สำรองห้องพักโรงแรมพร้อมส่วนลด

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

ป.วิ.แพ่งของเนติฯนั้น จะมีขอบเขตและเนื้อหาของวิชาที่ออกสอบดังต่อไปนี้

ข้อที่ 1 – ข้อที่ 2 จะเป็น ป.วิ.แพ่ง ภาค 1……….. ม.1 – ม.169

ข้อที่ 3 – ข้อที่ 4 จะเป็น ป.วิ.แพ่ง ภาค 2……….ม.170 – ม.222

ข้อที่ 5 จะเป็น ป.วิ.แพ่ง ภาค 3 …………ม.223 – ม.252

ข้อที่ 6 – ข้อที่ 7 จะเป็น ภาคบังคับคดี………. ม. 253 – ม.323

ข้อที่ 8 จะเป็นวิชา ล้มละลาย ……….ม. 1 – 90 และ ม.91 – ม.180

ข้อที่ 9 จะเป็นวิชา ฟื้นฟูกิจการ……….ม.90/1 – ม.90/90

ข้อที่ 10 จะเป็นวิชา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ……….ม. 1 – ม.33



โดยในแต่ละข้อจะมีมาตราที่สำคัญๆ พอแยกได้ ดังต่อไปนี้

ข้อที่ 1 – ข้อที่ 2 ป.วิ.พ. ภาค 1 ม. 1 – ม. 169 เราสามารถแยกเป็นชุดๆ ได้ดังนี้

ชุดที่ 1 ชุดบทวิเคราะห์ศัพท์ จะมีมาตราที่สำคัญที่ควรสนใจ คือ ม. 1. (3) + ม.1(4)+ม.1(5)+ ม.1(7)+ม.1(8)+ม.1(11)

หมายเหตุ : ในชุดนี้ มักจะออกแซมมาในข้อสอบอยู่บ่อยครั้งเสมอ จึงควรสนใจเอาไว้บ้างก็จะดีมิใช่น้อย

ชุดที่ 2 ชุดเขตอำนาจศาล จะมีมาตราที่น่าสนใจ ก็คือ ม.2 + ม.3 + ม.4 + ม.4ทวิ + ม.4ตรี + ม.5 + ม.7 + ม.10

หมายเหตุ : ในชุดนี้ ม. 4 – ม. 4ตรี นั้นจะอยู่ ในบังคับของ ม.5……และในขณะเดียวกัน ม.4 , ม.4ทวิ , ม.4ตรี , และ ม.5 ก็จะอยู่ในบังคับ ของ ม.7……และในขณะเดียวกัน ก็จะมี ม.10 มายกเว้น อีกชั้นหนึ่ง

ชุดที่ 3 ชุดอำนาจหน้าที่ของศาล จะมีมาตราที่น่าสนใจ ดังนี้ ม.15 , ม.18 , ม.21 , ม.23 , ม.24 , ม.27 , ม.28 , ม.29

ชุดที่ 4 ชุดการนั่งพิจารณา จะมีมาตราที่สำคัญๆ ดังนี้ ม.36 , ม.39 + ม.42 + ม.43 + ม.44 +ม.45

ชุดที่ 5 ชุดคู่ความ มีมาตราที่เกี่ยวข้อง ก็คือ ม.55 + ม.56……ม57 + ม.58 + ม.59

ชุดที่ 6 ชุดคำพิพากษาและคำสั่ง แบ่งออกเป็น 2 ชุดย่อยได้ดังนี้

6.1 ชุดหลักทั่วไป มีมาตราที่สำคัญ คือ ม.132 , ม.138
6.2 ชุดข้อความและผลแห่งคำพิพากษา มีมาตราที่น่าสนใจ ก็คือ ม.142 , ม.144 + ม.148 , ม.145 , ม.147

ชุดที่ 7 ชุดการดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ม.155 + ม.156 + ม.157

