ ม.83+ม.84……ม.134/1+ม.134/2+ม.134/3+ม.134/4วรรค1 = ม.134/4วรรคท้าย…….ม.135+ม.226…….และบทตัดพยานบุคคล โดยนำเอา ป.วิ.พ.ม.95 มาใช้โดยอนุโลมผ่าน ป.วิ.อ.ม.15
และยังต้องนำเอา ม.172 - ม.176 มาใช้ในวิชานี้ด้วย

5. วิชาว่าความ จะออกข้อที่ 9 ก็จะเป็นการร่างคำฟ้อง คำให้การ คำร้องขอต่างๆ ทั้งแพ่งและอาญา

6. วิชาการจัดทำเอกสาร โดยเป็นการร่างก.ม…….ร่างสัญญา……ร่างพินัยกรรม……การทำรายงานความเห็นทางก.ม.

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

ขอบคุณมากค่ะ