หมายเหตุ : ในเรื่องของค่าฤชาธรรมเนียมนั้น มักจะไปเกี่ยวพันกับในเรื่องของการอุทธรณ์ ฎีกา โดยเฉพาะ ในส่วนของค่าธรรมเนียมใช้แทน กับค่าธรรมเนียมขึ้นศาล ควรที่จะสนใจเอาไว้ด้วย ก็จะดีมากๆ


ข้อที่ 3 – ข้อที่ 4 ป.วิ.พ. ภาค 2 ขอบเขต ของเนื้อหา จะเป็นเรื่องของวิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น ม.170 – ม.222 แบ่งออกเป็นชุดๆ ได้ดังนี้

ชุดที่ 1 ชุดวิธีพิจารณาสามัญในศาลชั้นต้น มีมาตรที่เกี่ยวข้อง คือ ม.172 , ม.173 วรรค2(1) , ม.174 + ม.176 , ม.175 + ม.176 , ม.177วรรค 3 , ม.179 + ม.180

ชุดที่ 2 ชุดขาดนัดพิจารณา แบ่งออกเป็น 2 ชุดย่อย ได้ดังนี้

2.1 ชุดขาดนัดยื่นคำให้การ มาตราที่สำคัญๆ คือ ม.177 + ม.197 + ม.199ฉ…….ม.198 + ม.198ทวิ……ม.199…… ม.199ตรี + ม.199จัตวา + ม.199เบญจ

2.2 ชุดขาดนัดพิจารณา มาตราที่สำคัญๆ ก็คือ ม.200……ม.201……ม.202 + ม.203……ม.204……ม.205……ม.206……ม.207

หมายเหตุ : ในชุดนี้ ควรทำความเข้าใจในชุดขาดนัดยื่นคำให้การเอาไว้ให้มาก เพราะว่าถ้าเข้าใจดีแล้ว ก็จะทำให้เข้าใจในเรื่องของขาดนัดพิจารณาไปเอง ซึ่งการขาดนัดพิจารณา ก็จะยืมวิธีการของขาดนัดยื่นคำให้การมาใช้ นั่นเอง

และควรจะทำความเข้าใจในกรณีที่มีจำเลยหลายคน ซึ่งจำเลยบางคนขาดนัดยื่นคำให้การ บางคนไม่ได้ขาดนัดยื่นคำให้การ เอาไว้ให้ดีๆด้วย ถ้าในวันนัดสืบพยาน แล้วตัวโจทก์ไม่ได้มาศาลในวันนั้น……ผลจะออกมาอย่างไร ประเด็นนี้สามารถที่จะเชื่อมโยงในเรื่องขาดนัดยื่นคำให้การ ให้เข้ากับเรื่องขาดนัดพิจารณาได้……ดังนั้นจึงควรสนใจเอาไว้บ้างก็จะดีมิใช่น้อย

ข้อที่ 5 ป.วิ.พ. ภาค 3 จะเป็นเรื่องในชั้นอุทธรณ์ ฎีกา จะมีขอบเขตและเนื้อหาพอแบ่งได้ ดังนี้

5.1 ชุดหลักทั่วไปของอุทธรณ์ และฎีกา มีมาตราที่ควรสนใจ คือ ม.223 และ ม.247

หมายเหตุ : ในชุดนี้ ต้องทำความเข้าใจใน ม.223ให้ดี เพราะจะเป็นทั้งมาตราหลัก และในขณะเดียวกัน ก็จะเป็นมาตราข้อยกเว้นมิให้อุทธรณ์ของมาตราอื่นๆด้วย…..ตัวอย่างเช่น โดยหลักแล้ว คู่ความสามารถอุทธรณ์ได้เสมอ ยกเว้นจะมี ก.ม.ห้ามมิให้อุทธรณ์……ในขณะเดียวกันถึงแม้ว่าจะเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ที่สามารถอุทธรณ์ได้ตาม ม.226 ก็ตาม แต่ถ้ามี ก.ม.บัญญัติให้เป็นที่สุด แล้ว ก็จะต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ตาม ม.223 ดังนี้เป็นต้น

และในขณะเดียวกัน ม.223 จะต้องดูคู่กับ ม.223ทวิ และ ม.252 ด้วยจะดีมากๆ

5.2 ชุดอุทธรณ์ และฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริง มีมาตราที่ควรสนใจ ก็คือ ม.224 + ม.248……….ม.225 + ม.249

5.3 ชุดการอุทธรณ์ คำสั่งระหว่างพิจารณา มาตราที่เกี่ยวข้อง ก็คือ ม.226 ม.227 + ม.228

หมายเหตุ : ดังที่กล่าวมาในข้างต้นแล้วว่า ถึงแม้จะเข้าหลักเกณฑ์ที่จะสามารถอุทธรณ์ได้ ตาม ม.226 , ม.227 , ม.228 ก็ตาม เราจะต้องกลับไปตรวจสอบอีกครั้งหนึ่งว่า คำสั่งดังกล่าวนั้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ตาม. ม.223 ตาม ม.224 หรือไม่ ด้วย กล่าวคือ ถ้าคำสั่งนั้นมี ก.ม.บัญญัติให้เป็นที่สุด ผลก็คือ คำสั่งนั้นๆ ก็ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ตาม ม.223………หรือ ถ้าคำสั่งนั้น มีจำนวนทุนทรัพย์ไม่ถึง 50,000 บาท ผลก็คือ คำสั่งนั้น ก็ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ตาม ม.224 อีกเช่นกัน………ดังนั้นในจุดนี้เราจึงควรที่จะทำความเข้าใจให้ดีๆ ( นอกจากที่เราทำความเข้าใจในหลักของ ม.226 , ม.227 , ม.228 แล้ว )

5.4 ชุดวิธีการอุทธรณ์ มีมาตราสำคัญ ๆ ที่เราสามารถจะแบ่งเป็นสายได้ดังนี้

สายที่ 1 ม.229 + ม.232 + ม.234 + ม.236

สายที่ 2 ม.229 + ม.232 + ม.235 + ม.237

สายที่ 3 ม.224 + ม.230

ให้ดู ม.231 และ ม.242 ประกอบด้วยก็จะดีมากๆ

หมายเหตุ : ชุดนี้ ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน ทั้งในการสอบ และทั้งในการที่เราจะต้องนำไปปฏิบัติให้ถูกต้อง เวลาที่ไปยื่นอุทธรณ์ในทางปฏิบัติ ดังนั้นเราจึงควรที่จะต้องทำความเข้าใจให้ดีๆ

ตัวอย่างเช่น ในกรณีการยื่นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ม.224 นั้น จะมีช่องทางที่จะทำได้หลายช่องทาง……..ซึ่งเราอาจจะใช้ช่องทาง ตาม.ม.224 วรรค 1 ส่วนท้าย ก็ได้……หรือ เราจะใช้ช่องทาง ตาม ม.230 ก็ได้…… หรือ เราจะไปใช้ช่องทาง ตาม ม.229 แล้วผ่าน ม.232 ก็ได้………เราก็ควรจะพิจารณาดูให้ดีก่อนว่า ใช้ช่องทางใด จึงจะมีประโยชน์สูงสุดในการอุทธรณ์

หมายเหตุ : ม.232 นี้ เราจะถือว่า เป็นมาตราชุมทาง ก็ได้ กล่าวคือ ถ้าหากว่าศาลสั่งไม่รับอุทธรณ์ ……ก็จะแยกเดินออกไปตามทางในสายที่ 1 หรือ ถ้าหากว่า ศาลสั่งรับอุทธรณ์ นั้น……ก็จะแยกเดินออกไปตามทาง ในสายที่ 2

หมายเหตุ : บทที่ได้บัญญัติว่า ให้เป็นที่สุด มีดังนี้ ม.156วรรค 3….ม.230….ม.260….ม.267….ม.288….ม.290…..ม.291….ม.293….ม.306….ม.309ทวิ….ม.310….ม.320 ท่านว่าคำสั่งใด ที่ได้ออกตามบทบัญญัติดังกล่าว ล้วนแล้วแต่ต้องห้ามอุทธรณ์ ตาม ม.223 ทั้งสิ้น

ส่วนคำสั่งใดที่ออก ตาม ม. 236….ม.285….ม286….ม.307 ท่านว่าล้วนแล้วแต่ต้องห้ามมิให้ฎีกา ทั้งสิ้น ……247 ประกอบ ม.223
ข้อ 6 - ข้อ 7 ป.วิ.แพ่ง ภาค 4 ภาคบังคับคดี แยกพิจารณาออกได้ ดังนี้

ข้อ 6 จะเป็นเรื่องวิธีการคุ้มครองชั่วคราว ซึ่งสามารถแยกออกเป็นชุดย่อยๆ ได้ 4 ชุด ดังนี้

ชุดที่ 1 ชุดคุ้มครอง จำเลย มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.253 เป็นการขอคุ้มครองในชั้นต้น กับ ม.253ทวิ เป็นการขอคุ้มครองในชั้นอุทธรณ์

ชุดที่ 2 ชุดคุ้มครองโจทก์ ม.ที่เกี่ยวข้อง คือ ม.254 เป็นหลัก + ม.255 + ม.257 + ม.258 + ม.260 ดู ม.256 , ม.259, ม.261

ชุดที่ 3 ชุดคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความ ม.ที่เกี่ยวข้อง ก็คือ ม.264

ชุดที่ 4 ชุดขอฉุกเฉิน ม.ที่เกี่ยวข้อง คือ ม.266 + ม.267 + ม.268 + ม.269

ข้อที่ 7 เป็นเรื่องการบังคับคดีตามคำพิพากษา แบ่งออกเป็นชุดย่อยๆ ได้ ดังนี้

ชุดที่ 1 ชุดหลักทั่วไป มีมาตรา ที่เกี่ยวข้อง คือ ม.271 + ม.275 + ม.276 + ม.278 + ม.282 + ม.283 + ม.284 + ม.288

ชุดที่ 2 ชุดข้อยกเว้นที่ไม่อยู่ในการบังคับคดี มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.285 + ม.286

ชุดที่ 3 ชุดที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ม.ที่เกี่ยวข้อง คือ ม.287 ขอกันส่วน...... ม.288 ขอขัดทรัพย์...... ม.290 ขอเฉลี่ยทรัพย์...........ให้ดู ม.289 กับ ม.291ประกอบด้วยจะดีมาก

ชุดที่ 4 ชุดงดการบังคับคดี มีมาตราที่เกี่ยวข้องคือ ม.292 + ม.293 + ม.294

ชุดที่ 5 ชุดถอนการบังคับคดี มีมาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.295 + ม.29ทวิ + ม.295 ตรี

ชุดที่ 6 ชุดขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งบังคับคดี คือ ม.296

ชุดที่ 7 ชุดถูกคำพิพากษาให้ขับไล่ออกจากอสังหาฯ มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.296ทวิ + ม.296ตรี + ม.296จัตวา

ชุดที่ 8 ชุดถูกคำพิพากษาให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.296 เบญจ
หมายเหตุ ชุดที่ 7และ ชุดที่ 8 มีมาตราที่ต้องดูประกอบ ก็คือ ม.296 ฉ

ชุดที่ 9 ชุดจับกุม และกักขัง มาตราที่เกี่ยวข้อง ก็คือ ม.297 + ม.298 + ม.299 +
ม.300

ชุดที่ 10 วิธียึด อายัดทรัพย์ ตั้งแต่ ม.303 – ม.323


ข้อที่ 8 เป็นเรื่องของวิชาล้มละลาย เราสามารถแยกพิจารณาออกได้ ดังนี้

ชุดที่ 1 ชุดคำนิยาม ให้ดูที่ ม.5 เจ้าหนี้มีประกัน……มติพิเศษ….พิทักษ์ทรัพย์

ชุดที่ 2 การขอให้ล้มละลาย มีมาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.7 + ม.8 + ม.9……และ ม.10

ชุดที่ 3 ชุดการสั่งพิทักษ์ทรัพย์ มีมาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.17 และ ม.14

ชุดที่ 4 ชุดผลที่เกี่ยวเนื่องจากการที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ มีมาตราที่เกี่ยวข้อง คือ
ในส่วนของลูกหนี้ มีมาตราสำคัญ คือ ม.24 ให้ดู ม. 23 ประกอบ

ในส่วนของเจ้าหนี้ มีมาตราสำคัญ คือ ม.15……ม.26……ม.27 ให้ ดู ม.29 ประกอบด้วย ก็จะดีมิใช่น้อย

ในส่วนของ จพท. มีมาตราสำคัญ คือ ม.19……ม.22……ม.25……ม.28

ชุดที่ 5 ชุดการประชุมเจ้าหนี้ มาตราที่สำคัญ ก็คือ ม.31

หมายเหตุ : ม.31 สามารถโยงไปหา ม.61 ได้ ……….การประชุมจะเป็นอย่างไร เราก็ดูให้พอเข้าใจหลักการ ก็พอแล้ว

ชุดที่ 6 ชุดการประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย มีมาตราทีสำคัญๆ ที่ควรทำความเข้าใจ ก็คือ ม.46 + ม.49 + ม.51 + ม.52 + ม.53 + ม.56 +ม.60

ชุดที่ 7 ชุดการพิพากษาให้ล้มละลาย มาตราที่สำคัญ คือ ม.61 และ ม.62

ชุดที่ 8 ชุด การประนอมหนี้หลังล้มละลาย มี ม.63

ชุดที่ 9 ชุดการปลดจากล้มละลาย มี ม.67/1……ม.70……ม.71…..ม.77

ชุดที่ 10 ชุดการขอรับชำระหนี้ สามารถแยกพิจารณาได้ดังนี้

10.1 เจ้าหนี้ ไม่มีประกัน ม.ที่เกี่ยวข้อง คือ ม.94 + ม.91

10.2 เจ้าหนี้มีประกัน มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.95 + ม.96

10.3 เจ้าหนี้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของ จพท. มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.92 + ม.91 + ม.109(3) + ม.115 + ม.122

10.4 เจ้าหนี้ในคดีที่ จพท. แพ้คดี มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.93 + ม.91

10.5 ลูกหนี้ร่วมอาจขอรับชำระหนี้ได้ ม.ที่เกี่ยวข้อง คือ ม.101

10.6 การพิจารณาให้รับชำระหนี้ มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.104 + ม.105 + ม.106 + ม.107 + ม.108

10.7 การหักกลบลบหนี้ของเจ้าหนี้ มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.102

ชุดที่ 11 ผลของการล้มละลายที่เกี่ยวกับการกระทำที่ได้ทำไปแล้ว มาตราที่สำคัญๆ ก็คือ ม.110….ม.111….ม.113 + ม.114….ม.115 + ม.116
ชุดที่ 12 ชุดการรวบรวมและการจำหน่ายทรัพย์สิน มาตราที่เกี่ยวข้อง ก็คือ ม.122…..ม.123

หมายเหตุ : ถ้า จพท. ยึด หรืออายัดทรัพย์สิน มา แล้วต้องการจำหน่าย จพท.จะต้องปฏิบัติ ตาม ม. 19……….แต่ถ้า จพท. รวบรวมทรัพย์สินมา แล้วต้องการจำหน่าย จพท.จะต้องปฏิบัติตาม ม.123

ชุดที่ 13 ชุดการแบ่งทรัพย์สิน มาตราที่เกี่ยวข้อง ก็คือ ม.124….ม.129….ม.132

ชุดที่ 14 ชุดการยกเลิกการล้มละลาย มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.135……ม.136

ชุดที่ 15 ชุดข้อจำกัดอำนาจของ จพท. มีมาตราที่เกี่ยวข้อง คือ

15.1 ม. 19 เป็นบทจำกัดอำนาจในการจำหน่ายทรัพย์สินที่ยึด หรือ อายัดมา

15.2 ม. 123 เป็นบทจำกัดอำนาจในการจำหน่ายทรัพย์สินที่ได้รวบรวมมา

15.3 ม.145 เป็นบทจำกัดอำนาจของ จพท. ในการที่จะถอน โอน สละ ฟ้องคดี หรือประนีประนอมฯ ต่างๆ

ชุดที่ 16 ชุดที่ให้สิทธิบุคคลที่ได้รับความเสียหาย มีมาตราที่เกี่ยวข้อง คือ

16.1 ม.146 เป็นการให้บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทำของ จพท. ยื่นคำขอให้ศาลสั่งแก้ไข คำสั่งของ จพท.

16.2 ม.158 เป็นการให้อำนาจบุคคลผู้มีส่วนได้เสีย ที่จะทำการคัดค้าน เมื่อเห็นว่า จพท.ไม่มีสิทธิยึดทรัพย์สิน นั้นๆแต่อย่างใด


ข้อที่ 9 เป็นเรื่องของการฟื้นฟูกิจการ มีขอบเขต และเนื้อหา แยกเป็นชุดๆ ดังต่อไปนี้

ชุดที่ 1 ชุดการร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการ มีมาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.90/2 + ม.90/3 + ม.90/4 + ม.90/5……….ม.90/9 + ม.90/10……ม.90/12 + ม.90/13 + ม.90/14

ชุดที่ 2 ชุดตั้งผู้ทำแผน มีมาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.90/17….ม.90/20 + ม.90/21……ม.90/24 + ม.90/25

ชุดที่ 3 ชุดการขอรับชำระหนี้ มีมาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.90/27วรรค1 + ม.90/26วรรค1……ม.90/27วรรค3 ……ม.90/28……ม.90/30 และ ม.90/32

ชุดที่ 4 ชุดการเพิกถอนนิติกรรมที่ได้ทำไปแล้ว มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.90/40….ม.90 41….ม.90/41ทวิ

ชุดที่ 5 ชุดการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนฯ มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.90/42….ม.90/43….ม.90/42ทวิ + ม.90/40ตรี….ม.90/45 + ม.90/46 + ม.90/48 + ม.90/50 - ม.90/52

ชุดที่ 6 ชุดการพิจารณาเห็นชอบแผนฯ มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.90/56 – ม.90/59

ชุดที่ 7 ชุดการดำเนินการภายหลังที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.90/60….ม.90/63….ม.90/67….ม.90/70

ชุดที่ 8 ชุดการสิ้นสุดการฟื้นฟู มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.90/74….ม.90/75….ม.90/76

ชุดที่ 9 ชุดการอุทธรณ์ มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.24และม.26 พรบ.จัดตั้งศาลล้มละลายฯ พ.ศ. 2542

ข้อที่ 10 พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตราที่เกี่ยวข้อง คือ ม.8….ม9….ม.16….ม.17….ม.24….ม.25….ม.26….ม.28….ม.29….ม.30….ม.31….ม.32 – ม.33

หมายเหตุ : ในชุดนี้ ให้ดูระบบศาล เอาไว้ด้วย จะดีมากๆๆ…….ในเรื่องระบบศาลนี้ไม่ได้ออกมานานมากแล้ว

หวังว่าคงจะมีประโยชน์กับพวกคุณๆบ้างนะครับ

ไม่มีความคิดเห็น: